ฉีดฟิลเลอร์อันตรายจริงไหม ควรฉีดฟิลเลอร์ดีไหม? คลายข้อสงสัย กับ SkinX
ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม
ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม ฉีดฟิลเลอร์ดีไหม หลายๆ คนอาจเกิดคำถามนี้ขึ้นเมื่อกำลังจะตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ การฉีดฟิลเลอร์นั้นควรกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีความรู้เฉพาะทางเท่านั้น ไม่ควรฉีดฟิลเลอร์กับผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ หรือหมอกระเป๋าเพราะอาจเกิดผลอันตรายตามมาได้
ในบทความฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม SkinX จะพามาคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์ว่าอันตรายจริงไหม ควรฉีดฟิลเลอร์ดีไหม ความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการฉีดฟิลเลอร์มีอะไรบ้าง รวมถึงให้ข้อมูลก่อนการตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์
ทำความรู้จักกับ SkinX แอปพลิเคชันพบหมอผิวหนังออนไลน์ ที่ได้รวบรวมเหล่าทีมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำมากมายถึง 210 คน มาให้คำปรึกษาด้านผิวหนังโดยเฉพาะ รวมถึงให้คำปรึกษาด้านหัตถการความงามอย่าง “ฉีดฟิลเลอร์” ด้วย
พิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ปรึกษาแพทย์ครั้งแรก ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
กฎหมายกับการอนุมัติการฉีดฟิลเลอร์ในไทย
กฎหมายกับการฉีดฟิลเลอร์ในไทยพบว่ายังมีช่องว่างทางกฎหมายอยู่ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดชัดเจนในเรื่องการแยกประเภทสถานพยาบาลเพื่อเสริมความงามโดยเฉพาะ ทำให้อาจเกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคตามมา ได้แก่
- สถานที่ให้บริการ หรือคลินิกฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับหัตถการเสริมความงาม เช่น ฉีดฟิลเลอร์ หรือคลินิกไม่ใส่ใจในเรื่องการทำความสะอาดอุปกรณ์ หรือการแยกขยะติดเชื้อ
- คลินิกบางแห่งอาจให้ผู้ช่วยแพทย์ หรือลูกจ้างเป็นคนลงมือฉีดฟิลเลอร์
- แพทย์ที่ทำการฉีดฟิลเลอร์อาจไม่ใช่แพทย์ที่จบเฉพาะทางในด้านผิวหนังและความงาม
ในปัจจุบันการฉีดฟิลเลอร์ในประเทศไทยเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ฟิลเลอร์หลายยี่ห้อได้รับการผ่านจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แต่กลับยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดแยกประเภทสถานพยาบาลเพื่อการศัลยกรรมความงามโดยเฉพาะ
ทำให้สถานที่ประกอบกิจการศัลยกรรมความงามต้องไปใช้มาตรการ ลักษณะการบริการเครื่องมือตามที่กำหนดไว้สำหรับสถานพยาบาลประเภทเพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งไม่เพียงพอต่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับการทำศัลยกรรมความงาม อย่างเช่น การฉีดฟิลเลอร์ (Filler) หรือฉีดโบท็อกซ์ (Botox)
เนื่องจากการประกอบกิจการศัลยกรรมความงามนั้นต้องมีเครื่องมือที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง หรือยาควบคุมพิเศษ เช่น ฟิลเลอร์ หรือโบท็อกซ์ ตลอดจนการควบคุมดูแลการติดเชื้อและความสะอาด
นอกจากนี้ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่คอยดูแลคลินิกเสริมความงามอย่างชัดเจน ส่งผลให้คลินิกหลากหลายแห่งให้ผู้ช่วยแพทย์ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพที่ถูกต้อง เป็นคนรักษาคนไข้ หรือฉีดฟิลเลอร์ให้กับผู้ใช้บริการโดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการทำศัลยกรรมความงามของแพทย์ ทำให้แพทย์ทั่วไปก็สามารถทำศัลยกรรมความงามได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านศัลยกรรม
อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายออกมาอย่างชัดเจนเรื่องการกำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับการเข้ารับหัตถการเสริมความงามอย่างเช่น ฉีดฟิลเลอร์ ทำให้หลายๆ คนเกิดความสงสัยว่าอายุเท่าไรถึงฉีดฟิลเลอร์ได้
สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับการฉีดฟิลเลอร์ แต่ทั้งนี้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หากจะเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน และต้องได้รับการยินยอมแล้วเท่านั้น
“อย.ประเทศอเมริกา (FDA) กำหนดไว้ว่าผู้ฉีดฟิลเลอร์ต้องมีอายุ 22 ปี หรือมากกว่า ถึงจะทำการฉีดฟิลเลอร์ได้”
ถึงแม้ว่ากฎหมายเกี่ยวกับสถานพยาบาลเพื่อการศัลยกรรมความงามโดยเฉพาะยังไม่ออกมาอย่างชัดเจน ผู้ที่ต้องการเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ควรศึกษาคลินิกที่จะเข้ารับบริการอย่างถี่ถ้วนเพื่อป้องกันการเกิดเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟิลเลอร์ที่ผ่านอย.ไทยได้ที่ : ฟิลเลอร์ (Filler) คืออะไร? เห็นผลจริงไหม ฉีดแล้วช่วยอะไร ยี่ห้อฟิลเลอร์ที่ผ่านอย.มีอะไรบ้าง?
ความเสี่ยงที่ได้อาจได้รับจากการฉีดฟิลเลอร์
ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม มีความเสี่ยงอะไรบ้าง ฉีดฟิลเลอร์เจ็บไหม หลายๆ คนอาจเกิดคำถามนี้ขึ้นเมื่อกำลังจะเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ ความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการฉีดฟิลเลอร์นั้นสามารถเกิดได้หลากหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเชี่ยวชาญและความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการฉีดฟิลเลอร์ ประเภทฟิลเลอร์ที่ใช้ ฟิลเลอร์แท้/ปลอม ดังนี้
ความเสี่ยงจากความไม่ชำนาญของแพทย์
- อาการปวด บวมแดง นูน เป็นก้อน หากแพทย์ไม่ระมัดระวังในระหว่างการฉีดฟิลเลอร์ อาจเกิดการเจ็บบริเวณจุดที่ฉีดได้
- การติดเชื้อฉับพลัน และการติดเชื้อแบบเรื้อรัง
- เกิดภาวะฟกช้ำเนื่องจากเข็มผ่านเส้นเลือด
- เส้นเลือดอุดตัน อาจทำให้เกิดภาวะเนื้อตาย
- หากฉีดฟิลเลอร์พลาดเข้าสู่เส้นเลือด อาจทำให้ตาบอดได้
- เกิดฟิลเลอร์ไหลย้อยมากองรวมกัน หรือฟิลเลอร์เป็นก้อน เนื่องจากการฉีดด้วยเทคนิคที่ไม่ถูกต้อง
ความเสี่ยงจากการใช้ฟิลเลอร์ปลอม ไม่ได้มาตรฐาน หรือฟิลเลอร์ถาวร
- หากฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าสู่ผิวหนังอาจเกิดตุ่ม ก้อน ผิวหนังขรุขระ และบวมใต้ผิวหนัง ภายหลังจากการติดเชื้อหรือการแพ้ฟิลเลอร์ปลอม
- มีหนองหรือน้ำเหลืองซึมจากการใช้ฟิลเลอร์ถาวร
- หากฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐาน หรือฟิลเลอร์ปลอม เช่น สารซิลิโคนเหลว อาจทำให้เกิดการอุดตัน หรือเส้นเลือดแตกได้
- อาจเกิดการแพ้สารฟิลเลอร์ปลอม และส่งผลต่อชีวิต
- การแก้ไขหากฉีดฟิลเลอร์ปลอม หรือฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐานต้องขูดออกหรือผ่าตัดออกเท่านั้น
6 ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคหากต้องการฉีดฟิลเลอร์
6 ข้อคำแนะนำสำหรับผู้บริโภคหากต้องการฉีดฟิลเลอร์ดีไหม และเลือกฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี ดังนี้
1.หาสถานที่มีใบประกอบการ
ก่อนเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ควรให้เวลาตัวเองในการเลือกหาคลินิกเวชกรรมเสริมความงามที่ได้มาตรฐาน ดังนี้
- ต้องมีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่อนุญาตจำนวน 11 หลัก ติดไว้ที่หน้าคลินิกอย่างชัดเจน
- แสดงใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล และใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล จากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะให้เห็นอย่างชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ ในปัจจุบันสามารถสแกน QR Code เพื่อตรวจสอบคลินิกผ่านทางออนไลน์ได้
- เลือกคลินิกที่มีแพทย์ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมประจำคลินิก
- คลินิกต้องแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และสามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้
- คลินิกต้องมีการแสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปีของปีปัจจุบัน
นอกจากดูเรื่องใบอนุญาตแล้ว ควรเลือกดูคลินิกที่สะอาด ปลอดภัย ภายในคลินิกมีการกำจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกต้อง ใช้ฟิลเลอร์แท้ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ไม่เสื่อมสภาพ และมีอุปกรณ์ฉุกเฉินในกรณีที่เกิดปัญหา เช่น เกิดการแพ้ยา หรือแพ้ฟิลเลอร์ เป็นต้น
2.แพทย์ต้องเชี่ยวชาญและตรวจสอบได้
แพทย์ที่ทำการฉีดฟิลเลอร์หรือทำหัตถการต่างๆ เกี่ยวกับใบหน้าต้องสามารถตรวจสอบรายชื่อได้จากฐานข้อมูลแพทยสภา มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ อีกทั้งแพทย์ที่รักษาควรจบเฉพาะทางด้านความงามหรือผิวหนังเท่านั้น เพราะต้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องกายวิภาคศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง มีการใช้เทคนิคการฉีดที่ถูกต้อง เพื่อฉีดแก้ปัญหาบริเวณใบหน้าได้อย่างตรงจุด และลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เช่น เนื้อตาย ฉีดฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด หรืออาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ
นอกจากนี้แพทย์ควรเชี่ยวชาญในด้านการปรับรูปหน้า และการชะลอวัย เพื่อสามารถประเมินรูปหน้าของคนไข้ได้อย่างเหมาะสมว่า บริเวณไหนควรปรับแก้ หรือบริเวณไหนควรใช้ฟิลเลอร์รุ่นไหน ยี่ห้อไหน และต้องใช้ฟิลเลอร์กี่ CC เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นธรรมชาติ ไม่เป็นก้อน
3.ตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ก่อนการฉีด
ก่อนการเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ทุกครั้งควรตรวจสอบฟิลเลอร์ให้แน่ใจก่อนว่าเป็นฟิลเลอร์แท้ และเป็นฟิลเลอร์ยี่ห้อที่ผ่านการรับรองจากอย.ไทยเท่านั้น โดยตัวอย่างวิธีการสังเกตฟิลเลอร์แท้เบื้องต้นมีดังนี้
- ต้องมีเลขทะเบียนอย. และมีเอกสารกำกับภาษาไทยอยู่ภายในกล่อง
- เลข Lot ที่กล่อง เลข Lot ที่หลอด เลข Lot ที่สติกเกอร์ ต้องตรงกัน
- บอกวันหมดอายุอย่างชัดเจน
- ฟิลเลอร์บางยี่ห้อสามารถสแกน QR Code ด้วยแอปพลิเคชันเพื่อตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ได้ เช่น ฟิลเลอร์ Restylane สามารถตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ได้ด้วยแอปพลิเคชัน Eztraker
- สามารถโทรสอบถามเลข Lot ได้ที่บริษัทนำเข้าของแต่ละยี่ห้อฟิลเลอร์ เช่น ฟิลเลอร์ Juvederm สามารถติดต่อสอบถามได้ที่บริษัทแอลเลอร์แกน (ประเทศไทย) ฟิลเลอร์ Restylane สามารถสอบถามได้ที่บริษัทกัลเดอร์มา (ประเทศไทย) เป็นต้น
4.ห้ามซื้อฟิลเลอร์มาฉีดด้วยตัวเอง
ฉีดฟิลเลอร์เองอันตรายไหม การซื้อฟิลเลอร์มาฉีดด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจขาดความเชี่ยวชาญ ความรู้ และเทคนิคในการฉีดฟิลเลอร์ ส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ นอกจากนี้หากไปหาซื้อฟิลเลอร์มาจากแหล่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่บริษัทตัวแทนจัดจำหน่ายที่นำเข้าฟิลเลอร์อย่างถูกต้อง ฟิลเลอร์ที่ได้อาจมีคุณภาพไม่เทียบเท่ากับการนำเข้าจากบริษัทตัวแทน เพราะฟิลเลอร์ที่แอบนำเข้าเหล่านี้ไม่มีกระบวนการนำเข้าอย่างถูกวิธี รวมถึงอาจเจอฟิลเลอร์ปลอมได้
5.ดูรีวิวประกอบการตัดสินใจ
ก่อนการเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ที่คลินิกแต่ละแห่งควรดูรีวิวที่น่าเชื่อ ไม่ควรเลือกฉีดฟิลเลอร์ที่ราคาถูกมากจนเกินไป ไม่โฆษณาเกินจริง เนื่องจากบางคลินิกอาจใช้ภาพรีวิวที่ผ่านการรีทัชรูปมาแล้ว (Photo Retouch) และควรเลือกคลินิกที่ไม่ขายคอร์สมากจนเกินไป หรือควรเลือกคลินิกที่มีหมอเป็นผู้ประเมินอย่างตรงไปตรงมา แจ้งคนไข้ตามจริงว่าควรทำหรือไม่ควรทำ รวมถึงควรหารีวิวจากในแหล่งที่เป็นกลางควบคู่กันไปด้วย ไม่ควรดูแต่รีวิวที่ทางคลินิกเป็นผู้โพสต์แต่เพียงผู้เดียว
6.มีการนัดติดตามผลหลังฉีดฟิลเลอร์
ผู้ที่จะฉีดฟิลเลอร์ควรเลือกคลินิกที่มีการนัดติดตามผล และให้คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนฉีดฟิลเลอร์ และหลังฉีดฟิลเลอร์อย่างใกล้ชิด มีช่องทางติดต่อที่คนไข้สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลกับแพทย์ที่เป็นผู้รับผิดชอบเคสตนเองได้โดยตรง เพื่อให้ผลการฉีดฟิลเลอร์ออกมาดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด
ฉีดฟิลเลอร์หลายครั้ง อันตรายไหม
ฉีดฟิลเลอร์หลายครั้งไม่อันตราย หากฉีดฟิลเลอร์ด้วยสารที่สามารถย่อยสลายเองได้ อย่างสารเติมเต็มไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid : HA) ก็ปลอดภัย สามารถเติมใหม่ได้เรื่อยๆ เพราะฟิลเลอร์สามารถอยู่ได้นานสูงสุดประมาณ 18-24 เดือน ไม่สามารถอยู่ได้ตลอด หากฟิลเลอร์สลายออกไปหมด โครงสร้างใบหน้าก็จะกลับมาคล้ายแบบเดิม ก็สามารถมาเติมใหม่ได้เรื่อยๆ ไม่เป็นอันตราย
ฉีดฟิลเลอร์อันตรายเสี่ยงตาบอดจริงไหม
อันตรายจากการฉีดฟิลเลอร์ตาบอดโดยส่วนมากมักมาจากการฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ ไม่มีประสบการณ์ หรือหมอกระเป๋า หากฉีดฟิลเลอร์ด้วยเทคนิคที่ไม่ถูกต้องอาจฉีดพลาดเข้าสู่เส้นเลือด เกิดการอุดตันเส้นเลือดในตา ส่งผลให้จอประสาทตาตาย ตาพร่ามัวและเสี่ยงตาบอดได้ บริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เสี่ยงตาบอด และอันตรายมากที่สุด คือการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์จมูก (ยังไม่ผ่านอย.ไทย) และฉีดฟิลเลอร์หน้าผาก
เนื่องจากบริเวณเหล่านี้มีเส้นเลือดที่สำคัญเชื่อมโยงไปยังลูกตานอกจากนี้การฉีดฟิลเลอร์จมูก ก็เสี่ยงตาบอดมากด้วยเช่นกัน เนื่องจากบริเวณผิวหนังของจมูกมีแขนงของเส้นเลือดแดง (Facial artery) อยู่ในชั้นไขมัน หากฉีดเข้าเส้นเลือดแดงนี้โดยตรงจะทำให้เกิดการอุดตันในบริเวณแขนงเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงดวงตา
ดังนั้นการฉีดฟิลเลอร์ควรเข้ารับการฉีดกับแพทย์ที่มีความรู้ในด้านโครงสร้างของใบหน้า และมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญในการฉีดฟิลเลอร์
ฉีดสลายฟิลเลอร์อันตรายไหม
ฉีดสลายฟิลเลอร์เป็นวิธีที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากการฉีดสลายฟิลเลอร์เป็นการฉีดเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase : HYAL) เข้าไปใต้ชั้นผิวหนังเพื่อสลายฟิลเลอร์ในกลุ่มไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) เมื่อฉีดเข้าไปแล้วเอนไซม์จะลดการกักเก็บน้ำ ทำลายการยึกเกาะของฟิลเลอร์ และช่วยปรับสมดุลให้ผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์กลับมาใกล้เคียงกับผิวเดิมมากที่สุด
การฉีดสลายฟิลเลอร์เป็นการแก้ไขปัญหาการฉีดฟิลเลอร์ผิดพลาด หรือฟิลเลอร์บวมเป็นก้อน ทั้งนี้ควรใช้ปริมาณอย่างเหมาะสม หากฉีดสลายฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากไปอาจทำอันตรายต่อชั้นผิวและคอลลาเจนที่มีอยู่ในผิวได้
สรุปฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม
ฉีดฟิลเลอร์อันตรายจริงไหม การฉีดฟิลเลอร์หากเลือกฉีดกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ มีเทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ที่ถูกต้อง มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และใช้ฟิลเลอร์แท้ที่เป็นสารเติมเต็มไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid : HA) ก็มีความปลอดภัยสูงมาก ลดความเสี่ยงฉีดฟิลเลอร์ตาบอดหรือผลข้างเคียงอื่นๆ
สำหรับผู้ที่ไม่มั่นใจว่าตนเองควรฉีดฟิลเลอร์ดีไหม หรืออยู่ในช่วงกำลังตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ สามารถโหลดแอปพลิเคชัน SkinX เพื่อปรึกษากับแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง มีการรับรองด้านผิวหนังจากแพทยสภาได้โดยตรง และสามารถเลือกแพทย์เพื่อให้คำปรึกษาได้ตามต้องการ
พิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ที่พึ่งโหลดแอปฯ หรือยังไม่เคยใช้บริการ สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ครั้งแรก ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX ติดโทรศัพท์ไว้ได้เลย เพื่อปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ และพบกับดีลความงามจากคลินิกดังมากมาย เพราะผิวดีไม่ต้องรอ!
เอกสารอ้างอิง
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). คู่มือสำหรับประชาชนการเลือกคลินิกที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข. สำนักพิมพ์ศูนย์บริการธุรกิจสุขภาพ กลุ่มคลินิก สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
ธนโชติ แสนคำ. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมมความงาม. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(2), 171-198.
ปริดา ธูปแก้ว. (2563). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสถานพยาบาลในการทำศัลยกรรมความงาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(1), 26-40.
Dermal Filler Do’s and Don’ts for Wrinkles, Lips and More. (2022, February 04). FDA. https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/dermal-filler-dos-and-donts-wrinkles-lips-and-more