SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

17 สิงหาคม 2565

สิวไม่มีหัว ปัญหาสิวสุดวุ่นวาย บีบก็ไม่ได้ ปล่อยทิ้งไว้ก็ไม่มั่นใจ ทำไงดี?

“สิวไม่มีหัว (Blind Pimples หรือ Cystic Acne)” มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สิวตุ่มนูนแดง (Papules)” เป็นสิวที่หลายๆคนรู้จักกันเป็นอย่างดี และส่วนใหญ่มักเคยประสบปัญหาสิวอักเสบไม่มีหัวสักครั้งหนึ่งในชีวิต

 

ปัญหาสิวประเภทนี้ มีลักษณะเป็นสิวไม่มีหัว นูนๆ ตุ่มสีแดง มักพบเป็นสิวขนาดเล็กไปจนถึงขนาดปานกลาง บางรายอาจมองเห็น สิวอุดตัน ไม่มีหัวได้ไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากอักเสบระดับน้อย จึงเห็นเป็นตุ่มสีแดงจางๆ อย่างไรก็ตาม สิวประเภทนี้ ไม่ควรบีบหรือกดสิวออกมา เพราะอาการอักเสบจะมากยิ่งขึ้น จนทำให้รู้สึกเจ็บปวดในยามสัมผัส

 

ฉะนั้น บทความนี้จะทำให้คุณได้รู้จักกับปัญหา สิว มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิวไม่มีหัว นูนๆ เกิดจากอะไร รักษายังไง บริเวณที่มักเกิดสิวไม่มีหัวบ่อยๆคือตรงไหน? รวมไปจนถึงคำถามที่ทุกคนสงสัยบ่อยๆ ไปเรียนรู้พร้อมๆกันได้ที่บทความนี้

สิวไม่มีหัว นูนๆ เกิดจากอะไร

 

สิวอักเสบไม่มีหัวเกิดจากความผิดปกติใน pilosebaceous unit เช่นเดียวกับ สิวอักเสบ ที่มีการรวมตัวกันของ เคราติน (Keratin) ไขมันจากต่อมไขมัน และแบคทีเรีย จนทำให้เกิดการอุดตันที่ท่อรูขุมขน (Follicular Plug) และ เชื้อแบคทีเรีย Proprionibacterium acnes (P.acnes) ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดสิวนี้เช่นเดียวกัน

แต่สิวไม่มีหัวนี้ เกิดจากการที่ การอุดตันมีการรั่วไหลเข้าสู่ชั้นลึกของผิวหนัง แทนที่จะออกมาด้านบน บางครั้งมีการสร้างเป็นถุงซีสอยู่ใต้ผิวหนัง จนกลายมาเป็นสิวแดงๆไม่มีหัว แบบที่หลายๆคนเคยเห็นกันนั่นเอง

“ Pilosebaceous unit คือ ชื่อที่เรียกรวมระหว่างรูขุมขน(Follicle) และต่อมไขมัน(Sebaceous gland) ”

นอกจากสาเหตุที่กล่าวไว้ในข้างต้นนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถทำให้เกิดสิวไม่มีหัวได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม เมื่อพบว่า มีประวัติของสมาชิกภายในครอบครัวเคยเป็นสิว ก็มีโอกาสที่บุคคลนั้นจะเป็นสิวด้วยเช่นกัน จากการศึกษา มีประมาณ 62.9% – 78% ที่มีสิวเกิดขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มักเกิดสิวบริเวณคอ และมีโอกาสที่จะเป็นแผลเป็นด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ยกตัวอย่างเช่น การเกิดสิวลุกลามขึ้นในช่วงรอบประจำเดือน ซึ่งจากการศึกษา มักพบในเพศหญิง วัยผู้ใหญ่ ประมาณ 56% ที่มีอาการสิวลุกลามในช่วงก่อนมีประจำเดือน
  • ประวัติการใช้ยา ยาบางชนิด สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวที่ลุกลามขึ้นแบบ Monomorphous ได้ และบางกรณี มีสาเหตุมาจาก anabolic steroids, corticosteroids, corticotropin, phenytoin, lithium, isoniazid, vitamin B complexes, สารประกอบ halogenated และ ยาเคมีบำบัดบางชนิด
  • การใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ ความเครียดสะสม มลพิษทางอากาศ การสูบบุหรี่ หรือ การใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆที่อุดตันผิว เป็นต้น

สิวไม่มีหัวแตกต่างจากสิวอื่นๆอย่างไร

สิวนูน ไม่มีหัว เป็นสิวที่อยู่ในกลุ่มสิวอักเสบ(inflammatory acne) ซึ่งมีลักษณะเป็นสิวตุ่ม นูนแดง (papule) โดยภายในกลุ่มสิวอักเสบ ยังมีสิวรูปแบบอื่นๆ ที่มีความแตกต่างจากสิวอักเสบไม่มีหัว ดังนี้

  • สิวหัวหนอง (Pustules) : เป็นเม็ดสิวที่มีความอ่อนนุ่มในระดับหนึ่ง มีของเหลวขังอยู่ภายในสิว และสามารถมองเห็นหนองสีขาวอยู่ภายในสิวได้อย่างชัดเจน ขนาดเม็ดสิวอยู่ในระดับเล็กไปจนถึงปานกลาง
  • สิวหัวช้าง (Nodule) : สิวเม็ดใหญ่ไม่มีหัว มีความแข็งเหมือน สิวเป็นไต นูนเต่ง เมื่อสัมผัสโดนสิว จะให้ความรู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก บางกรณีอาจพบว่าสิวมีการรวมตัวอยู่ใกล้ๆกันเป็นแพ ทำให้แผลหายช้า และมีโอกาสที่จะเกิดแผลเป็นได้สูงมากอีกด้วย
  • สิวซีสต์ (Cyst) : มักเป็นสิวที่มีขนาดใหญ่ มีหนองและเลือดปะปนอยู่ภายใน มีความอ่อนนุ่ม และมีอาการเจ็บปวดด้วย โดยสิวชนิดนี้ เป็นสิวที่มีความรุนแรงมากที่สุด และมีโอกาสที่จะเกิดแผลเป็น แผลก้อนนูน หรือหลุมสิว หลังการรักษาได้

ส่วนกลุ่มสิวไม่อักเสบ(non-inflammatory acne) ที่เป็นสิวอุดตันรูขุมขน แต่ไม่มีอาการอักเสบอื่นๆ จะมีความแตกต่างจากสิวไม่มีหัวค่อนข้างมาก ดังนี้

  • สิวหัวดำ (Blackheads) : สิวหัวดำ เป็นสิวหัวเปิดที่มีลักษณะแบนๆเรียบๆ หรือมีสิวโผล่ขึ้นมาบ้างเล็กน้อย ซึ่งจะมีเคราติน(keratin)และลิพิด(lipid) ฝังอยู่ โดยจะมีสีเข้ม เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น(Oxidation) นั่นเอง
  • สิวหัวขาว (Whiteheads) : สิวหัวขาว เป็นสิวหัวปิดที่มีลักษณะเป็นหัวสีขาว นูนขึ้นเล็กน้อย มักมีขนาดเล็ก และไม่มีรูเปิดของสิวที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

บริเวณที่มักเกิดสิวไม่มีหัว

เมื่อรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวแดงๆไม่มีหัวแล้ว ในส่วนต่อไป เราจะมาเรียนรู้กันต่อว่า สิวไม่มีหัว มักเกิดบริเวณไหนบนใบหน้าของเราได้บ้าง? และแต่ละจุดบ่งบอกถึงอะไร? เพื่อนำข้อมูลไปปรับใช้กับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันกัน

สิวไม่มีหัวที่แก้ม

สิวที่แก้ม มักมาจากการที่ใบหน้าบริเวณนั้น สัมผัสกับสิ่งสกปรก เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคที่มากับสิ่งต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ ปลอกหมอนที่ไม่ค่อยได้เปลี่ยน เส้นผม ฟองน้ำแต่งหน้าที่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาด รวมไปจนถึงพฤติกรรมที่เราอาจทำโดยไม่รู้ตัว อย่างการใช้มือแตะใบหน้าบ่อยๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวในบริเวณนี้ได้

วิธีที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่ายๆ อาจจะเป็นการทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ ปลอกหมอน เส้นผม ฟองน้ำแต่งหน้า หรือสิ่งอื่นๆที่จำเป็นต้องมีการสัมผัสบริเวณแก้มบ่อยๆ รวมไปจนถึงการทำความสะอาดผิวหน้าอย่างหมดจด เพื่อลดโอกาสในการเกิดสิวนั่นเอง

 

สิวไม่มีหัวที่คาง

ปัญหาสิวอุดตันที่คางไม่มีหัว สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เพราะสิวที่คาง มีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมน หากฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) กระตุ้นทำให้มีการหลั่งซีบัม(Sebum)ออกมาจากรูขุมขนมากเกินไป ยิ่งมีอัตราการหลั่งมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดสิวระดับรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เพราะในซีบัม(Sebum) มีส่วนประกอบหลักเป็นไตรกลีเซอไรด์ ที่สามารถทำให้การอักเสบมากขึ้นได้

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ยังส่งผลให้เกิดสิวเม็ดเล็กๆไม่มีหัวได้อีก ดังนี้

  • การเกิดภาวะ Hyperandrogenism หรือภาวะที่มีฮอร์โมนแอนโดรเจนสูงเกินไป มักพบได้ในเพศหญิง
  • ระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงรอบประจำเดือน
  • การฉีดยาคุมกำเนิด การใส่อุปกรณ์คุมกำเนิดในมดลูก หรือการใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิด ก็สามารถทำให้เกิดสิวได้
  • การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่มากๆ เป็นต้น

 

สิวไม่มีหัวที่จมูก

กรณีเป็นสิวที่จมูกไม่มีหัว มักมาจากเรื่องของการผลิตน้ำมันของต่อมไขมัน จนเกิดความมันสะสม โดยเฉพาะบริเวณช่วง T-zone ของใบหน้า อีกทั้งบางกรณีอาจมาจากภาวะ Hyperkeratosis คือ มีความผิดปกติในการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ส่งผลให้เกิดการอุดตันท่อต่อมไขมัน

นอกจากสิวไม่มีหัว บริเวณนี้ยังสามารถเกิด สิวที่จมูก (Nose Acne) ได้หลายรูปแบบ ทั้งสิวตุ่มหนอง สิวเสี้ยน สิวหัวดำ สิวอักเสบต่างๆ เป็นต้น

 

สิวไม่มีหัวหน้าผาก

บริเวณสิวที่หน้าผากไม่มีหัว มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความมันส่วนเกินที่สะสมอยู่บริเวณ T-zone ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เหงื่อ สิ่งสกปรก ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่มีความมันมากจนเกินไป การปล่อยผมหน้าม้าไว้ที่หน้าผากตลอดทั้งวัน การใส่หมวก หรือผ้าคาดศีรษะบ่อยๆ ฯลฯ ก็อาจทำให้เกิดสิวที่หน้าผากได้

สิวไม่มีหัว รักษาอย่างไร

หลายคนอาจสงสัยว่า สิวไม่มีหัว นูนๆ รักษายังไงได้บ้าง? ความเป็นจริงแล้ว สิวไม่มีหัว รักษาได้หลากหลายรูปแบบ ดังนี้

สิวไม่มีหัว การใช้ยา

 

การใช้ยา

“การใช้ยารักษาสิวไม่มีหัว” สิวไม่มีหัวเป็นสิวที่ค่อนข้างดื้อต่อยาทา ทุกประเภท การรักษามักต้องใช้ ยาปฎิชีวนะ ชนิดรับประทาน หรือ อาจใช้การฉีดยาในกลุ่ม สเตอรอยด์ เช่น การฉีด Triamcinolone ช่วย

  • ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)

วิธีรักษาสิวอักเสบไม่มีหัวด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ(Antibiotics) จะเป็นการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดรอยแดงจากสิว และลดการอักเสบที่เกิดขึ้น

  • ด็อกซีไซคลีน (Doxycycline)

เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาสิว ในกลุ่ม Tetracycline ยา มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ ครอบคลุมทั้งเชื้อแกรมบวก (gram positive bacteria) และเชื้อแกรมลบ (gram negative bacteria) ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางในการรักษาสิวอักเสบ ช่วยลดความเข้มข้นของกรดไขมันอิสระ ในขณะที่กรดไขมันที่ถูก esterified จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผิวอ่อนนุ่ม เรียบเนียนขึ้น

การที่กรดไขมันอิสระน้อยลงเป็นการลดจำนวน เชื้อ P.acne และอาจจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะเห็นผล Doxycycline ควรใช้อย่างระมัดระวังในคนไข้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับไต เนื่องจากยาอาจไปเพิ่มปริมาณยูรีเมีย (Uremia) ที่อยู่ในเลือด

  • เซฟาเลกซิน (Cephalexin)

ออกฤทธิ์ลดการอักเสบเพราะ Cephalexin เป็น hydrophilic (ละลายในน้ำ) และไม่ใช่ lipophilic (ละลายในไขมัน) มันจึงเข้าไปใน pilosebaceous unit (ชื่อเรียกรวมของขน รูขุมขน และต่อมไขมัน) ได้ไม่ดี

  • การฉีดคอร์ติโซน

การฉีดคอร์ติโซน เป็นการใช้ยาฉีดเข้าไปโดยตรง ซึ่งวิธีรักษาสิวไม่มีหัวแบบนี้ สามารถลดขนาดรอยโรค ลดอาการอักเสบ ปวด บวมแดง ลดโอกาสในการเกิดรอยแผลเป็น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกรีด เพื่อนำของเหลวออกจากสิวอักเสบนั่นเอง โดยปริมาณที่ควรฉีดจะอยู่ที่ 0.05-0.25 mL ต่อ 1 รอยโรค

แต่อย่างไรก็ตาม วิธีรักษาสิวอุดตัน ไม่มีหัวแบบนี้ จะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น และวิธีนี้อาจมีข้อควรระวัง คือ อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสร้างเม็ดสีน้อยกว่าปกติ(Hypopigmentation) ได้

การรักษาสิวไม่มีหัวด้วยแสงเลเซอร์

การ “รักษาสิว” มีหลายวิธีหนึ่งในนั้นด้วยการทำเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสง เป็นวิธีการที่มาใหม่ และยังมีพัฒนาอยู่เรื่อยๆ เช่นการใช้ Pulse dye laser 595nm (vBeam), Copper-Bromide laser 578nm (DualYellow), Diode laser 1450nm, Long-pulse Nd:YAG laser 1064nm, Er:Glass laser 1550nm เป็นต้น

เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยา และให้ผลการรักษาที่ดีมาก สิวยุบเร็ว รอยแดงจางลงเร็ว และ ลดโอกาสการเกิดรอยดำ และแผลเป็นสิว

การใช้เลเซอร์และการบำบัดด้วยแสงในการรักษาสิว จะช่วยฆ่าเชื้อ P.acne ช่วยลดการอักเสบได้ จากการที่แสงมีผลต่อต้าน Cytokine action ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน อีกเลเซอร์ทั้งยังสามารถรักษารอยดำ หลุมสิว และรอยแผลเป็นจากสิวได้ด้วย

สิวไม่มีหัว การรักษา

 

วิธีรักษาสิวอักเสบไม่มีหัวแบบธรรมชาติ

สามารถทำได้ด้วยตนเองแบบง่ายๆ โดยทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ห้ามบีบสิว เนื่องจากสิวไม่มีหัว นูนๆ เป็นสิวที่อยู่ค่อนข้างลึก ทำให้เมื่อพยายามบีบสิว จะเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบ มากกว่าที่สิวจะแตกหรือหลุดออกมา
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Benzoyl Peroxide หรือ Benzac เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ใต้ผิวหนัง
  • ประคบร้อน ในกรณีที่เริ่มมีอาการปวด หรือ สิวบวมไม่มีหัว อีกทั้งในกรณีที่สิวเริ่มเปลี่ยนเป็นหัวสีขาว ให้ใช้วิธีนี้ 10 – 15 นาที จะช่วยให้สิวสามารถปลดปล่อยหนองออกมาได้อย่างง่ายดาย
  • ประคบเย็น เนื่องจากสามารถช่วยลดอาการบวมแดง อักเสบ หรือลดความรู้สึกเจ็บปวด

 

การปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง

อาจเป็นวิธีการรักษาสิวอักเสบไม่มีหัวที่ดีที่สุด โดยเฉพาะ หากคุณรู้สึกว่าวิธีการต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้นยากจนเกินไป มีความวิตกกังวลว่าจะรักษาสิวด้วยตนเองได้ไม่ดีพอ กลัวเรื่องของการดื้อยา หรือสิวเรื้อรัง แนะนำว่า ควรเข้าพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนังโดยตรง เพื่อการรักษาสิวด้วยวิธีที่เหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุด

สำหรับใครที่กำลังมองว่า การเข้าพบแพทย์ผิวหนังเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องเคลียร์เวลาให้ว่าง เพื่อเดินทางไปพบแพทย์ คุณสามารถตัดปัญหาเหล่านี้ทิ้งไปได้เลย เพราะปัจจุบันมีตัวช่วยดีๆ อย่างแอปพลิเคชั่น SkinX ที่รวบรวมแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง จากสถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ ถึง 210 ท่าน มาให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเรื่องสิวที่มากวนใจคุณ ให้คุณรู้สึกสะดวกสบาย อยู่ที่ไหนก็สามารถปรึกษาได้ง่ายๆ เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส

สิวไม่มีหัว ปรึกษาแพทย์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวไม่มีหัว

 

สิวไม่มีหัว กี่วันหาย?

สิวไม่มีหัว หรือ สิวอักเสบไม่มีหัว โดยปกติแล้ว จะมีอาการดีขึ้นจนหายเป็นสิวเหล่านี้ ประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ ทั้งนี้ คุณจะต้องดูแลรักษาสิวอย่างอดทนและถูกวิธี เพื่อทำให้สภาพผิวดีขึ้น ไม่ทิ้งรอยแผลเป็นหลังการอักเสบไว้นั่นเอง

สรุป

สิวไม่มีหัว คือสิวอักเสบชนิดหนึ่งที่เรียกว่าสิวตุ่มนูนแดง (Papules) เมื่อพบว่ากำลังเป็นสิวชนิดนี้ควรรักษาสิวด้วยยา หรือปรึกษากับแพทย์เรื่องการใช้ยา เพื่อป้องกันไม่ให้การอักเสบลุกลาม กลายเป็นสิวอักเสบรุนแรงที่สามารถทิ้งรอยแผลเป็นไว้บนผิวได้หลังการรักษา

 

ต้องการปรึกษาแพทย์ สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX ปรึกษาได้ทุกที่ ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องรอนาน สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android

 

บทความนี้ได้รับการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังแล้ว

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก

Begum, J. (2021, June 23). What to Know About Blind Pimples. WebMD. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/what-to-know-about-blind-pimples

Goh, C., Cheng, C., Agak, G., Zaenglein, A.L., Graber, E.M., Thiboutot, D.M., & Kim, J. (n.d.). Acneiform Disorders. Fitzpatrick’s Dermatology 9 TH Edition (1391-1404). McGraw-Hill Education.

Nichols, H. (2020, January 19). How to get rid of a blind pimple. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/320250#outlook

Rabach, M. (2020, June 22). What That Acne Spot on Your Face Means, According to Science. Healthline. https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/pimple-acne-face-map

Whelan, C. (2022, March 11). How to Get Rid of a Blind Pimple. Healthline. https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/blind-pimple 

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า