SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

25 เมษายน 2567

แก้นอนกรน รักษาด้วยตนเองได้ไหม? มีวิธีอะไรสามารถแก้อาการนอนกรนได้บ้าง?

แก้นอนกรน

อาการนอนกรน เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป และไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากนัก แต่เสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากการกรน อาจสร้างความรำคาญใจให้กับผู้คนรอบข้างได้ แต่หากอาการนอนกรนแย่ลง อาจส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีความอันตรายไม่น้อย ในบทความนี้ SkinX จะพาไปทำความรู้จักกับวิธีแก้อาการนอนกรนต่าง ๆ ตั้งแต่วิธีที่ทำได้ง่าย ๆ ไปจนถึงการรักษากับแพทย์อย่างจริงจังเลยทีเดียว


SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์ ที่ได้รวบรวมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง จากสถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศไว้มากมาย พร้อมให้คำปรึกษาคุณได้ทุกเวลา สามารถพบแพทย์ออนไลน์ได้ง่าย ๆ ไม่ต้องรอคิว ลูกค้ารายใหม่ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX ได้เลยที่ App Store & Google Play

สารบัญบทความ

วิธีแก้อาการนอนกรนมีอะไรบ้าง?

วิธีแก้อาการนอนกรน มีหลากหลายวิธีการ เริ่มได้ตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ไปจนถึงการรักษาด้วยวิธีการทางการแพทย์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีแก้ปัญหาการนอนกรน ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย ตามความรุนแรง และสาเหตุการนอนกรนที่แตกต่างกัน

 

เปลี่ยนท่าการนอน

 

สาเหตุของการนอนกรนอย่างหนึ่ง คือการที่มีพฤติกรรมการนอนอย่างเช่นการนอนหงาย หรือนอนหนุนหมอนในความสูงที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ จึงสามารถแก้อาการนอนกรนด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วยการเปลี่ยนท่านอน จากการนอนหงาย มาเป็นท่านอนตะแคง เลือกให้หมอนที่มีความสูงที่้เหมาะสมสำหรับรองรับต้นคอ เพื่อลดอาการนอนกรนให้น้อยลง

 

ใช้เลเซอร์รักษา

 

เป็นวิธีแก้การนอนกรนด้วยการใช้เลเซอร์ผ่าตัดตกแต่งบริเวณลิ้นไก่และเพดานอ่อน ที่มีความหย่อนคล้อยจนทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ซึ่งการรักษาอาการกรนด้วยวิธีนี้จะทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น คนไข้สามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น ช่วยลดอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับให้น้อยลง 

 

ใช้เครื่องมือในช่องปาก

 

เป็นการใช้อุปกรณ์ทันตกรรมอย่างเครื่องครอบฟัน ให้คนไข้สวมใส่ในช่องปากขณะหลับ เพื่อจัดตำแหน่งลิ้น และขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ป้องกันไม่ให้อวัยวะภายในช่องปากไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น สามารถหายใจได้สะดวกขึ้น และช่วยลดอาการนอนกรนได้เป็นอย่างดี เหมาะกับผู้ที่มีอาการกรนไม่รุนแรง   

 

ทำการบำบัดกล้ามเนื้อ

 

การบำบัดกล้ามเนื้อ เหมาะกับผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจอ่อนแรง อันเป็นสาเหตุให้เกิดการปิดกั้นของทางเดินหายใจ จนนำไปสู่อาการนอนกรน เป็นหนึ่งในวิธีแก้อาการนอนกรน ที่ทำให้กล้ามเนื้อเกี่ยวกับทางเดินหายใจแข็งแรงขึ้น ทางเดินหายใจเปิดกว้างมากขึ้น จนสามารถแก้ปัญหาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ในที่สุด  

 

ผ่าตัดรักษา

 

การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนอนกรน มีหลายบริเวณที่สามารถผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และระดับความรุนแรงของอาการ ตัวอย่างการผ่าตัดแก้นอนกรน เช่น การผ่าตัดบริเวณจมูก, ต่อมทอนซิล, เพดานอ่อน, โคนลิ้น และการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร 

 

การรักษาด้วยเครื่อง CPAP

 

การรักษาด้วยเครื่อง Continuous Positive Airway Pressure หรือ CPAP คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจ ช่วยอัดแรงดันอากาศให้กับคนไข้ขณะหายใจเข้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น และช่วยให้คนไข้สามารถนอนหลับได้ดีขึ้น เครื่องนี้เป็นอุปกรณ์แก้นอนกรน ที่สามารถใช้เพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และรักษาอาการนอนกรนได้เป็นอย่างดี 

“เครื่อง CPAP สามารถช่วยรักษาอาการนอนกรน และภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ได้ในระดับปานกลางถึงรุนแรง นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้อาการนอนกรนที่ได้รับความนิยม และได้ผลดีเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด”

การนอนกรนเกิดจากอะไร?

นอนกรน วิธีแก้

เมื่อมนุษย์นอนหลับ กล้ามเนื้อทางเดินหายใจจะมีความหย่อนตัว ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง จึงเกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อนขณะหายใจ และกลายเป็นเสียงดังขึ้นมา ซึ่งสาเหตุของทางเดินหายใจตีบแคบ ที่เป็นต้นเหตุของอาการนอนกรน มีดังนี้ 

 

  • มีไขมันในช่องคอหนา มีน้ำหนักตัว และดัชนีมวลกายเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 
  • มีสรีระที่ผิดปกติ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด ต่อมทอนซิลโต ลิ้นไก่โตกว่าปกติ เป็นต้น
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อทางเดินหายใจจึงหย่อนยานมากขึ้น
  • มีพฤติกรรมการนอน เช่น นอนหงาย นอนหนุนหมอนที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ
  • มีพฤติกรรมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • มีความเครียด และความเหนื่อยล้าสะสม

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับคืออะไร?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คือ ภาวะที่ช่องทางเดินหายใจถูกปิดกั้นอย่างสมบูรณ์ จนอากาศไม่สามารถเดินทางไหลผ่านได้เลย ภาวะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการนอนกรนเสียงดังมาก, มีอาการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ในขณะหลับ, มีการสะดุ้งตื่นขึ้นมา จากการสำลักหรือหายใจติดขัด หรือมีอาการละเมอต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการหยุดหายใจขณะหลับมีความอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองขาดเลือด จนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเกิดโรคใหลตายขณะหลับ จนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีแก้อาการนอนกรน

ตอบคำถาม และข้อสงสัยที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีแก้อาการนอนกรน

 

แก้อาการนอนกรนด้วยตัวเองได้ไหม?

 

สามารถแก้อาการนอนกรนด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วยการเริ่มปรับพฤติกรรม อย่างเช่นการเปลี่ยนท่านอน, การลดความอ้วน, การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ, งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่ เพียงเท่านี้ก็สามารถลดอาการนอนกรนไปได้ส่วนหนึ่งแล้ว

 

มียาแก้อาการนอนกรนหรือไม่?

 

มียาแก้อาการนอนกรนสำหรับใช้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย โดยใช้ในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถใช้วิธีการรักษาอาการนอนกรนแบบอื่น ๆ ได้  ซึ่งยาที่สามารถใช้รักษาอาการกรนได้แก่ ยารักษาโรคจมูก เนื่องจากผู้ป่วยนอนกรนมักมีอาการคัดจมูก และพบโรคจมูกอักเสบเรื้อรังหรือภูมิแพ้ร่วมด้วย ยากระตุ้นระบบประสาท ยากระตุ้นการหายใจ เป็นต้น 

สรุปเกี่ยวกับวิธีแก้อาการนอนกรน

วิธีแก้อาการนอนกรนมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นวิธีแก้อาการกรนด้วยตนเองง่าย ๆ อย่างเช่นการปรับพฤติกรรม การปรับท่านอน ไปจนถึงการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์อย่าง เช่น การรักษาด้วยการใช้เลเซอร์, การใช้เครื่องครอบฟัน, การทำการบำบัดกล้ามเนื้อ, การผ่าตัด และการใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP ทั้งนี้ หากใช้วิธีการรักษาเหล่านี้ไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาเพื่อรักษาอาการนอนกรนในกลุ่มอื่นเพิ่มเติมได้ 

 

สำหรับใครที่กำลังมีปัญหากวนใจเกี่ยวกับผิว แต่ก็ไม่อยากเสียเวลาไปสถานพยาบาล สามารถมารับคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางออนไลน์ ได้ที่แอปพลิเคชัน SkinX ในทุกเวลาที่คุณสะดวก โหลดเลยวันนี้ พร้อมรับดีลสุดคุ้มมากมาย หาหมอผิวหนังได้ง่าย ๆ ที่แอป SkinX เท่านั้น

Reference

 

Ratini, M. (2021, November 27). Snoring. WebMD. https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/snoring  

 

Stanborough, RJ., (2023, April 4). What’s a CPAP Machine, and How Does It Work?. Healthline. https://www.healthline.com/health/what-is-a-cpap-machine

 

Begum, J. (2023, October 3). Obstructive Sleep Apnea (OSA). WebMD. https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/understanding-obstructive-sleep-apnea-syndrome 

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า