SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

10 กุมภาพันธ์ 2566

PRP ผม คืออะไร ? รักษาอาการผมร่วงผมบางได้จริงหรือ

PRP

การทำ PRP ผมคืออะไร รักษาอาการผมร่วง ผมบางได้จริงหรือ ? เพราะบุคลิกภาพเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งปัญหาผมร่วง ผมบาง และหนังศีรษะล้าน ทำให้หลายคนเสียความมั่นใจ ไม่กล้าเซทผม หรือ ทำผมตามที่ชอบเพราะกลัวคนอื่นจะแอบเห็นหนังศีรษะ และที่สำคัญปัญหาผมร่วงผมบางมักจะเป็นปัญหาที่พบในผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน และศีรษะเถิกทำให้ดูมีอายุมากได้     

 

การทำ PRP ผมเป็นอีกหนึ่งวิธีปลูกผมที่คนนิยม ซึ่งบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่า จริงๆ แล้วการทำ PRP ผมคืออะไร การฉีด PRP ผมสามารถแก้ปัญหาผมร่วงผมบางได้จริงหรือไม่ เหมาะกับใคร ข้อดีและข้อจำกัดของการทำ PRP ผมคืออะไร ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการทำ PRP ผมรวมไว้ในบทความนี้ทั้งหมดแล้ว! 

 

ทำความรู้จักกับ SkinX แอปพลิเคชันสุดไฮเทค ที่จะช่วยให้คุณสามารถปรึกษาปัญหากับแพทย์ผิวหนังออนไลน์ โดยที่รวบรวมเหล่าทีมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำมากมายถึง 210 คน มาให้คำปรึกษาด้านผิวหนังโดยเฉพาะ รวมถึงให้คำปรึกษาด้านเส้นผมและหนังศีรษะอย่าง “การทำ PRP ผม” ผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันในครั้งแรกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สารบัญบทความ

PRP ผม คืออะไร

การทำ PRP ผม หรือ  PRP Hair Therapy คือ การปลูกผมในรูปแบบหนึ่ง โดยแพทย์จะฉีด PRP (Platelet Rich Plasma) ของคนไข้เอง เข้าไปที่หนังศีรษะบริเวณที่พบปัญหาผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้าน เพื่อไปให้สารใน PRP เข้าไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผม ทำให้ผมที่งอกออกมาใหม่ มีขนาดเส้นผมที่หนามากขึ้นและแข็งแรงมากขึ้น 

 

นอกจากนี้การฉีด PRP ผม หรือที่หลายคนเรียกว่า เกล็ดเลือดเข้มข้น ยังสามารถช่วยกระตุ้นให้เซลล์รากผมที่หยุดทำงานไปแล้ว กลับมาทำงานและงอกผมขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง พร้อมทั้งบำรุงเซลล์รากผมให้กลับมาแข็งแรง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาผมร่วงผมบางได้ในระยะยาวทำให้ผมกลับมาดูหนามากขึ้น 

 

การทำ PRP ผมเป็นเทคนิคการปลูกผมที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อรักษาอาการผมร่วงผมบาง โดยไม่ต้องผ่าตัด  ไม่ใช้สารเคมี  ไม่เจ็บตัว และไม่ต้องเสียเวลาพักฟื้น ซึ่งการทำ PRP ผมนับว่าเป็นวิธีรักษาอาการผมร่วงผมบางแบบธรรมชาติและปลอดภัยต่อร่างกาย 

 

PRP (Platelet Rich Plasma) คืออะไร

PRP ผม คืออะไร

แล้วการฉีด PRP ผมที่แพทย์ฉีดเข้าไปในร่างกายคืออะไรกันแน่ ? จริงๆ แล้ว PRP (Platelet Rich Plasma) คือ พลาสม่าที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น ที่ได้จากการปั่นแยกพลาสม่าออกมาจากเลือด โดยใช้เครื่องเหวี่ยงสาร (Centrifuge) ซึ่งเลือดที่นำมาคัดแยกพลาสมาจะเป็นส่วนประกอบของเลือดที่ได้มาจากตัวผู้เข้ารับการรักษาเอง ทำให้การทำ PRP ผมเป็นหนึ่งในวิธีปลูกผมที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการแพ้ต่ำมาก 

 

ทั้งนี้ PRP ผมที่ฉีดเข้าไปจะมีเกล็ดเลือดมากกว่าในกระแสเลือดทั่วไป 3-4 เท่า หรือประมาณ 1,000,000 หน่วยต่อไมโครลิตร และในปัจจุบันมีการนำ PRP ไปใช้ในทางการแพทย์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น ในวิทยาศาสตร์การกีฬา การฉีด PRP สามารถช่วยให้อาการบาดเจ็บของนักกีฬาหายได้เร็วมากขึ้น และสามารถช่วยสมานบาดแผลที่เกิดขึ้นได้  หรือ แพทย์ผิวหนังที่ใช้ PRP เพื่อช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้า ทำให้หน้าเต่งตึงและดูเยาว์วัยมากขึ้น เป็นต้น 

 

ส่วนประกอบใน PRP

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะยังคงสงสัยว่าแล้วส่วนประกอบใน PRP หรือ เกล็ดเลือดเข้มข้น ที่ฉีดเข้าไปในร่างกายมีส่วนประกอบของอะไรบ้าง ? 

 

ส่วนประกอบสำคัญใน PRP ผม คือ เกล็ดเลือดเข้มข้น และสารต่างๆ ที่เรียกว่า Growth Factor ที่ช่วยให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงเซลล์รากผมมากขึ้น ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผมทำให้เซลล์รากผมทำงานได้ดีมากขึ้น เมื่อเซลล์รากผมทำงานได้ดี จึงส่งผลให้เส้นผมที่เกิดใหม่จะแข็งแรงและหลุดร่วงได้ยาก

 

ซึ่งการทำ PRP ผมสามารถช่วยลดปัญหาผมบาง ผมร่วง และศีรษะล้านได้ โดยส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการรักษาด้วยการฉีด PRP ผมมักจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดมากขึ้นภายในระยะเวลา 3-6 เดือนหลังจากเข้ารับการรักษา แต่ระยะเวลาที่เห็นผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนด้วย

การทำ PRP ผม เหมาะกับใครบ้าง

 

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะเถิก และศีรษะล้านด้วยการปลูกผมด้วยเทคนิค FUE และ ปลูกด้วยเทคนิค FUT ได้ การฉีด PRP ผมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยแก้อาการผมร่วงผมบางได้ดี และการฉีด PRP ยังเหมาะกับคนที่กังวลเรื่องการผ่าตัด กลัวเจ็บ ไม่อยากดมยาสลบ หรือ กังวลเรื่องแผลเป็นหลังผ่าตัด รวมไปถึงคนที่ไม่มีเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัด จะค่อนข้างเหมาะกับการทำ PRP ผม มากกว่าการผ่าตัดปลูกผมแบบอื่นๆ 

 

ทั้งนี้การทำ PRP ผม จำเป็นต้องตรวจสภาพเซลล์รากผมและหนังศีรษะก่อน ว่าเซลล์รากผมยังสามารถกลับมาทำงานได้ปกติ เพื่องอกเส้นผมใหม่ได้หรือไม่ หรือ เซลล์รากผมเสื่อมสภาพไปแล้ว 

 

ในกรณีที่เซลล์รากผมยังสามารถงอกเส้นผมใหม่ได้ แพทย์มักจะแนะนำให้ทำ PRP ผมก่อน แต่ถ้าหากเซลล์รากผมเสื่อมสภาพหมดแล้ว ไม่สามารถงอกผมได้ใหม่ แพทย์อาจจะแนะนำการผ่าตัด ปลูกผม FUE หรือ ปลูกผม FUT แทน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจมากกว่า 

 

ทั้งนี้วิธีรักษาอาการผมร่วงผมบางของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและประเมินสภาพเซลล์รากผมและหนังศีรษะก่อนจะดีกว่า

ข้อเด่นของ PRP ผม

ข้อดีของการทำ PRP ผม

การ PRP ผมเป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นเข้าไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผม ซึ่ง PRP เป็นส่วนประกอบของเลือด ของผู้เข้ารับบริการเอง ทำให้วิธีทำ PRP ผม ไม่อันตรายต่อร่างกาย 

 

นอกจากนี้การฉีด PRP ผม ยังมีข้อดีอื่นๆ อีก ได้แก่ 

 

  • การทำ PRP ผม เป็นวิธีรักษาอาการผมร่วง ผมบางที่มีประสิทธิภาพ

  • ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นหลังทำ 

  • ไม่มีรอยแผลเป็นหลังทำ 

  • โอกาสเกิดอาการแทรกซ้อน หรือ แพ้น้อยมาก เพราะเป็นเลือดจากร่างกายของตนเอง 

  • เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการผ่าตัด ใช้เวลารักษาไม่นาน 

  • สามารถทำ PRP ผม ร่วมกับการรักษาอื่นๆ ได้ เช่น การรับประทานยา การใช้ผลิตภัณฑ์ปลูกผม หรือ หมวกเลเซอร์ (LLLT) เป็นต้น

ข้อจำกัดของ PRP ผม

วิธีรักษาอาการผมร่วงผมบางด้วยการทำ PRP ผม ไม่ใช่การปลูกผมถาวร PRP จะใช้ได้กับคนที่ยังมีเซลล์รากผมหลงเหลืออยู่เท่านั้น และการฉีด PRP จะแนะนำให้ฉีด ทุกๆ 1 เดือน ติดต่อกัน 3 ครั้ง หรือ 3 เดือนแรก หลังจากนั้นสามารถฉีดเพื่อบำรุงรักษาต่อทุกๆ 4- 6 เดือน ซึ่งแพทย์จะประเมินเป็นรายๆไป

โรคที่ไม่สามารถทำ PRP

นอกจากนี้บางคนอาจจะไม่สามารถทำ PRP ผมได้ เนื่องจากมีโรคประจำตัว หรือ อยู่ในระหว่างรับประทานยาบางชนิด โดยผู้ที่ไม่สามารถทำ PRP ผมได้ ได้แก่ 

 

  1. ผู้ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร 

  2. ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือ ละลายลิ่มเลือด 

  3. ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง  หรือ ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคเลือด เช่น โรคเกล็ดเลือดต่ำ

  4. ผู้ป่วยกำลังมีภาวะโรคติดเชื้อในกระแสเลือด  

  5. โรคผิวหนังที่มีการอักเสบ หรือติดเชื้อบริเวณ ศีรษะ เช่น เป็นเชื้อรา

  6. ผู้เคยมีประวัติ มีผื่น หรือมีอาการแพ้ หลังฉีด PRP

ผลข้างเคียงของการทำ PRP ผม

การทำ PRP ผมแทบจะไม่มีผลข้างเคียง เนื่องจากเป็นวิธีรักษาธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี โดยเกล็ดเลือดเข้มข้นที่ใช้เป็นเกล็ดเลือดที่สกัดมาจากตัวผู้ใช้บริการเอง ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยมาก แต่การทำ PRP ผม ก็ยังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้ โดยผลเคียงของการทำ PRP ผม มีดังนี้ 

 

  • เจ็บหรือบวมบริเวณที่ฉีด ซึ่งอาการนี้จะค่อยๆดีขึ้น 

  • ติดเชื้อ แม่โอกาสเกิดน้อยมาก แต่ถ้าหลังทำไปบริเวณที่มีฝุ่นเยอะ หรือไปว่ายน้ำที่แหล่งน้ำธรรมชาติ อาจจะมีโอกาสติดเชื้อได้

  • หลอดเลือดและเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ อาจจะมีอาการช้ำ หรือชาระยะสั้นๆ แล้วอาการจะค่อยๆดีขึ้น

  • อาการแพ้ที่เกิดจากการทำ PRP ผม เช่น คัน มีผื่น แม้จะมีโอกาสน้อยมาก หากมีอาการดังกล่าว ให้รีบแจ้งแพทย์ได้ทันที

การเตรียมตัวก่อนทำ PRP ผม

การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนทำ PRP ผม เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ เพราะ PRP ที่ใช้เป็นเลือดที่สกัดมาจากผู้เข้ารับการรักษา หากร่างกายไม่พร้อมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของ PRP ส่งผลให้ทำ PRP ผมเห็นผลลัพธ์ไม่ชัดเจน 

 

สำหรับผู้ที่จะเข้ารับการรักษาอาการผมร่วง ผมบางด้วยวิธี PRP ผมสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

 

  • เลี่ยงหลีกอาหารที่มีไขมันสูง 

  • ก่อนทำ PRP ผม 1 สัปดาห์ ควรงดสูบบุหรี่ และ การดื่มเครื่องที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 

  • 1 วันก่อนทำ PRP ผม ให้นอนพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง 

  • ดื่มน้ำประมาณ 1.5-2 ลิตรต่อวัน 

  • หลีกเลี่ยงการใช้เจลและน้ำแต่งตกเส้นผมก่อนทำ PRP ผม เพราะจะแนะนำให้สระผมได้หลังจากทำ PRPผม  24 ชั่วโมง

  • งดวิตามิน หรือ ยาที่อาจจะมีผลต่อการไหลของเลือด เช่น วิตามินอี น้ำมันตับปลา ใบแปะก๋วย

ขั้นตอนการทำ PRP ผม

การทำ PRP ผม

สำหรับผู้ที่สนใจรักษาผมร่วงผมบางด้วยการทำ PRP ผม มีขั้นตอนการทำ PRP ผม ดังนี้ 

 

  1. ขั้นตอนแรกแพทย์จะเจาะเลือดออกมาประมาณ 10-20 มิลลิลิตร 

  2. แพทย์จะนำเลือดที่จะเจาะไปปั่นแยกในเครื่องเหวี่ยงสาร โดยจะทำการเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดก่อน 

  3. แพทย์ฉีดยาชาบริเวณที่ต้องการปลูกผม PRP 

  4. หลังจากที่ครบเวลาตามกำหนดหรือยาชาออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จะฉีด Derma Pen (Micro System) เพื่อกระตุ้นหนังศีรษะ 

  5. แพทย์ทำการฉีด PRP ผมที่เตรียมไว้เข้าไปในร่างกาย 

ข้อปฏิบัติหลังทำ PRP ผม

แม้ว่าหลังจากการทำ PRP ผม ไม่จำเป็นต้องระวังเท่ากับการปลูกผม แต่หลังทำ PRP หนังศีรษะจะบอบบาง ทำให้ผู้ที่เข้ารับการรักษามีอาการช้ำบริเวณที่ฉีดได้ 

 

ซึ่งผู้เข้ารับการรักษาผมร่วง ผมบาง สามารถดูแลตัวเองหลังจากทำ PRP ผม ได้ดังนี้ 

 

  • 24 ชั่วโมงแรก หลังจากทำ PRP ผม ห้ามสระผม ให้ผมโดนน้ำ และออกกำลังกาย

  • หลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์และเจลจัดแต่งทรงผมหลังจากทำ PRP ประมาณ 24 ชั่วโมงแรก 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ หลังจากทำ PRP ประมาณ 48 ชั่วโมงแรก 

  • 2-3 วัน ห้ามรับประทานยาแอสไพรินและไอบูโพรเฟ่น 

  • หลังจากทำ PRP ผมช่วงแรก แนะนำให้หลีกเลี่ยงการเกาหรือขยี้รุนแรง เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ 

  • ไม่แนะนำให้แชมพูสระผมสูตรทั่ว ควรใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนต่อผิวหนัง
     
  • หลังจากทำ PRP ผมอาจจะเกิดอาการบวมหลังทำ คุณสามารถใช้การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมได้ ซึ่งอาการบวมจะหายภายใน 1-3 วัน และหากเกิดรอยช้ำจะหายภายใน 7 วัน 

ผลลัพธ์ของการทำ PRP ผม

ผู้ที่เข้ารับการรักษาอาการผมร่วง ผมบาง ศีรษะเถิก และศีรษะล้าน ด้วยการทำ PRP ผมมักจะเห็นผลลัพธ์ภายในระยะเวลา 3-6 เดือน โดยผลลัพท์ที่ได้จากการทำ PRP ผม ได้แก่ 

 

  1. การทำ PRP ผม เป็นการแก้ปัญหาของอาการผมร่วงผมบาง ช่วยให้รากผมกลับมาแข็งแรง ช่วยลดอาการขาดหลุดร่วงของเส้นผม 

  2. การฉีด PRP ผม ช่วยให้มีหลอดเลือดฝอยมากขึ้น ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงเซลล์รากผมมากขึ้น ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ช่วยเซลล์รากผมที่เสื่อมสภาพกลับมาทำงานอีกครั้ง 

  3. การทำ PRP นอกจากจะกระตุ้นเซลล์รากผมให้กลับมาทำงานแล้ว ยังทำให้เส้นผมที่งอกขึ้นใหม่แข็งแรงมากขึ้น ผมเส้นหนาขึ้น ช่วยลดปัญหาผมขาดร่วงลง 

 

ทั้งนี้ผลลัพธ์ของการทำ PRP ผมจะขึ้นอยู่กับเฉพาะตัวบุคคล และสภาพหนังศีรษะของผู้เข้ารับการรักษา และการทำ PRP ผม ไม่ใช่การปลูกผมถาวร คุณจำเป็นต้องกลับมาฉีด PRP ผมซ้ำในระยะเวลา 2-3 เดือน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี 

คำถามที่พบบ่อย

ทำ PRP ผม ต้องทำกี่ครั้ง

PRP ผม ต้องทำกี่ครั้ง

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการทำ PRP ผม ไม่ใช่การปลูกผมถาวร ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการรักษาอาการผมร่วง ผมบาง ด้วยการทำ PRP ผม แนะนำให้ทำทุก 1 เดือนติดต่อกันประมาณ 3 ครั้ง และหลังจากนั้น แนะนำมาทำต่อเนื่องเพื่อบำรุงรักษาทุก 4- 6เดือน 

 

PRP ผม ได้ผลเมื่อไหร่

สำหรับผู้ที่รักษาอาการผมร่วง ผมบาง หนังศีรษะล้านด้วยการทำ PRP ผม ส่วนใหญ่มักจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนประมาณเดือนที่ 3-6 โดยจะสังเกตเห็นว่าเส้นผมเส้นใหญ่ขึ้นและอัตราการร่วงของผมลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพหนังศีรษะและการตอบสนองของร่างกายแต่ละด้วย

 

PRP ผม ได้ผมถาวรไหม

การทำ PRP ผมไม่ใช่การปลูกผมถาวร แม้ว่าการทำ PRP เรื่อยๆ จะช่วยให้เห็นผลลัพธ์ในระยะยาว แต่ยังคงมีโอกาสเสื่อมสภาพได้ ดังนั้นแนะนำให้ทำ PRP ผมต่อเนื่อง โดยเว้นระยะเวลา 4-6 เดือน เพื่อคงสภาพความแข็งแรงของเซลล์รากผม ทำให้ผมไม่กลับไปบางอีก 

 

PRP ผม เจ็บไหม

การทำ PRP ผม จะเจ็บน้อย แต่จะมีอาการเจ็บตอนฉีดยาชาเข็มแรกๆ เพราะไม่ใช่การผ่าตัด เป็นเพียงการฉีดเกล็ดเม็ดเลือดบริเวณที่มีอาการผมร่วงผมบางเท่านั้น จึงเหมาะกับผู้ที่กังวลเรื่องการผ่าตัด กลัวเจ็บ อาการแทรกซ้อน เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย และไม่จำเป็นต้องพักฟื้นหลังเข้ารับการรักษา

 

สนใจทำ PRP ผม ปรึกษาหมออย่างไร

สำหรับผู้ที่สนใจอยากลองปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจก่อนทำ PRP ผม สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX เพื่อปรึกษาปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะเถิก และศีรษะล้าน ผ่านทางออนไลน์กับแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ  

 

โดยคุณสามารถปรึกษาปัญหาผมร่วงผมบางได้ไม่ว่าคุณจะอยู่ไหน หรือ เวลาใดก็ตาม ซึ่งแอปฯ SkinX เราได้รวบรวมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางจากโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ กว่า 210 ท่าน มาไว้ที่นี่ที่เดียว!

สรุป

การทำ PRP ผมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะเถิก และศีรษะล้าน เหมาะสำหรับผู้ที่กังวลเรื่องอาการแทรกซ้อน การแพ้หลังผ่าตัด และไม่มีเวลาพักฟื้น เพราะการทำ PRP ผมโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนและแพ้ต่ำมาก เพราะ PRP เป็นเกล็ดเลือดเข้มข้นที่มาจากเลือดของผู้เข้ารับการรักษา 

 

พร้อมทั้งไม่จำเป็นต้องพักฟื้นหลังเข้ารับการรักษา และยังเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง และเห็นผลลัพธ์ระยะเวลาในกรณีที่เข้ารับการรักษาต่อเนื่อง

ข้อมูลอ้างอิง 

Scott, F. (2019, Jan 03). PRP for Hair Loss. Healthline. https://www.healthline.com/health/prp-for-hair-loss

Owen, K. (2019, Sep 10). Can PRP Treat hair loss ?. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/326294

Drtarinee K. (2022, Dec 28) ฉีด PRP ผม ทางออกสำหรับคนผมบาง สร้างเส้นผมที่แข็งแรง. https://drtarinee.com/article/platelet-rich-plasma-hair/

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า