ข้อควรรู้ก่อน “ปลูกผม FUT” แก้ปัญหาผมร่วง ศีรษะล้าน ประสิทธิภาพสูง
ปลูกผม FUT (Follicular Unit Hair Transplant) เป็นวิธีการ ปลูกผม ที่มีมายาวนาน ได้รับการยอมรับ มีการพัฒนาเทคนิคมาอยู่เรื่อย ๆ และยังนิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากการปลูกผม FUT มีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้รักษาอาการผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้านได้ ในบทความนี้ SkinX จะพามาเจาะลึกกับการปลูกผม FUT ว่า คืออะไร มีหลักการและขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลย
ทำความรู้จักการปลูกผมถาวร
การปลูกผมถาวรจะใช้วิธีการย้ายเซลล์รากผมต้นกำเนิดไปยังตำแหน่งใหม่ หรือในบริเวณที่มีปัญหาผมร่วงเยอะมาก ผมบาง เมื่อผมหลุดร่วงไปผมในตำแหน่งใหม่ก็ยังสามารถงอกใหม่ได้เรื่อย ๆ อย่างถาวร เนื่องจากมีเซลล์รากผมอยู่นั่นเอง ในปัจจุบันการปลูกผมถาวรโดยการย้ายเซลล์รากผม มีอยู่ 2 วิธีหลัก ๆ คือการปลูกผม FUT และการปลูกผม FUE
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกผม FUE เพิ่มเติมได้ที่ : ปลูกผม FUE เทคนิคใหม่แก้ปัญหาผมร่วง ไร้รอยแผลเป็น
สาเหตุของผมร่วงเกิดจากอะไร?
ปกติแล้วในแต่ละวันเส้นผมคนเราจะร่วงประมาณ 40-90 เส้น และจะมีเส้นผมขึ้นใหม่มาทดแทน แต่ในบางคนมีอาการผมร่วงเยอะมากจนสังเกตได้ แล้วสาเหตุผมร่วงเกิดจากอะไร? SkinX ได้รวบรวมสาเหตุผมร่วงไว้ ดังนี้
ผมร่วงจากปัจจัยภายใน
- ผมร่วงจากกรรมพันธุ์
สาเหตุผมร่วงจากพันธุกรรม (Androgenetic Alopecia) สามารถพบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่จะพบมากในผู้ชายถึง 80% และพบในผู้หญิง 50% โดยมีสาเหตุมาจากการที่ระดับเอนไซม์ชนิดหนึ่งบริเวณหนังศีรษะเพิ่มขึ้น เอนไซม์ชนิดนี้มีหน้าที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ไปเป็นฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งฮอร์โมน DHT นี้เป็นฮอร์โมนที่ทำให้รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะลดลง เมื่อระดับเอนไซม์เพิ่มมากขึ้น รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะก็จะมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้เส้นผมบางและสั้นลงจึงเกิดอาการผมหลุดร่วงตามมาได้
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
ร่างกายของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการผลิตฮอร์โมนเพศจะลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถส่งผลให้เกิดปัญหาผมร่วง ผมบางได้ ตามปกติแล้วเส้นผมของคนเราจะมีความหนาแน่นและมีเส้นใหญ่ที่สุดถึงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นความหนาแน่นของเส้นผมจะเริ่มลดลง วงจรชีวิตเส้นผมเริ่มสั้นลง ส่งผมให้ผมร่วงบ่อยและผมบางลง จนสามารถเห็นหนังศีรษะล้านได้ชัดเจน
“ระดับฮอร์โมน DHT จะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ แต่จะค่อย ๆ ลดน้อยลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น รวมถึงผมที่งอกขึ้นมาใหม่จะค่อย ๆ บางและอ่อนแอลง ทำให้รากผมเสื่อมลงตามกาลเวลา นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมอายุมากแล้วผมร่วง ผมบาง”
- โรคบางชนิดที่อาจทำให้ผมร่วง
โรคที่เป็นอยู่บางชนิดอาจทำให้เกิดผมร่วงได้ เช่น โรคผิวหนังเดิมของผู้ป่วย โรคต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ที่ทำให้รบกวนการทำงานของเส้นผม รวมถึงการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสของหนังศีรษะ นอกจากนี้ยังมีการเจ็บป่วยทางกายอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้ผมร่วง ผมบางได้ เช่น การติดเชื้อซิฟิลิส เอชไอวี โรคทางภูมิคุ้มกัน SLE โรคทางผิวหนัง
ผมร่วงจากปัจจัยภายนอก
- การรับประทานวิตามินและอาหารเสริมบางชนิด
ยาบางประเภท เช่น ยารักษาสิวที่มีส่วนผสมของวิตามินบางชนิด ยาคุมกำเนิด ยาลดความดัน ยารักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น รวมถึงวิตามินหรืออาหารเสริมบางชนิดที่บริโภคเกินความเป็นจำสามารถทำให้ผมร่วง ผมบางได้ แต่ถ้าหากหยุดยาหรืออาหารเสริมอาการผมร่วงอาจกลับมาเป็นปกติได้
- ขาดแร่ธาตุและสารอาหาร
การขาดสารอาหารหรือแร่ธาตุต่าง ๆ สามารถส่งผลให้เกิดอาการผมร่วงได้ ผู้ที่ผมร่วงจากการขาดสารอาหารควรเสริมอาหารจำพวกแร่ธาตุและวิตามินเอ วิตามินบีเพิ่มเติม เนื่องจากธาตุเหล็กจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม และวิตามินจะช่วยบำรุงหนังศีรษะ เสริมให้เส้นผมแข็งแรง นอกจากนี้ผู้ที่ขาดธาตุเหล็กหรือวิตามินอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เล็บเปราะบาง รู้สึกอ่อนเพลีย เป็นต้น
- ความเครียดที่สะสม
ปัญหาความเครียดสะสมนอกจากจะส่งผลต่อสภาพจิตใจแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพร่างกายอีกด้วย โดยความเครียดที่สะสมนี้สามารถเป็นหนึ่งในพฤติกรรมผมร่วงได้ เพราะเมื่อร่างกายเกิดเครียดจะผลิตฮอร์โมนแห่งความเครียดขึ้น หรือฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ทำให้เส้นผมอ่อนแอลง นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการเครียดสะสมบางรายอาจมีพฤติกรรมทำลายเส้นผมตัวเอง เช่น การดึงผมตัวเองโดยไม่รู้ตัว (Trichotillomania) ซึ่งการกระทำนี้หากทำไปเรื่อย ๆ สามารถทำให้ผมบางลงได้
- การทำคีโมหรือการใช้เคมีบำบัด
เคมีบำบัด หรือการทำคีโมเป็นการใช้ตัวยาเคมีบำบัดเพื่อหยุดการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง โดยตัวยาเคมีจะเข้าถึงเซลล์มะเร็งผ่านทางกระแสเลือด ทำให้เซลล์รากผม รวมทั้งเซลล์ปกติที่มีการเพิ่มจำนวนแบบรวดเร็วได้รับผลกระทบ ส่งผลให้เกิดอาการผมร่วง ผมบางได้
- การใช้สารสังเคราะห์ หรือสารเคมีกับหนังศีรษะและเส้นผม
สารเคมีและสารสังเคราะห์ต่าง ๆ จากผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมอย่างเช่น แชมพูสระผม ครีมนวดผม รวมไปถึงการทำสีผม การกัดสีผม สามารถเป็นปัจจัยทำให้เส้นผมเปราะบางและขาดง่ายได้ อีกทั้งยังส่งผลให้หนังศีรษะเกิดการอักเสบจนเซลล์รากผมอ่อนแอได้
ปลูกผม FUT คืออะไร?
ปลูกผม FUT (Follicular Unit Hair Transplant) คือวิธีปลูกผมถาวรแบบหนึ่งที่ใช้วิธีการย้ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือเซลล์รากผมบริเวณที่แข็งแรงอย่างบริเวณท้ายทอย ไปปลูกในบริเวณที่มีอาการผมร่วงเยอะมาก ผมบาง โดยการปลูกผม FUT จะย้ายผมไปปลูกทีละกราฟ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ผมหนาขึ้น เรียงตัวสวย
รากผมที่ใช้สำหรับปลูกผม FUT จะต้องใช้รากผมจากบริเวณท้ายทอยหรือขมับทั้งสองข้าง เนื่องจากผมบริเวณดังกล่าวเป็นเซลล์รากผมที่ไม่มีตัวรับฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ดังนั้นเมื่อย้ายผมจากบริเวณท้ายทอยหรือขมับไปปลูกบริเวณที่ผมร่วง ผมบาง หรือบริเวณศีรษะล้าน ผมที่ขึ้นใหม่จะงอกอย่างถาวร และไม่มีการหลุดร่วงซ้ำจากฮอร์โมนเหมือนผมเดิม
ภายหลังจากการผ่าตัดช่วงแรกอาจมีอาการผมร่วงได้ แต่ผมที่ร่วงจะไม่มีเซลล์รากผมติดไปด้วย เซลล์รากผมที่พึ่งปลูกใหม่จะยังยึดติดอยู่กับเนื้อเยื่อรอบ ๆ หลังจากนั้นผมใหม่จะค่อย ๆ งอกออกมาอย่างถาวร ประมาณ 3-4 เดือนหลังการปลูกผม การปลูกผม FUT จึงสามารถแก้ปัญหาผมร่วง ผมบางในระยะยาวได้
หลักการทำงานของปลูกผม FUT เป็นอย่างไร
หลักการทำงานของการปลูกผม FUT จะเป็นการย้ายที่เซลล์จากส่วนที่แข็งแรงไปยังที่บริเวณใหม่ ซึ่งก็คือที่ต้องการปลูกผม โดยมีขั้นตอนการทำปลูกผม FUT ดังนี้
- แพทย์จะตัดเซลล์มาจากหนังศีรษะส่วนที่ผมแข็งแรง แล้วนำเซลล์รากผมมาแยกออกจากเนื้อเยื่อรอบ ๆ เพื่อรอการปลูกถ่าย
- หลังจากนั้นแพทย์จะปลูกถ่ายเซลล์กลับเข้าไปในตำแหน่งใหม่ เซลล์รากผมจะค่อย ๆ ยึดติดกับเนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณที่ปลูกผม
- เมื่อเซลล์ยึดติดกับเนื้อเยื่อรอบ ๆ แล้ว เซลล์ใหม่ที่พึ่งย้ายมานั้นจะทำหน้าที่สร้างเส้นผม ทำให้มีผมงอกใหม่ในตำแหน่งที่ต้องการ
การปลูกผม FUT จะได้ผมถาวรจำนวนมากในตำแหน่งใหม่ เพราะการย้ายรากผมไปปลูกในตำแหน่งใหม่มากถึงพันรากขึ้นไป ทำให้ผมมีจำนวนเยอะขึ้น อยู่ได้นาน และดกดำ
ปลูกผม FUT เหมาะกับใครบ้าง
การรักษาอาการผมร่วง ผมบางมีหลากหลายวิธีให้เลือก ขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละบุคคล แล้วการผ่าตัดปลูกผม FUT เหมาะกับใครบ้าง?
- เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางที่แก้ไขยากเนื่องจากรากผมเสื่อม
- ใช้วิธีการรักษาอื่นแล้วไม่ได้ผล เช่น การทำ PRP ผม หรือใช้ยารักษาผมร่วง
- ผู้ที่มีปัญหาศีรษะเถิก ศีรษะล้าน ต้องการปรับแนวผมให้มีผมด้านหน้าเพิ่มมากขึ้น
- เหมาะกับคนที่มีผมบางบริเวณกว้าง ที่ต้องการจำนวนกราฟท์ผมปริมาณมาก เช่น มากกว่า 3,000 กราฟท์ขึ้นไป
การปลูกผม FUT ดีไหม ควรทำหรือเปล่า?
จุดเด่นหลัก ๆ ของการปลูกผม FUT คือมีประสิทธิภาพสูงมาก ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แน่นอนมากกว่าการปลูกผมด้วยวิธีอื่น ๆ นอกจากนี้การปลูกผม FUT มีผลข้างเคียงต่ำ เสี่ยงติดเชื้อน้อย เนื่องจากแผลหลังผ่าตัดเป็นแผลเย็บปิด ส่งผลให้เนื้อเยื่อสัมผัสกับอากาศน้อยลงจึงลดการติดเชื้อลงนั่นเอง หากผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้านแล้วอยากรักษาด้วยวิธีการปลูกผม การปลูกผม FUT จึงเป็นตัวเลือกที่ดีตัวเลือกหนึ่งที่เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว
“หากผู้ชายที่ไว้ผมยาวเกิน 2-3 เซนติเมตรอยู่แล้ว การปลูกผมแบบ FUT จะเหมาะกว่าแบบ FUE เพราะมีโอกาสปลูกผมขึ้นมากกว่าและสามารถเก็บกราฟผมได้เยอะกว่า หากผมร่วงก็สามารถปลูกได้หลายครั้ง”
การรักษาอาการผมร่วง ผมบางในแบบต่าง ๆ
นอกเหนือจากการปลูกผม FUT แล้วยังมีวิธีการรักษาอาการผมร่วงในแบบอื่น ๆ อีกดังนี้
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเครียด
ในผู้ป่วยบางรายที่มีความเครียดสะสมอาจเกิดพฤติกรรมดึงผมตัวเองโดยไม่รู้ (Trichotillomania) ซึ่งการกระทำนี้จะทำลายวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมและหนังศีรษะ ทำให้การงอกใหม่ของเส้นผมช้าลง ดังนั้นผู้ที่มีความเครียดสะสมอาจจะพยายามลด หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอาการร่วมด้วย
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีลดผมร่วงได้ที่ : มัดรวมวิธีแก้ผมร่วง ผมบาง แบบปลอดภัย บอกลาปัญหาผมขาดร่วง
- การใช้ยารับประทานรักษาอาการผมร่วง
การใช้ยาปลูกผมแบบรับประทาน สามารถช่วยให้บริเวณที่มีผมร่วง ผมบางค่อย ๆ กลับมาหนาขึ้น ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยยาปลูกผมที่ใช้รักษาอาการผมร่วงเยอะมาก ผมบาง มีดังนี้
- ยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) มีทั้งยาชนิดน้ำและโฟม โดยยาชนิดนี้จะช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของเส้นผมและช่วยป้องกันไม่ให้ผมร่วง สามารถใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
- ยาฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) เป็นยาที่ใช้ตามใบสั่งแพทย์และจะใช้ในเฉพาะผู้ชายเท่านั้น โดยจะช่วยชะลอการเกิดผมร่วงและผมบางมาก
- การทำ PRP ผม
การทำ PRP ผม หรือการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น จะช่วยให้ผมงอกได้ดีขึ้น โดยแพทย์จะฉีดเกล็ดเลือดของผู้เข้ารับการรักษาเข้าไปที่หนังศีรษะในบริเวณผมร่วง ผมบาง เพื่อให้สาร PRP เข้าไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ผม เพื่อให้มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
- เซลล์บำบัด (Rigenera Activa)
เซลล์บำบัด (Rigenera Activa) หรือการฉีดสเต็มเซลล์ผม เป็นการนำเอาเซลล์ต้นกำเนิดหรือ สเต็มเซลล์ (Stem Cell) จากรากผมของตนเองมาฉีดลงบนหนังศีรษะ เพื่อช่วยกระตุ้นให้รากผมแข็งแรงขึ้น เพิ่มอาหารผม สร้างเส้นผมมากขึ้น วิธีแก้ผมร่วงจากการฉีดสเต็มเซลล์จะทำให้ผมที่งอกขึ้นใหม่มีเส้นใหญ่และหนาขึ้น ไม่หลุดร่วงง่าย และยังช่วยลดการทำงานของฮอร์โมน DHT
- การทำเลเซอร์กระตุ้นผม (Fractional laser)
เลเซอร์กระตุ้นผม (Fractional laser) คือการใช้เลเซอร์พลังงานต่ำยิงเข้าไปที่หนังศีรษะบริเวณผมร่วง ผมบาง โดยเลเซอร์นี้จะเข้าไปช่วยกระตุ้นหนังศีรษะให้เซลล์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างรากผม ทำให้ผมแข็งแรง มีการสร้างเส้นเลือดมากขึ้น ผมที่ขึ้นใหม่มีเส้นใหญ่ไม่ร่วงง่าย นอกจากนี้ Fractional laser ยังนิยมใช้รักษาโรคผิวหนังและใช้ในการเสริมความงามด้วย เช่น รักษารอยแดงจากสิว รักษาหลุมสิว เป็นต้น
- หมวกเลเซอร์ (LLLT)
หมวกเลเซอร์ปลูกผม (LLLT) จะสามารถกระตุ้นรากผมให้สร้างเส้นผมได้ด้วยการใช้เลเซอร์แสงสีแดงพลังงานต่ำเรียกว่า เลเซอร์ LLLT (Low Level Laser Therapy) การปลูกผมด้วยหมวกเลเซอร์นี้จะช่วยรักษาอาการผมร่วง ผมบางในระยะเริ่มต้น ทำให้ผมแข็งแรงและงอกใหม่เร็ว ผมร่วงน้อยลง
ปลูกผม FUT ต่างจากปลูกผม FUE, Longhair , DHI อย่างไร
ถึงแม้ว่าวิธีปลูกผม FUT จะเป็นการปลูกผมถาวรเหมือนกับการปลูกผม FUE แต่ก็มีข้อแตกต่างกันคือ การปลูกผมแบบ FUT จะตัดหนังศีรษะส่วนหนึ่งออกมาแล้วจึงนำผิวหนังส่วนนั้นมาแยกเซลล์รากผมออก ทำให้การปลูกผม FUT ทิ้งรอยแผลจากการผ่าตัดไว้ สามารถเห็นแผลเป็นหลังการผ่าตัดได้ ส่วนการปลูกผม FUE จะมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กมาก เนื่องจากเป็นการนำเอาเซลล์รากผมออกมาเพียงส่วนที่ต้องการเท่านั้น
“การปลูกผม FUE และ FUT มีผลลัพธ์หลังปลูกที่ไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างกันตรงวิธีนำรากผมออกมาจากบริเวณหลังศีรษะหรือเหนือกกหู (Donor Harvesting) ซึ่งจะส่งผลให้แผลหลังผ่าตัด วิธีการดูแลแตกต่างกัน”
ส่วนการปลูกผม DHI จะเป็นการปลูกผมที่แยกย่อยมาจากการปลูกผมแบบ FUE อีกทีหนึ่ง โดยขั้นตอนการปลูกผมแบบ DHI จะแตกต่างกันตรงที่เครื่องมือที่ใช้ในการปลูกผม โดย DHI จะใช้ปากกาปลูกผมเจาะหนังศีรษะและปลูกรากผมไปในครั้งเดียว ทำให้ผิวหนังบริเวณที่ปลูกผมบวมน้อยกว่า FUE
สำหรับการปลูกผม Long hair จะได้รับความนิยมในการปลูกผมผู้หญิง ซึ่งจะแยกออกมาจากการปลูกผมแบบ FUE และ DHI อีกที เนื่องจากการอุปกรณ์ที่ใช้ปลูกผมสามารถใช้ได้ทั้งสองแบบ โดยการปลูกผมแบบ Long hair แพทย์จะเจาะเอารากผมออกมาในตอนที่ผมยาวอยู่ ทำให้ไม่เห็นแผลหลังผ่าตัด
ข้อจำกัดของการปลูกผม FUT
เนื่องจากการปลูกผมแบบ FUT เป็นการตัดผิวหนังศีรษะออกไปบางส่วน ทำให้เมื่อเย็บผิวหนังส่วนที่เหลือติดกันจะทำให้หนังศีรษะตึง ดังนั้นผู้ที่มีหนังศีรษะตึงมากก็อาจจะไม่สามารถปลูกผม FUT ได้ นอกจากนี้ยังเกิดรอยแผลเป็นยาวบนหนังศีรษะ จากการตัดผิวหนังออกไป ทำให้ต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน รวมถึงต้องไว้ผมยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตรขึ้นไปเพื่อปิดรอยแผลเป็น อาจไม่เหมาะกับผู้ไม่มีเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการปลูกผม FUT
การเตรียมตัวก่อนการปลูกผมแบบ FUT เป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ เพราะเป็นการผ่าตัดย่อย ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนปลูกผม FUT มีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนก่อนเข้ารับการปลูกผม
- หากแพ้ยาบางชนิด หรือจำเป็นต้องทานยาอะไรเป็นประจำควรแจ้งแพทย์ทั้งหมด เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีผลต่อการผ่าตัด ทำให้จะต้องหยุดยาหรือเปลี่ยนยาก่อนการผ่าตัด
- พบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา และคำแนะนำก่อนการปลูกผม FUT เพื่อนำไปปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง
1 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการปลูกผม
- งดรับประทานยาแอสไพริน NSAIDs เช่น Ibuprofen, Diclofenac, Ponstan รวมถึงงดวิตามิน St. Johns Wort, Ginkgo biloba, Primrose oil, Garlic, Ginseng, และ Vitamin E เพราะสามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดแข็งตัวช้าในระหว่างการผ่าตัดปลูกผม
- หากต้องการทำสีผมควรทำล่วงหน้ามาก่อน เพราะหลังการปลูกผมจะไม่สามารถทำสีผมได้เป็นเวลา 1 เดือน
1 วันก่อนเข้ารับการปลูกผม
- หากมีไข้หรือรู้สึกไม่สบาย ควรแจ้งแพทย์ก่อนการผ่าตัดปลูกผม FUT
- ควรงดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ในวันที่เข้ารับการรักษาควรพาผู้ดูแลมาด้วย เนื่องจากมีการใช้ยานอนหลับ ไม่ควรขับรถหรือมาตัวคนเดียว
ในวันที่เข้ารับการปลูกผม
- ควรสวมเสื้อที่ถอดได้ง่าย เช่น เสื้อเชิ้ตมีกระดุม เพราะถ้าหากใส่เสื้อที่ถอดยากหรือลำบาก อาจกระทบแผลหลังการผ่าตัดได้
- ควรงดชา กาแฟ ก่อนการเข้ารับการปลูกผมในวันนั้น
ปลูกผม 1 กราฟ คืออะไร?
เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า กราฟปลูกผมคืออะไร? กราฟผมคือ กอรากผมหรือเนื้อเยื่อของผม โดยปลูกผม 1 กราฟ จะมีผมประมาณ 1-4 เส้น ดังนั้นการปลูกผม 1 กราฟจึงหมายถึงปลูกผมหนึ่งกอที่มีเส้นผมจำนวน 1-4 เส้นต่อกอ สำหรับจำนวนกราฟที่ใช้ปลูกผมของแต่ละคนจะใช้ปริมาณไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัญหาน้อย-ใหญ่ ก่อนการปลูกผม FUT จึงต้องให้แพทย์ประเมินก่อนว่าบริเวณที่ต้องการปลูกผมควรใช้ประมาณกี่กราฟ เป็นต้น
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับปลูกผม 1 กราฟได้ที่ : กราฟผม คืออะไร สำคัญอย่างไร คนปลูกผมต้องรู้!
ขั้นตอนการทำปลูกผม FUT
- แพทย์จะให้ออกแบบแนวผมเพื่อให้เข้ากับใบหน้าผู้เข้ารับการรักษามากที่สุด โดยการวาดแนวผมที่ต้องการจะปลูกลงบนศีรษะ
- หากเลือกเซลล์รากผมจากส่วนท้ายทอย ผมส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งและรวบเก็บไว้เพื่อปิดแผลหลังผ่าตัด และแพทย์จะทำวาดส่วนที่ต้องการโกนผมบริเวณที่ต้องผ่าตัด
- จากนั้นแพทย์จะทำการฉีดยาชารอบบริเวณผิวหนังส่วนที่จะตัด เมื่อยาชาออกฤทธิ์แพทย์จะเริ่มผ่าตัดโดยใช้เทคนิคแบบเปิด
- แพทย์จะค่อย ๆ กรีดตามแนวที่วาดไว้แล้วแยกผิวหนังชั้นบนที่มีส่วนรากผมออกมา เมื่อแยกหนังศีรษะในส่วนที่เลือกไว้เสร็จแล้ว แพทย์จะทำการเย็บปิดแผล
- หนังศีรษะที่ถูกแยกออกมาจะถูกตัดแบ่งเป็นชิ้นบาง ๆ จากนั้นแพทย์จะทำการแยกเซลล์รากผมแต่ละเซลล์ออกจากกันภายใต้กล้องจุทรรศน์
- สำหรับเซลล์รากผมที่ถูกแยกออกมานั้น แพทย์จะนำไปแช่ไว้ในน้ำยาแช่กราฟผม ซึ่งจะช่วยรักษาสภาพเซลล์เพื่อไม่ให้เซลล์ตายหรือเสียหายก่อนการปลูกถ่าย
- เมื่อถึงการตอนการปลูกผม FUT แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะจุดที่ต้องการปลูกผม จากนั้นจึงเริ่มเจาะรูสำหรับปลูกผมด้วยเครื่องมือเฉพาะเพื่อทำให้เซลล์รากผมช้ำน้อยที่สุดขณะปลูกผม
การดูแลหลังการปลูกผม FUT
วิธีดูแลตัวเองหลังการปลูกผม FUT เป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนเตรียมตัวเลย ถ้าหากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หลังปลูกผมอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงหลังการปลูกผมได้ รวมถึงยังช่วยลดโอกาสที่จะปลูกผมไม่ขึ้นอีกด้วย สำหรับข้อปฏิบัติหลังปลูกผม FUT เบื้องต้นมีดังนี้
- วิธีการดูแลผมและการทำความสะอาด
หลังการปลูกผม FUT สามารถถอดผ้าพันแผลและสระผมได้หลังครบ 24 ชั่วโมง โดยการสระผมจะมีวิธีขั้นตอนเฉพาะของแพทย์แต่ละคลินิกหรือโรงพยาบาล แต่หลัก ๆ คือไม่ควรหวีผม สระผมแรงเกินไป รวมถึงไม่ควรเกา แกะ ถูที่แผล เพราะอาจทำให้รากผมที่ปลูกไว้หลุดออกได้ และจะกลับมาสระผม ทำสีผมได้ตามปกติหลังจากผ่าตัด 1 เดือน
2. การใช้ชีวิตประจำวัน
- ควรระมัดระวังไม่ให้ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน
- หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงสัปดาห์แรก หากจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งควรสวมหมวกเพื่อป้องกันแสงแดด เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงจะส่งผลต่อรากผมที่ปลูกไป
- งดออกกำลังกายอย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังปลูกผม
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมและเลือดออก
อาการข้างเคียงหลังจากการปลูกผม FUT
- อาการคันและบวมหลังจากการปลูกผม FUT
หลังการผ่าตัดปลูกผม FUT อาจมีอาการบวมบริเวณหน้าผากได้ สามารถใช้ที่ประคบเย็นประคบบริเวณหน้าผากได้ แต่ต้องระวังอย่าให้โดนบริเวณที่ปลูกผม โดยอาการบวมจะหายได้เองภายใน 7 วัน
- อาการผมร่วงหลังจากปลูกผม FUT
อาการผมร่วงหลังจากการปลูกผม FUT เป็นเพียงแค่อาการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปผมที่หลุดร่วงจะกลับมางอกใหม่อีกครั้ง เนื่องจากการย้ายรากผมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้เกิดภาวะหลังปลูกผมได้
โดยผมบริเวณที่ย้ายมาปลูกและผมบริเวณข้างเคียงอาจเกิดอาการผมร่วงได้ ซึ่งภาวะผมร่วงนี้จะเกิดได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน หลังจากนั้นผมก็จะค่อย ๆ เริ่มงอกมาใหม่ สำหรับผลลัพธ์หลังปลูกผม FUT จะเริ่มเห็นผลแบบชัดเจนหลังจากปลูกผม 1 ปี
คำถามที่พบบ่อย
SkinX ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยสำหรับการปลูกผม FUT ไว้ มีดังนี้
ปลูกผม FUT เจ็บไหม
ในระหว่างการปลูกผม FUT จะไม่รู้สึกเจ็บ เนื่องจากมีการใช้ยาชาและยานอนหลับในระหว่างการผ่าตัด แม้ยาชาจะหมดฤทธิ์แล้วก็จะไม่รู้สึกเจ็บมาก แต่อาจจะมีอาการบวมหรือปวดได้ สามารถรับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์จ่ายให้เพื่อบรรเทาอาการได้
ขั้นตอนการปลูกผม FUT ใช้ระยะเวลากี่ชั่วโมง
การปลูกผม FUT ในขั้นตอนการผ่าตัดจะใช้เวลาผ่าตัดทั้งหมด 4-6 ชั่วโมง หรืออาจมากน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับจำนวนกราฟที่ปลูก เมื่อปลูกผมเสร็จรากผมจะใช้ระยะเวลาพักฟื้นประมาณ 3-4 เดือน
การปลูกผม FUT ใช้ระยะเวลานานเท่าไรถึงเห็นผล
การปลูกผมจะเริ่มเห็นผลชัดเจนว่ามีผมงอกใหม่ในระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี แต่ทั้งนี้ระยะเวลาการเห็นผลจะแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล
อยากปลูกผม FUT ควรปรึกษาที่ไหน
หากตัดสินใจต้องการปลูกผม FUT ควรเลือกปรึกษากับคลินิกหรือโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีเทคโนโลยีปลูกผมที่ทันสมัย หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเกี่ยวกับหนังศีรษะและเส้นผม มีประสบการณ์สูงเพื่อแก้ปัญหาผมร่วงเยอะมาก ผมบาง และศีรษะล้านให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจที่สุด
สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาเดินทางไปคลินิกหรือโรงพยาบาล สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนังผ่านทางแอปพลิเคชัน SkinX ได้ โดยแพทย์สามารถวิเคราะห์ระดับความรุนแรง และจ่ายยาได้ตรงตามอาการ รวมถึงแพทย์จะให้คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาด้านการปลูกผม
SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์ ที่ได้รวบรวมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำไว้มากกว่า 210 คน มาให้คำปรึกษาด้านผมและหนังศีรษะโดยเฉพาะ พบแพทย์ออนไลน์ได้ง่าย ๆ ไม่ต้องรอคิว รู้ผลทันที สำหรับลูกค้ารายใหม่ ปรึกษาแพทย์ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
สรุปการปลูกผม FUT
การปลูกผม FUT เป็นวิธีการปลูกผมที่ผู้คนยังให้ความนิยม เนื่องจากมีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ดี การปลูกผม FUT จึงเป็นหนึ่งในวิธีการปลูกผมที่เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือแม้กระทั่งคนที่มีศีรษะล้าน ศีรษะเถิก ผู้เข้ารับการรักษาจะได้ผมใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม และไม่หลุดร่วงง่าย
ทั้งนี้ผู้ที่สนใจต้องการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกผม FUT สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอปฯ SkinX เพื่อรับคำปรึกษาและคำแนะนำวิธีการปลูกผมที่เหมาะกับคุณ
อ้างอิง
Yetman D. (2020, June 30). What You Need to Know About Follicular Unit Transplantation (FUT). Healthline. https://www.healthline.com/health/fut-hair-transplant
Korviriyakamol, T. (2023, March 3). เทคนิคการปลูกผม FUT คืออะไร เหมาะกับใคร แตกต่างกับวิธีอื่นอย่างไร.
https://drtarinee.com/article/follicular-unit-hair-transplant/