SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

18 มิถุนายน 2567

ทำความรู้จัก “Sleep Test” การตรวจสอบคุณภาพในการนอนหลับ

ทำ Sleep Test

การทำ Sleep Test เป็นหนึ่งในการตรวจสอบระบบการทำงานของร่างกายขณะหลับ ซึ่งหลายคนอาจกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นการนอนกรน การสะดุ้งตื่นกลางดึก หรือการนอนหลับไม่สนิท โดยปัญหาเหล่านี้หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับ และทำให้คุณมีภาวะเสี่ยงต่อการหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในบทความนี้ SkinX จะมาแนะนำให้รู้จักกับ Sleep Test ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นหนึ่งทางเลือกในการตรวจเช็กสุขภาพของคุณ

 

SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางผ่านออนไลน์ ไม่ว่าจะอยู่บ้านหรืออยู่ที่ไหนก็พบแพทย์ได้ทันที สำหรับผู้ใช้งานใหม่สามารถขอคำปรึกษากับแพทย์ผิวหนังผ่านแอป SkinX ครั้งแรกได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

สารบัญบทความ

Sleep Test คืออะไร?

 

Sleep Study หรือ Sleep Test คือ การตรวจสอบการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายขณะนอนหลับ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และวินิจฉัยหาความผิดปกติของร่างกายขณะนอนหลับ เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ การนอนกรน หรือการสะดุ้งตื่นกลางดึก รวมถึงสามารถตรวจสอบพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับของเราด้วย นอกจากนี้ การทำ Sleep Test ยังสามารถตรวจสอบระบบทางเดินหายใจ การทำงานของคลื่นไฟฟ้าในสมอง วัดระดับออกซิเจนในเลือดได้อีกด้วย ซึ่งการทำ Sleep Test ประกอบไปด้วย 4 ประเภทตามระดับความละเอียดในการรักษา ดังนี้

 

  • ระดับที่ 1 การตรวจสุขภาพการนอนแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน (Comprehensive technician-attended polysomnography)
    การตรวจสุขภาพการนอนระดับนี้ จะมีการตรวจวัดลมหายใจ, คลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขา, คลื่นไฟฟ้าใต้คาง, คลื่นไฟฟ้าลูกตา, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด โดยการทำ Sleep Test ระดับนี้จะทำภายในห้องตรวจเฉพาะของโรงพยาบาล หรือในสถานที่ที่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการตลอดทั้งคืนเท่านั้น
  • ระดับที่ 2 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบสมบูรณ์ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดทั้งคืน(Comprehensive-unattended portable polysomnography)
    การตรวจสุขภาพการนอนระดับนี้ เป็นการทำ Sleep test ที่บ้านได้ ซึ่งผู้ที่ต้องการตรวจสามารถเลือกที่อยู่อาศัยของตัวเองในการทำ Sleep Test ได้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ แต่จะไม่มีเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์ตลอดทั้งคืน การตรวจสุขภาพการนอนหลับระดับนี้จะมีความน่าเชื่อถือใกล้เคียงกับการตรวจระดับแรก แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางมายังสถานพยาบาล
  • ระดับที่ 3 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test)
    การตรวจสุขภาพการนอนระดับนี้ จะมีการตรวจวัดลมหายใจ, การวัดระดับออกซิเจนในเลือดการ,เคลื่อนไหวของหน้าอกและช่องท้อง, การวัดระดับเสียงกรน และการวัดคลื่นหัวใจร่วมด้วย นอกจากนี้ การทำ Sleep Testจะมีการตรวจสอบการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ ซึ่งผลตรวจที่ได้อาจจะมีความแม่นยำน้อยกว่า 2 วิธีข้างต้น เนื่องจากไม่ได้มีการวัดคลื่นสมอง จึงไม่สามารถวินิจฉัยประสิทธิภาพในการนอน และระยะความลึกของการนอนหลับได้อย่างสมบูรณ์
  • ระดับที่ 4 การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด และหรือ วัดลมหายใจขณะหลับ (Single or dual channel portable sleep test)
    การตรวจสุขภาพการนอนระดับนี้ เป็นการทำ Sleep Testที่มีความน่าเชื่อถือผลลัพธ์น้อยที่สุด เนื่องจากเป็นการตรวจเพียงบางส่วนเท่านั้น จึงไม่สามารถนำข้อมูลมาวินิจฉัยโรคภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ หรือโรคอื่น ๆ ได้ โดยที่ข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้เข้ารับการตรวจจะได้ผลลัพธ์ไม่เกิน 3 อย่างเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถตรวจในระดับอื่นได้ (ใช้เป็นการ Screen ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเบื้องต้นได้ดี เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและมีค่าใช้จ่ายน้อย โดยปกติผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากประวัติ เช่น มีอาการนอนกรน สะดุ้งเฮือกขณะนอนหลับ หรือนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่น เบื้องต้นการใช้ระดับที่ 4 เพื่อคัดกรองว่ามีปัญหาจริงหรือไม่เป็นวิธีที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ถ้าพบความผิดปกติ จึงค่อยไปตรวจเพิ่มเติมในระดับอื่น) 

 

เตรียมตัวอย่างไรดีก่อนทำ Sleep Test?

test sleep

หากใครกำลังมีอาการนอนน้อย ปวดหัว และกำลังเผชิญกับปัญหานอนหลับ ซึ่ง Sleep Test จะทำให้คุณได้ตรวจสอบการนอนหลับของตัวเอง อีกทั้งยังสามารถแก้นอนกรนหรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับได้ เรามาดูวิธีการเตรียมตัวให้พร้อมกันเข้ารับการทำ Sleep Test กันว่าจะมีอะไรบ้าง

 

  • พูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเบื้องต้น เพื่อตรวจสอบและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับปัญหาการนอนหลับของคุณ
  • ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัดแน่นร่างกายจนเกินไป
  • ควรอาบน้ำ สระผมก่อนเข้ารับการตรวจ รวมถึงงดการใช้น้ำมันและครีมใส่ผม เนื่องจากอาจทำให้การติดอุปกรณ์มีการตรวจสอบผิดพลาด และผลออกมาคลาดเคลื่อนได้
  • งดการออกกำลังกายอย่างหนักในวันที่เข้ารับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ
  • หลีกเลี่ยงการนอนกลางวันในวันที่เข้ารับการตรวจ เนื่องจากอาจจะทำให้คุณภาพในการนอนหลับขณะตรวจไม่สมบูรณ์
  • หากมีการรับประทานยาโรคประจำตัวหรืออาหารเสริม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการเข้ารับการตรวจ
  • ทำจิตใจให้สบาย ลดความเครียดหรือวิตกกังวล เพราะอาจส่งผลกระทบต่อผลตรวจได้

 

ขั้นตอนในการทำ Sleep Test 

 

หลังจากที่เราทราบวิธีการเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Test แล้ว เรามาดูขั้นตอนในการทำ Sleep Test กันต่อว่าจะมีวิธีคร่าว ๆ ในการตรวจสอบการนอนหลับอย่างไร ดังนี้

 

  • ผู้ที่ต้องการทำ Sleep Test ต้องมาพักค้างคืนที่สถานพยาบาลในช่วงเวลากลางคืน
  • เจ้าที่หน้าที่จะติดอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตามความเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะหลับ
  • เจ้าหน้าที่จะมีการบันทึกภาพและวิดีโอ เพื่อให้ผลการวินิจฉัยและตรวจสอบความผิดปกติทางพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นขณะหลับ 
  • เจ้าหน้าที่ในห้องควบคุมจะมีเครื่องรับส่งสัญญาณที่เชื่อมต่อกับผู้เข้ารับการทำ Sleep Test และใช้ข้อมูลดังกล่าวส่งต่อให้ทีมแพทย์เฉพาะทางในการแปลผลในการรักษา
  • เจ้าหน้าที่จะติดอุปกรณ์เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้า ที่ใช้สายโลหะสัมผัสยึดติดกับบริเวณผิวหนังของร่างกายด้วยแผ่นแปะ โดยจะไม่มีการเจาะหรือฝังอุปกรณ์เข้าร่างกายของผู้เข้ารับการตรวจ  
  • เจ้าหน้าที่จะสวมหน้ากากให้กับผู้ที่ตรวจพบว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ CPAP คือ ตัวช่วยที่จะทำให้ร่างกายกลับมาหายใจอีกครั้ง

 

“เครื่องช่วยหายใจขณะนอนหลับ หรือ CPAP คือ เครื่องที่สร้างแรงดันอากาศให้กับผู้ใช้งาน เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น เครื่อง CPAP นี้สามารถรักษาปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) และการนอนกรนได้อีกด้วย”

 

ประโยชน์ของการทำ Sleep Test 

sleeping test ราคา

การทำ Sleep Test เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการวินิจฉัย และรักษาปัญหาการนอนหลับที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่าง ๆ ของร่างกายได้ เรามาดูประโยชน์ของการทำ Sleep Test ว่ามีข้อดีอย่างไรบ้าง ดังนี้

  • Sleep Test ใช้วินิจฉัยโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น  
  • Sleep Test ใช้วินิจฉัยอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ 
  • Sleep Test ใช้วินิจฉัยภาวะชักขณะนอนหลับ 
  • Sleep Test ใช้ตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติขณะนอนหลับ

 

เรียกได้ว่า Sleep Test นอกจากจะช่วยให้เรารู้พฤติกรรมในการนอนหลับของตัวเองแล้ว ยังทำให้เราสามารถวางแผนในการรักษาอย่างต่อเนื่องกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อีกด้วย

 

ใครควรทำ Sleep Test บ้าง? 

หลังจากที่ทราบประโยชน์ของการทำ Sleep Test กันไปแล้ว มาดูกันต่อว่าการทำ Sleep Test จะเหมาะกับใครบ้าง ดังนี้

  1. ผู้ที่มีอาการนอนกรนเสียงดังผิดปกติ
  2. ผู้ที่มีภาวะชักขณะนอนหลับ
  3. ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียในตอนกลางวัน ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น
  4. ผู้ที่หายใจลำบาก และสงสัยว่าตัวเองมีการหยุดหายใจขณะหลับ
  5. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่ส่งผลต่อการหายใจขณะนอนหลับ 
  6. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคน้ำหนักเกิน โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

 

คำถามที่พบบ่อย

การทำ Sleep Test ราคาประมาณเท่าไหร่?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ราคา Sleep Test อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการทำ Sleep Test ของสถานพยาบาลแต่ละแห่งอาจจะมีราคาที่แตกต่างกัน เช่น 

  • ในสถานพยาบาลของรัฐบาลราคาของการทำ Sleep Test จะอยู่ที่ประมาณ 7,000-10,000 บาท 
  • ในสถานพยาบาลของเอกชนราคาของการทำ Sleep Test จะอยู่ที่ประมาณ 10,000-30,000 บาท 

*ราคาดังกล่าวเป็นเพียงราคาเบื้องต้นของค่าบริการในการทำ Sleep Test ผู้ที่สนใจเข้ารับบริการควรศึกษาและสอบถามข้อมูลที่ถูกต้องก่อนจะดีที่สุด

วิธีเลือกสถานพยาบาลในการทำ Sleep Test เป็นอย่างไร?

โดยสถานที่ในการทำตรวจสอบการนอนหลับจะมีให้เลือกทั้งในการทำ Sleep Test โรงพยาบาลรัฐ การทำ Sleep Test โรงพยาบาลเอกชน หรือศูนย์ตรวจการนอนหลับ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน 

เราควรมองหาสถานพยาบาลที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์จากทีมแพทย์เฉพาะทางที่น่าเชื่อถือ เพื่อผลลัพธ์ในการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งควรเลือกสถานที่ที่มีบรรยากาศเงียบสงบ น่าผ่อนคลาย เพื่อให้ขณะตรวจสอบเราสามารถนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

สรุปเกี่ยวกับการทำ Sleep Test 

Sleep Test คือ การตรวจสอบการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายขณะนอนหลับ สำหรับผู้ที่มีปัญหานอนกรน, สะดุ้งตื่นกลางดึก, อ่อนเพลียระหว่างวัน และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเข้ารับการตรวจสอบการนอนหลับ และขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ เพราะนอกจากจะทำให้ทราบถึงพฤติกรรมในการนอนหลับของตัวเองแล้ว ยังสามารถวางแผนการรักษาพฤติกรรมที่ผิดปกติได้อย่างต่อเนื่องในคราวเดียว

สำหรับใครที่ต้องการคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง SkinX สามารถช่วยให้การพบแพทย์นั้นง่ายดายยิ่งขึ้น เพียงแค่เข้าแอปฯ ก็สามารถนัดพบแพทย์และขอรับคำปรึกษาได้ ผู้ใช้งานใหม่สามารถขอรับคำปรึกษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมบริการสุดพิเศษในการตรวจสอบการนอนหลับ (Sleep Test) จากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำ เฉพาะลูกค้าที่โหลดแอปฯ SkinX เท่านั้น 

 

References

Cleveland Clinic medical professional. (2023, October 2). Sleep Study (Polysomnography). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/12131-sleep-study-polysomnography

Mayo Clinic Staff. (2023, February 17). Polysomnography (sleep study). Mayoclinic. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/polysomnography/about/pac-20394877

Fry, A. (2023, September 20). How Does a Sleep Study Work?. Sleepfoundation. https://www.sleepfoundation.org/sleep-studies/how-does-a-sleep-study-work

Gerstenslager, B. & Slowik, JM. (2023). StatPearls. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK563147/

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า