SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

20 สิงหาคม 2567

นอนไม่หลับ หลับยากมาก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่?

อาการนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับเป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยและพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย หากมีอาการง่วงแต่นอนไม่หลับหรือรู้สึกง่วงแต่สมองไม่หยุดคิด แสดงว่าคุณกำลังมีอาการนอนไม่หลับ อีกทั้งอาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอาการนอนไม่หลับสามารถพัฒนาไปเป็นโรคอื่น ๆ ได้ หากนอนไม่หลับบ่อยติดต่อกันเป็นเวลานาน

 

อาการนอนไม่หลับ หรือ Insomnia เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านสุขภาพร่างกาย ปัจจัยด้านสุขภาพจิต และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้สามารถส่งผลให้เรานอนหลับยากหรือนอนหลับไม่สนิทได้ ในบทความนี้ SkinX จะพาไปทำความรู้จักกับ โรคนอนไม่หลับให้มากขึ้น ไม่ว่าจะในส่วนของสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ และวิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ รวมไปถึงสาระดี ๆ อีกมากมายที่คุณไม่ควรพลาด

 

Key Takeaway

 

  • อาการของโรคนอนไม่หลับมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะใช้เวลาเข้านอนมากกว่า 20 นาที การตื่นกลางดึกบ่อย ๆ การนอนหลับไม่สนิท การตื่นเร็วกว่าที่ควรจะตื่น เป็นต้น
  • สาเหตุของโรคนอนหลับมีทั้งเกิดจากโรคทางกายอย่างโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือเกิดจากปัญหาทางใจอย่างเช่น ความเครียด วิตกกังวล เป็นต้น
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างการดื่มคาเฟอีน การสูบบุหรี่ และการอยู่ในสภาพแวดล้อมการนอนที่ไม่เหมาะสม ก็เป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับเช่นกัน
  • นอนไม่หลับเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น การตอบสนองช้า ปวดศีรษะง่าย ติดเชื้อง่าย อ่อนเพลีย และอาจนำไปสู่ภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติ
  • การรักษาโรคนอนไม่หลับขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง เบื้องต้นสามารถปรับแก้พฤติกรรมการนอนของตนเองได้ แต่หากนอนไม่หลับรุนแรงอาจต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์
สารบัญบทความ

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คืออะไร

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คือ โรคที่มีความผิดปกติในวงจรการนอนหลับ ซึ่งหลายคนสามารถประสบกับปัญหานี้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงไหนของชีวิต อธิบดีกรมสุขภาพจิตของประเทศไทยได้เคยกล่าวไว้ว่า ในประเทศไทยมีประชากรที่มีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่เพียงพอ ร้อยละ 30-40 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งกลุ่มที่มีปัญหาการนอนไม่หลับมากที่สุด คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการมีปัญหาการนอนไม่หลับเรื้อรังได้ 

 

ในส่วนของโรคนอนไม่หลับนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

ภาวะนอนไม่หลับขั้นแรก (Onset Insomnia)

การนอนไม่หลับประเภทนี้อาจเป็นในระยะสั้นหรือเรื้อรังก็ได้ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการนอนไม่หลับขั้นนี้ คือ การมีปัญหาทางจิตเวช รวมถึงการมีความเครียดสะสม การวิตกกังวล หรืออาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย

ภาวะนอนหลับไม่สนิท (Maintenance Insomnia)

การนอนหลับไม่สนิทเป็นภาวะที่เราไม่สามารถนอนหลับได้ในระยะยาวและมีการตื่นกลางดึกเป็นประจำ การนอนไม่หลับประเภทนี้นอกจากจะทำให้เราพักผ่อนไม่เพียงพอแล้ว ยังทำให้เรามีวงจรการนอนหลับที่ไม่ดีอีกด้วย ภาวะนี้อาจเกิดได้จากปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ, โรคหอบหืด รวมถึงโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ

ภาวะนอนไม่หลับเฉียบพลัน (Acute Insomnia)

การนอนไม่หลับเฉียบพลัน คือ การนอนไม่หลับในระยะสั้น อาจจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 2-3 วัน จนไปถึง 2-3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นการนอนไม่หลับประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากการนอนไม่หลับประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ตึงเครียดรวมถึงปัญหาสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ความรู้สึกไม่สบายตัว การเจ็บป่วย หรือการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น

นอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic Insomnia)

การนอนไม่หลับเรื้อรัง หากมีปัญหาในการนอนหลับอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ ซึ่งสาเหตุทั่วไปของการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังมักมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวหรือมีภาวะวิตกกังวล เช่น การเป็นโรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงหากมีอาการระบบทางเดินหายใจบ่อย ๆ ก็อาจส่งผลต่อการนอนไม่หลับได้

อาการของโรคนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับมีหลายรูปแบบ ดังนี้

 

  • อยากนอนแต่นอนไม่หลับ นอนหลับยาก ใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ
  • ตื่นกลางดึก ชอบสะดุ้งตื่น
  • ตื่นเร็วกว่าที่ควรจะตื่น
  • รู้สึกไม่สบายตัวหลังตื่นนอน
  • รู้สึกนอนเหมือนไม่ได้นอน
  • มีอาการเหนื่อยล้าระหว่างวัน 
  • ความสามารถในการจดจ่อต่อสิ่งต่าง ๆ ลดน้อยลง 
  • หลงลืม ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
  • มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือซึมเศร้า

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับเกิดจากอะไร

การนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท จนทำให้เกิดการพักผ่อนไม่เพียงพอนับเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่กำลังพบเจอ ซึ่งสาเหตุนอนไม่หลับอาจจะมาจากการมีโรคประจำตัว มีความเครียดสะสม รวมไปถึงการมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการนอนหลับ ทั้งนี้เราสามารถแบ่งปัจจัยหลักที่ทำให้นอนไม่หลับได้ 4 สาเหตุ ดังนี้

 

  1. ปัจจัยด้านสุขภาพร่างกาย

ปัจจัยด้านสุขภาพร่างกายอาจเกิดขึ้นได้กับหลายคนที่มีโรคประจำตัวที่จะส่งผลต่อการนอนหลับ ได้แก่

 

  • มีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์หรือทางเดินปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือต่อมลูกหมากโต
  • มีความผิดปกติของระบบหายใจ เช่น การกรน, การหยุดหายใจขณะหลับ, การกระตุกขณะหลับ และการเดินละเมอ
  • มีภาวะโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจล้มเหลว
  • มีภาวะทางระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์หรือโรคพาร์กินสัน อีกทั้งการใช้ยาบางประเภทอาจมีผลข้างเคียงให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้เช่นกัน
     
  1. ปัจจัยด้านสุขภาพจิต

ปัจจัยด้านสุขภาพจิตที่อาจดูไม่ส่งผลอะไรต่อการนอนหลับ แต่แท้จริงแล้วปัจจัยที่ทำให้นอนหลับไม่สนิทและตื่นในตอนกลางคืนได้ ได้แก่

 

  • มีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์
  • มีอาการวิตกกังวล เช่น โรคตื่นตระหนก (Panic Disorder) หรือโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (Post-traumatic stress disorder) 
  • มีความเครียดสะสมและความวิตกกังวล
     
  1. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญสำหรับผู้ที่นอนไม่หลับ ซึ่งเป็นปัญหาภายนอกที่เราสามารถแก้ไขได้ในเบื้องต้น ได้แก่

 

  • สถานที่หรือเตียงนอนไม่เอื้ออำนวยต่อการนอนหลับ
  • แสงไฟในห้องนอนสว่างเกินไป
  • เสียงรอบข้างรบกวน
  • อุณหภูมิไม่เหมาะสมต่อการนอนหลับ
     
  1. ปัจจัยด้านพฤติกรรม

ปัจจัยด้านพฤติกรรมสามารถส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้เช่นกัน ได้แก่

 

  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มคาเฟอีน พบได้ในชา กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลัง
  • การนอนหลับที่ไม่เป็นเวลา เนื่องจากอาชีพการงานและการทำงานเป็นกะ

 

หากรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มีปัญหาเรื่องการนอน แนะนำการตรวจคุณภาพการนอนหลับ Sleep Test ค้นหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับและวางแผนการรักษาให้ตรงจุด ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Sleep Test เพิ่มเติมได้ที่ : ทำความรู้จัก “Sleep Test” การตรวจสอบคุณภาพในการนอนหลับ

นอนไม่หลับ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

ผลเสียของอาการนอนไม่หลับ

ในขณะที่เรานอนหลับ ร่างกายของเราจะหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ออกมาเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเอง เพราะในช่วงเวลาที่เราหลับสนิทประมาณ 5 ทุ่มถึง ตี 3 ร่างกายจะซ่อมแซมอวัยวะที่สึกหรอ ดังนั้นอาการนอนไม่หลับจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองและร่างกายลดน้อยลง อีกทั้งยังทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น ดังนี้

  • ส่งผลให้ร่างกายมีการตอบสนองช้าลง ร่างกายอ่อนเพลีย
  • ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานหรือการใช้ความจำน้อยลง
  • ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย และปวดศีรษะคล้ายจะมีไข้
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้และหอบหืดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันต่ำลง
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  • เพิ่มความเสี่ยงในการมีภาวะทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ตึงเครียดง่าย, ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่, อารมณ์แปรปรวน, วิตกกังวล และมีอาการซึมเศร้า
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทางการแพทย์เรื้อรังต่าง ๆ ได้ เช่น

    • โรคหัวใจ
    • โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากการนอนไม่หลับ ความดันโลหิตและชีพจรถูกกระตุ้นให้มีการทำงานที่หนักขึ้น ทำให้ไขมันและน้ำตาลในร่างกายมีปริมาณสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงระบบการทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพลดลงและมีหลอดเลือดหัวใจเสื่อมเร็ว
    • โรคน้ำหนักเกิน เกิดขึ้นจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาหารที่มีพลังงานสูงในร่างกายไม่ได้รับการเผาผลาญ ส่งให้มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคเบาหวานได้

วิธีรักษาและป้องกันโรคนอนไม่หลับ

นอนหลับไม่สนิท ทำอย่างไรดี

หลังจากที่เรารู้แล้วว่า โรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร และมีความเสี่ยงต่อสุขภาพในหลากหลายด้าน ต่อไปนี้เรามาดูวิธีการรักษาโรคนอนไม่หลับที่มีประสิทธิภาพกันว่ามีวิธีอะไรบ้าง

วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับจากสภาพแวดล้อม

    1. ใช้มู่ลี่หรือผ้าม่านหนา ๆ เพื่อบังแสงแดดและแสงไฟที่ไม่ต้องการ
    2. สวมผ้าปิดตาในขณะนอนหลับ
    3. สวมที่อุดหูหากมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน
    4. ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้เหมาะสมสำหรับการนอนหลับ
    5. ใช้ห้องนอนและเตียงในการนอนหลับพักผ่อนเท่านั้น
    6. หาหมอนและเตียงที่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย เพื่อความสบายในการนอนหลับ

วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับจากอุปนิสัยการนอน

    1. กำหนดเวลานอนที่แน่นอนในแต่ละวัน และทำต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน
    2. หลีกเลี่ยงการงีบหลับในระหว่างวัน
    3. รีบเข้านอนเมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอน
    4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง, เดิน หรือปั่นจักรยาน ขั้นต่ำอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน แต่ห้ามออกกำลังกายในช่วง 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เนื่องจากจะทำให้นอนหลับยากขึ้น
    5. งดเครื่องดื่มชาและกาแฟก่อนเข้านอน
    6. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
    7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอน
    8. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอน รวมถึงโทรทัศน์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์
    9. หากิจกรรมผ่อนคลายร่างกายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ, ฟังเพลงคลอ ๆ หรือดื่มนมอุ่น ๆ 
    10. หลีกเลี่ยงการนอนบนเตียงหากยังไม่รู้สึกง่วง
    11. หลีกเลี่ยงการดูนาฬิกาก่อนเข้านอน เพราะจะทำให้รู้สึกกังวลว่าต้องรีบเข้านอน

วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท

    1. กลุ่มยา Benzodiazepines เป็นกลุ่มยานอนหลับที่มีฤทธิ์แรง ช่วยในการนอนหลับและคลายความเครียด รวมถึงช่วยในเรื่องความจำและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ยาชนิดนี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและหงุดหงิดง่าย 
    2. กลุ่มยา Nonbenzodiazepines เป็นกลุ่มยานอนหลับที่ออกฤทธิ์เร็ว ซึ่งจะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังจากได้รับยา และมีการออกฤทธิ์ได้นานถึง 8 ชั่วโมง ช่วยให้รู้สึกง่วงนอน, คลายกังวล และไม่ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียในตอนเช้า 
    3. กลุ่มยา Melatonin เป็นกลุ่มยาที่เลียนแบบสารสื่อประสาทในสมองที่จะหลั่งออกมาเพื่อกระตุ้นให้รู้สึกอยากนอนหลับ ยาชนิดนี้จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกง่วงและผ่อนคลาย เหมาะกับผู้สูงอายุที่หลับยากและผู้ที่ทำงานเป็นกะ 
    4. กลุ่มยา Antidepressants เป็นยากลุ่มยาต้านโรคซึมเศร้าที่มีส่วนช่วยในนอนหลับ, คลายเครียด และลดความวิตกกังวลได้เป็นอย่างดี แต่ไม่นิยมใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ที่มีอายุน้อย เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่าปกติ
    5. กลุ่มยาอื่น ๆ มีกลุ่มยาประเภทอื่นอีกที่สามารถช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้ อย่างเช่น CBD Oil เพราะ CBD Oil คือ น้ำมันที่มีสาร CBD มีส่วนช่วยทำให้ร่างกายง่วงนอน และช่วยลดโอกาสที่จะตื่นขึ้นมากลางดึก อีกทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยให้หลับได้นานขึ้น ทำให้เราสามารถใช้ CBD Oil กับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับได้

 

ในปี 2565 คนไทยประสบปัญหานอนไม่หลับถึง 19 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันมีทางเลือกการรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยกัญชา หากประเทศไทยพัฒนากัญชาทางการแพทย์สำเร็จจะสามารถทดแทนยานอนหลับและยาประเภทอื่นได้ เพราะ กัญชา คือ หนึ่งในทางเลือกใหม่ที่จะเข้ามาช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับได้ อีกทั้งยังลดการนำเข้ายาเคมีและเพิ่มโอกาสในการส่งออกให้กับต่างประเทศได้อีกด้วย

 

สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับกัญชาเพิ่มเติมได้เลยที่ : ประโยชน์ของกัญชา รักษาโรคได้มากกว่าที่คิด

โรคนอนไม่หลับ หลับยาก แก้ไขได้ถ้าเข้าใจสาเหตุที่แท้จริง

โรคนอนไม่หลับ นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ กลางดึก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวได้ นอกจากจะทำให้ระบบการทำงานในร่างกายมีประสิทธิภาพลดลงแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตในอนาคตได้ วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด จึงต้องอาศัยความเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงก่อนว่าอะไรเป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับ การปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาทางออกจึงอาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในแก้ไขปัญหานี้

 

สำหรับใครที่ต้องการคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง ให้คุณได้คำตอบที่สงสัย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือคลินิกแบบเดิม ๆ อีกต่อไป โหลดแอปพลิเคชัน SkinX พร้อมรับดีลสุดคุ้มมากมายเฉพาะในแอป SkinX เท่านั้น

Reference

Drugs to Treat Insomnia. (2023, 6 June). WebMD. https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-medications

Crosta, P. (2023, January 9). What is insomnia? Everything you need to know. Medicalnewstoday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/9155

Insomnia. (2016, October 15). Mayoclinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/symptoms-causes/syc-20355167

Longhurst, AS. (2023, January 11). What Are the Different Types of Insomnia?. Healthline. https://www.healthline.com/health/types-of-insomnia

กรมสุขภาพจิตพบคนไทย นอนไม่หลับ. (2560, 4 พฤษภาคม). Thaihealth. https://www.thaihealth.or.th/?p=256489

“อนุทิน” เปิดงาน “สื่อสาร กัญ อย่างเข้าใจ” ย้ำกัญชาเป็นประโยชน์และทางเลือกในการรักษาให้ประชาชน. (2565, 17 สิงหาคม). กรมประชาสัมพันธ์. .https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/wp-content/uploads/2022/08/PR_CH_170865.pdf

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า