ปากกาลดน้ำหนัก กับผลข้างเคียงที่ควรรู้ก่อนใช้!
การมีรูปร่างที่น่าพึงพอใจถือว่าเป็นเรื่องที่หลายคนปราถนา โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ต่างต้องการลดน้ำหนักเพื่อให้ได้รูปร่างที่ต้องการ ซึ่งในปัจจุบันมีตัวเลือกที่ช่วยในการลดน้ำหนักหลากหลายที่สามารถช่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญยังผ่านมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยหนึ่งในนั้นคือ “ปากกาลดน้ำหนัก”
อย่างที่ทราบกันว่าปากกาลดน้ำหนักสามารถช่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หลายคนก็กังวลถึงผลข้างเคียง ข้อดีข้อเสีย และยังรวมไปถึงความปลอดภัยของปากกาลดน้ำหนักกันอีกด้วย ฉะนั้นบทความนี้จึงได้รวบรวมทุกข้อสงสัยที่ตอบทุกคำถามของท่านไว้ในบทความนี้
SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์ที่ช่วยให้การหาหมอผิวหนังเฉพาะทางเป็นเรื่องง่าย ๆ เปลี่ยนการรอคิวที่คลินิก และโรงพยาบาลแบบเดิม ๆ ให้คุณสามารถพบแพทย์ผิวหนังได้ทุกที่ทุกเวลาที่คุณสะดวก พิเศษ! เฉพาะลูกค้า SkinX ที่เข้ามาปรึกษากับแพทย์ผิวหนังครั้งแรก สามารถรับคำปรึกษากับแพทย์ผิวหนังได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX ได้เลยที่ App Store และ Google Play
ปากกาลดน้ำหนัก มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง
ปากกาลดน้ำหนักเป็นตัวเลือกในการลดน้ำหนักที่มารูปแบบปากกา และบรรจุตัวยา คือ ลิรากลูไทด์ (Liraglutide) ซึ่งตัวยาจะมีความคล้ายคลึงกับฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) ที่อยู่ในร่างกายถึง 97% โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ที่สมองทำให้เกิดความอยากอาหารลดลง รู้สึกอิ่ม ช่วยปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดจากการกระตุ้นให้ตับหลั่งอินซูลิน นอกจากนั้นออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของกระเพาะ และลำไส้ เกิดการย่อยช้าลงด้วยนั่นเอง
ด้วยคุณสมบัติของตัวยาจึงทำให้ปากกาลดน้ำหนักอาจส่งผลข้างเคียงสำหรับผู้ใช้ปากกาลดน้ำหนักบางรายได้โดยผลข้างเคียงของปากกาลดน้ำหนักมีดังต่อไปนี้
- วิงเวียนศีรษะ
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องผูก
- ท้องเสีย
- ปวดท้อง แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
- พะอืดพะอมง่าย เมื่อรับประทานอาหารจำนวนมาก หรือรับประทานเร็ว
- อ่อนแรง หรือเหนื่อยง่าย
สำหรับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ปากกาลดน้ำหนักเป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น และไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ใช้ปากกาลดน้ำหนักทุกคน ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่ใช้ และช่วงที่มีการปรับปริมาณยา เมื่อร่างกายสามารถปรับตัวได้แล้วผลข้างเคียงดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
ปากกาลดน้ำหนัก อันตรายไหม?
การใช้ปากกาลดน้ำหนักเป็นตัวเลือกในการลดน้ำหนักที่ไม่อันตราย เพราะปากกาลดน้ำหนักเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักที่มีความปลอดภัย ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ช่วยลดความอยากอาหาร จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ดูแล และจ่ายยาโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งแพทย์ก็จะมีการประเมินความเหมาะสมของปริมาณยาที่ควรใช้ และยังมีการออกแบบการออกกำลังกาย การควบคุมการรับประทานอาหารสำหรับคนไข้แต่ละคน อย่างไรก็ตามไม่ควรซื้อปากกาลดน้ำหนักมาใช้เองโดยเด็ดขาด เพราะไม่ได้มาตรฐาน อวดอ้างสรรพคุณ และไม่ปลอดภัยอีกด้วย
จากที่ทราบกันว่าปากกาลดน้ำหนักเป็นตัวเลือกที่สามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย อย่างไรก็ตามก็มีข้อควรระวังในการใช้เช่นเดียวกัน ดังนี้
- ก่อนใช้ปากกาลดน้ำหนัก จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
- ควรศึกษา และทำความเข้าใจรายละเอียดก่อนใช้
- ไม่ควรใช้ปากกาลดน้ำหนักร่วมกับผู้อื่น
- ควรเก็บปากกาลดน้ำหนักให้พ้นมือเด็ก
- สำหรับการเก็บปากกาลดน้ำหนัก กรณีที่ใช้แล้วควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ส่วนที่ยังไม่ได้เปิดใช้ควรเก็บปากกาลดน้ำหนักไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส และห้ามเก็บในช่องฟรีซ
- เมื่อใช้ปากกาลดน้ำหนักควรดื่มน้ำในแต่ละวันให้มาก ๆ
- ปากกาลดน้ำหนักอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในช่วงแรกที่ใช้ แม้จะเป็นอาการชั่วคราว แต่หากสังเกตแล้วว่าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์
ปากกาลดน้ำหนักมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร
สำหรับผู้ที่สนใจต้องการลดน้ำหนัก และกำลังพิจารณาปากกาลดน้ำหนักเป็นหนึ่งในตัวเลือก วันนี้ SkinX ได้รวบรวมข้อดี และข้อเสียของปากกาลดน้ำหนัก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
ข้อดีของปากกาลดน้ำหนัก
- ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยให้ผู้ที่กำลังลดน้ำหนักสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่ให้รับประทานขนม หรือรับประทานจุกจิกในระหว่างวัน
- ปากกาลดน้ำหนักเป็นตัวเลือกในการลดน้ำหนักที่ปลอดภัย เพราะผ่านมาตราฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ข้อเสียของปากกาลดน้ำหนัก
- เนื่องจากวิธีการใช้ปากกาลดน้ำหนักจำเป็นต้องฉีดยาเข้าที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนังเป็นประจำทุกวัน จึงทำให้อาจมีรอยเข็มได้
- ต้องมีวินัยทั้งการควบคุมการรับประทานอาหาร และไม่ควรลืมฉีดยา โดยควรฉีดวันละ 1 ครั้งเป็นประประจำทุกวัน
- ปากกาลดน้ำหนักมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างใช้ได้ แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ใช้ทุกคน
ใครบ้างที่เหมาะ-ไม่เหมาะสำหรับการทำปากกาลดน้ำหนัก
แม้ว่าปากกาน้ำหนักจะสามารถช่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีทั้งผู้ที่เหมาะกับการใช้ และผู้ที่ไม่เหมาะกับการใช้ปากกาลดน้ำหนัก แล้วจะมีใครบ้างมาเช็กลิสต์กันก่อนตามข้อมูลต่อไปนี้เลย
ผู้ที่เหมาะกับการใช้ปากกาลดน้ำหนัก
โดยผู้ที่เหมาะกับการใช้ปากกาลดน้ำหนัก ได้แก่
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยมีค่า BMI เกิน 27 kg/m2
- ผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ของโรคอ้วน โดยมีค่า BMI เกิน 30 kg/m2
- ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักต้องการวิธีการในการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย
- ผู้ที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
- ผู้ที่ลองลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นแล้วได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ
ผู้ที่ไม่เหมาะกับการใช้ปากกาลดน้ำหนัก
โดยผู้ที่ไม่เหมาะกับการใช้ปากกาลดน้ำหนัก ได้แก่
- เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และผู้ที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
- ผู้ที่วางแผนจะมีบุตรในอนาคต และผู้ที่ไม่มั่นใจว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่
- ผู้ที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารน้อย ไม่รับประทานจุบจิบ
- ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งไทรอยด์ โรคไทรอยด์
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคเกี่ยวกับตับ ภาวะหัวใจล้มเหลว ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว โรคถุงน้ำดีอักเสบ โรคนิ่วในในถุงน้ำดี โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร โรคเกี่ยวกับลำไส้ เป็นต้น
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
สรุปปากกาลดน้ำหนัก โดย SkinX
แม้ปากกาลดน้ำหนักจะมีผลข้างเคียงในการใช้ก็ตาม แต่ผลข้างเคียงดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ใช้ปากกาลดน้ำหนัก และที่สำคัญยังเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรก็ตามการใช้ปากกาลดน้ำหนักไม่ควรหาซื้อเอง โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ เพราะนอกจากจะเกิดการโดนอวดอ้างสรรพคุณแล้ว ยังเสี่ยงเจอกับปากกาน้ำหนักที่ไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจปากกาลดน้ำเป็นตัวเลือกที่ช่วยให้การลดน้ำหนักของคุณ มีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปากกาลดน้ำหนัก ผลข้างเคียงที่คุณกังวล หรือต้องการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาข้อสงสัยต่าง ๆ ทางออนไลน์ดาวน์โหลด SkinX แอปพลิเคชันที่รวบรวมแพทย์ผิวหนัง และแพทย์เฉพาะทางจากโรงพยาบาล คลินิกชั้นนำในไทยมากมาย เพื่อพบแพทย์ และรับคำปรึกษาดีๆ จากแพทย์เชี่ยวชาญโดยตรงได้เลย
อ้างอิง
Medlineplus. (2023 October, 10). Liraglutide Injection. Medlineplus. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a611003.html
Webmd. (2023 October, 10). Liraglutide Pen Injector – Uses, Side Effects, and More. webmd. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-153566/liraglutide-subcutaneous/details