“นอนไม่หลับ” รักษาได้ด้วยกัญชาทางการแพทย์
หากคุณนอนไม่หลับหรือมีอาการง่วงแต่สมองไม่หยุดคิด แสดงว่าคุณอาจจะตกอยู่ในภาวะนอนไม่หลับ ที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพระยะยาวได้ ซึ่งภาวะนอนไม่หลับนี้ยังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เพียงแค่คุณมีความเครียดก็สามารถส่งผลต่อการนอนหลับได้
โดยภาวะนอนไม่หลับนั้น สามารถรักษาให้หายได้หลากหลายวิธี อย่างเช่นการรักษาการนอนไม่หลับด้วยกัญชาก็เป็นหนึ่งในทางเลือกใหม่ที่ช่วยจัดการกับปัญหานอนไม่หลับได้ ในบทความนี้ SkinX จะพาไปดูว่า การนอนไม่หลับรักษาด้วยกัญชาได้อย่างไร และการนอนไม่หลับเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง
SkinX เป็นแอปพลิเคชันที่จะช่วยให้การหาหมอผิวหนังเฉพาะทางเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องไปรอพบแพทย์ที่คลินิก หรือโรงพยาบาลแบบเดิม ๆ อีกต่อไป คุณสามารถปรึกษาแพทย์ผิวหนังได้ทุกเวลาที่ต้องการ อีกทั้งยังมีดีลสุดคุ้มอีกมากมาย ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX ได้เลยที่ App Store & Google Play
อาการนอนไม่หลับรักษาด้วย “กัญชา”
อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่า การนอนไม่หลับรักษาด้วยกัญชาได้ เป็นเพราะในกัญชามีฤทธิ์ระงับประสาทที่สำคัญอย่างสาร Tetrahydrocannabinol (THC) ที่มีแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) ในกัญชา มีคุณสมบัติในเรื่องการแพทย์และการดูแลรักษาร่างกาย หากมีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยในเรื่องการนอนหลับให้ดีขึ้น
โดยร่างกายของเราก็มีสารแคนนาบินอยด์เหมือนกัน เรียกว่า “เอนโดแคนนาบินอยด์” (Endocannabinoids) สารนี้จะทำหน้าที่ควบคุมกลไกต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงควบคุมการนอนหลับของเราให้เป็นปกติ
หากสารชนิดนี้ถูกสร้างออกมาภายในร่างกายไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบกลไกการทำงานของร่างกาย เรื่องความอยากอาหาร หรือเรื่องการนอนหลับ เป็นต้น ซึ่งสารไฟโตแคนนาบินอยด์ (Phytocannabonoids) ที่พบได้มากในกัญชาก็เป็นส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาการนอนหลับให้ดีขึ้นได้เช่นกัน
ดังนั้น กัญชาจึงแก้ไขปัญหานอนไม่หลับและทำให้ประสิทธิภาพในการนอนหลับของเราดีขึ้นได้ แต่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว
สาเหตุของการนอนไม่หลับ
การนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่กำลังพบเจอ ซึ่งสาเหตุของโรคนี้อาจจะมาจากหลายปัจจัยรอบตัว ทั้งนี้เราสามารถแบ่งปัจจัยหลักที่ทำให้นอนไม่หลับได้ 4 สาเหตุ ดังนี้
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่สำคัญที่หลายคนมองข้าม เช่น การนอนหลับในสถานที่ไม่อำนวย, ห้องนอนมีอุณหภูมิไม่เหมาะสมต่อการนอนหลับ, ห้องนอนมีแสงไฟ และเสียงรอบข้างรบกวนการนอนหลับ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เราไม่สามารถนอนหลับได้อย่างปกติ แต่เป็นปัจจัยที่เราสามารถแก้ไขปัญหาเองได้ในเบื้องต้น
- ปัจจัยด้านพฤติกรรม เป็นปัจจัยภายนอกของตัวเรา ที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับโดยไม่รู้ตัว เช่น การนอนหลับไม่เป็นเวลา, การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ต่างทำให้เกิดอาการหลับไม่สนิทหรืออาการนอนไม่หลับได้ หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต
- ปัจจัยด้านสุขภาพร่างกาย เป็นปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้กับหลายคนที่มีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นการมีความผิดปกติของระบบหายใจ, การมีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์, การมีภาวะทางระบบประสาท หรือโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ ก็อาจจะส่งผลต่อการนอนไม่หลับได้ในระยะยาว
- ปัจจัยด้านสุขภาพจิต เป็นปัจจัยที่หลายคนอาจคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ แต่แท้จริงแล้วปัจจัยด้านสุขภาพจิตส่งผลต่อการนอนไม่หลับเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีความเครียดสะสม, ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า, ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์, ผู้ที่เป็นโรคตื่นตระหนก หรือผู้ที่โรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ เป็นต้น ปัจจัยด้านสุขภาพจิตเหล่านี้ ต่างเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการนอนไม่หลับได้เช่นกัน
“สำหรับใครที่มีปัญหาสุขภาพจิตกวนใจจนส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และต้องการหาทางออกให้กับสิ่งที่เกิดขึ้น คุณสามารถติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ในการปลดปล่อยความเครียดนี้ให้หมดไปกับนักจิตบำบัดเฉพาะทาง เพื่อให้คุณได้แก้ไขต้นตอปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด”
ปัญหาจากการนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและพบได้ทุกคน ซึ่งในปี 2565 คนไทยประสบปัญหานอนไม่หลับถึง 19 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด หากประเทศไทยพัฒนากัญชาทางการแพทย์มาทดแทนยาประเภทอื่นได้ จะทำให้กัญชา คือ ทางเลือกในการรักษาการนอนไม่หลับ โรคอัลไซเมอร์ หรือปัญหาสุขภาพร่างกายอื่น ๆ ได้อีกด้วย
เรามาดูกันว่า อาการนอนไม่หลับจะส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายของเราบ้าง?
- ส่งผลให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
- ส่งผลให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการจดจำลดลง
- ส่งผลให้ร่างกายมีการตอบสนองช้า
- ส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะตลอดเวลา
- ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
- ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้และท้องเสีย
- ส่งผลให้มีภูมิคุ้มกันต่ำลง
- เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน
- เสี่ยงต่อภาวะทางอารมณ์และจิตใจ สำหรับผู้ที่เคยมีอาการเครียดง่าย, มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์,มีอาการซึมเศร้า และโรควิตกกังวล
- เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังในระยะยาว ได้แก่
- โรคน้ำหนักเกิน เกิดจากการพักผ่อนน้อย ทำให้อาหารที่มีพลังงานสูงในร่างกายไม่ได้รับการเผาผลาญอย่างเต็มที่ ส่งผลให้มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคเบาหวานได้
- โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง การพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ มีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด รวมถึงน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลสูงขึ้น ทำให้หลอดเรื่อยทั่วร่างกายเสียหาย เพิ่มความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่าง ๆ
- โรคสมองเสื่อม ในขณะนอนหลับ สมองจะทำการกำจัดโปรตีนผิดปกติ สารพิษและของเสียต่าง ๆ ในสมอง การพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้มีการสะสมของโปรตีนเบต้า-อะไมลอยด์เพิ่มมากขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้
วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ
หลังจากที่ทราบกันแล้วว่า การนอนไม่หลับเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากเรานอนไม่หลับมีอะไรบ้าง เรามาดูกันต่อที่การรักษาอาการนอนไม่หลับว่าจะมีวิธีไหนบ้าง
เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการนอนหลับ
สภาพแวดล้อมในห้องนอนเป็นสิ่งสำคัญต่อการนอนหลับ ดังนั้นการได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการรักษาการนอนไม่หลับได้ โดยมีวิธีดังนี้
- สวมผ้าปิดตาในขณะนอนหลับหากมีแสงรบกวน
- สวมที่อุดหูหากมีเสียงภายนอกรบกวน
- ใช้ผ้าม่านที่สามารถบังแสงไฟที่ไม่ต้องการ
- ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้เหมาะสม
- ใช้เครื่องนอนที่เหมาะสมกับสรีระของร่างกาย
- ใช้เตียงในการนอนหลับพักผ่อนเท่านั้น
ปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต
การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเป็นอีกหนึ่งวิธีที่รักษาการนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี โดยมีวิธีดังนี้
- รีบเข้านอนเมื่อรู้สึกเหนื่อย
- กำหนดช่วงเวลานอนให้แต่ละวัน
- หากิจกรรมที่ช่วยในการผ่อนคลายก่อนเข้านอน
- เลี่ยงการงีบหลับในระหว่างวัน
- เลี่ยงการนอนบนเตียงหากยังไม่รู้สึกง่วง
- เลี่ยงการออกกำลังกายในช่วง 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
- เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหลังเที่ยง
- เลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอน
- เลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอน
ใช้น้ำมันสกัดจากกัญชา
การใช้น้ำมันสกัดจากกัญชาเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยรักษาการนอนไม่หลับได้ เพราะ CBD Oil คือ น้ำมันที่มีสาร Cannabidiol (CBD) มีส่วนช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอน และช่วยลดโอกาสที่จะหลับไม่สนิทในตอนกลางคืน อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยให้หลับได้นานขึ้น ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับสามารถใช้น้ำมันกัญชาเพื่อให้เรานอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้นได้อีกด้วย
หากใครสนใจข้อมูลเกี่ยวกับกัญชา สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยที่ : ประโยชน์ของกัญชา
เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์
ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับสามารถเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ได้ตามสะดวก ซึ่งแพทย์จะประเมินอาการและซักประวัติเบื้องต้น เพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ หากสาเหตุเกิดจากปัจจัยภายนอกหรือพฤติกรรมของตัวเราเอง แพทย์อาจจะให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่กับการให้ยานอนหลับในการรักษา ซึ่งแพทย์จะไม่ได้ใช้กัญชาในรักษาการนอนไม่หลับเป็นหลัก แต่จะใช้เป็นการแพทย์ทางเลือกสำหรับการรักษาเท่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและการวินิจฉัยอาการของแพทย์ว่าจะมีแนวทางการรักษาอย่างไร
คำถามที่พบบ่อย
ตอบคำถาม และข้อสงสัยที่พบบ่อยเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ
รักษาอาการนอนไม่หลับด้วยกัญชามีผลข้างเคียงหรือไม่?
การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยกัญชาอาจจะมีผลข้างเคียงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท การใช้กัญชารักษาการนอนไม่หลับควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้กัญชาในปริมาณมากจนเกินไปอาจส่งผลข้างเคียงแทนผลลัพธ์ที่ดีได้ ดังนั้น ในการรักษาอาการนอนไม่หลับโดยใช้กัญชาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นหลัก
ต้องมีอาการนอนไม่หลับแบบไหน ถึงควรพบแพทย์?
หากคุณมีอาการนอนไม่หลับมากกว่า 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลานาน 3 เดือน หรืออาการนอนไม่หลับนี้เริ่มส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และได้รับการรักษาที่ตรงจุด
สามารถหาซื้อกัญชาเพื่ออาการนอนไม่หลับเองได้หรือไม่?
การซื้อกัญชาเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยตัวเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เพราะเราไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการนอนไม่หลับ คุณภาพของกัญชา และปริมาณของกัญชาที่ควรใช้ในรักษา ดังนั้น เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้การรักษาที่ถูกวิธี
สรุป
อาการนอนไม่หลับสามารถรักษาด้วยกัญชา หากใครกำลังเผชิญกับภาวะนอนหลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นกลางดึก หรือง่วงแต่นอนไม่หลับ คุณอาจจะกำลังตกอยู่ในภาวะนอนไม่หลับก็เป็นได้ ซึ่งในการรักษาอาการนอนไม่หลับสามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุในการนอนไม่หลับของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางสภาพแวดล้อม, ปัจจัยทางพฤติกรรม, ปัจจัยทางร่างกาย หรือปัจจัยทางสุขภาพจิต ดังนั้น การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยวิธีต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับความดูแลของแพทย์ เพื่อการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด
สำหรับใครที่อยากปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ที่ได้รับประกาศนียบัตรเป็นผู้ผ่านหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์ หรือกำลังมีปัญหากังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพ สามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ที่แอป SkinX ในทุกเวลาที่คุณสะดวก พร้อมรับดีลสุดคุ้มมากมาย โหลดเลยวันนี้
References
Crosta, P. (2023, January 9). What is insomnia? Everything you need to know. Medicalnewstoday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/9155
Drugs to Treat Insomnia. (2023, 6 June). WebMD. https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-medications
Pacheco, D. (2023, December 20). Using Cannabis As A Sleep Aid. Sleepfoundation. https://www.sleepfoundation.org/sleep-aids/cannabis-and-sleep
กรมสุขภาพจิตพบคนไทย นอนไม่หลับ. (2560, 4 พฤษภาคม). Thaihealth. https://www.thaihealth.or.th/?p=256489
“อนุทิน” เปิดงาน “สื่อสาร กัญ อย่างเข้าใจ” ย้ำกัญชาเป็นประโยชน์และทางเลือกในการรักษาให้ประชาชน. (2565, 17 สิงหาคม). กรมประชาสัมพันธ์. .https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/wp-content/uploads/2022/08/PR_CH_170865.pdf