SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

18 มิถุนายน 2567

น้ำมันกัญชา กับหลากสรรพคุณทางการแพทย์ที่ช่วยรักษาโรค

น้ำมันกัญชา สรรพคุณ

กัญชา คือ พืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสารสกัดสำคัญอย่าง CBD และ THC ซึ่งถูกนำใช้อย่างแพร่หลายในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งจากตัวใบ ต้น ดอก กลิ่น หรือแม้แต่น้ำมันกัญชาเองก็มีสรรพคุณสำหรับนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นแคปซูล สเปรย์ เครื่องดื่ม รวมถึงอาหารที่ใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในอาหารบางชนิด ถือเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีคุณประโยชน์หลากหลายด้านเลยทีเดียว

 

แล้วรู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันน้ำมันกัญชามีสรรพคุณทางการแพทย์ที่มีคุณประโยชน์หลากหลาย ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับน้ำมันกัญชาว่ามีสรรพคุณอะไรบ้าง? นำไปใช้งานได้อย่างไร? มีข้อดี-ข้อเสียอะไรที่ควรระวัง? นอนไม่หลับ กัญชาช่วยได้ไหม? รวมถึงข้อสรุปที่น่าสนใจ เพื่อให้คุณทราบประโยชน์จากน้ำมันกัญชาได้อย่างครบถ้วนมากที่สุด 

 

SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางออนไลน์ ที่ให้คำปรึกษาปัญหาผิว และเสริมความงามที่ปลอดภัย โดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนังจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำ ให้คุณพบแพทย์ได้ง่าย ๆ อย่างสะดวก พร้อมบริการจัดยาตามแพทย์สั่งส่งถึงบ้าน 

สารบัญบทความ

น้ํามันกัญชา มีสรรพคุณทางการแพทย์อย่างไรบ้าง

น้ำมันกัญชามีสรรพคุณทางการแพทย์ซึ่งถูกนำมาใช้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยบางรายเพื่อรักษาอาการ และโรคบางชนิดได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยง และหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงแก่ผู้ใช้นั่นเอง โดยสรรพคุณของน้ำมันกัญชา มีดังนี้

  • บรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรัง

จากกรมการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่าสารสกัดในกัญชามีส่วนผสมที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านอาการปวดของร่างกายอย่างสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) ทั้งอาการปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อและภาวะปวดประสาท ถือเป็นหนึ่งในประโยชน์ของกัญชาที่ทางการแพทย์นิยมนำมาใช้ในการรักษา

  • บำบัดอาการซึมเศร้า ลดความวิตกกังวล 

เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการวิตกกังวลมากกว่าปกติ ไปจนถึงอาการซึมเศร้า โดยสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) ที่อยู่ในกัญชานี่เองจะช่วยปรับสภาวะทางอารมณ์ ลดอาการทางจิต และพฤติกรรมเสี่ยงก่อความรุนแรงของผู้ป่วย ตลอดจนเพิ่มความผ่อนคลายให้นอนหลับดีอีกด้วย 

  • รักษาและบรรเทาอาการของโรค

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สามารถใช้สารสกัดในกัญชาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาอาการหรือโรคบางชนิด ตลอดจนประคับประคองอาการของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ได้แก่

  • รักษาโรคลมชักที่ดื้อต่อกการรักษา
  • รักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
  • รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน และลดผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด
  • ช่วยเพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยโรคมะเร็งและภูมิคุ้มกันบกพร่อง

น้ำมันกัญชาคืออะไร?

น้ำมันกัญชาเป็นสารสกัดธรรมชาติที่มาจากต้นกัญชา หรือที่เราเรียกกันว่า แคนนาบินอยด์ ซึ่งสารสกัดจากกัญชาในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้ทางการแพทย์มีอยู่ 2 ชนิดนั่นคือ THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol) ส่วนใหญ่แล้วในกัญชาจะพบสาร THC มากกว่า โดยที่ THC มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psychoactive) จึงถูกจัดเป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 แต่ CBD นั้นกลับไม่ถูกจัดเป็นสารเสพติดเนื่องจากไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทนั่นเอง

 

นอกเหนือจากใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์แล้ว สารสกัดจากกัญชาก็สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทางการแพทย์ รวมถึงจะต้องมีขั้นตอนการรักษา และวิธีใช้สารสกัดจากกัญชาที่อยู่ภายใต้การดูของแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิด 

น้ำมันกัญชานำไปใช้งานอย่างไรได้บ้าง?

ปัจจุบันน้ำมันกัญชาสามารถนำไปใช้ได้สารพัดวิธี ที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย และวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การรักษาของแพทย์เฉพาะทางเพื่อความปลอดภัย เรามาดูกันว่าจะนำน้ำมันกัญชามาใช้งานอย่างไรได้บ้าง?

น้ำมันกัญชา แคปซูล สรรพคุณ

น้ำมันกัญชา สำหรับหยด

การใช้น้ำมันกัญชาสำหรับหยดใต้ลิ้น (Sublingual Drop) ถือเป็นวิธีการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และเห็นผลลัพธ์ชัดเจน เพราะตัวยาจะดูดซึมน้ำมันเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วกว่าแบบแคปซูล นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดความเข้มข้นของตัวยาได้อีกด้วย น้ำมันกัญชาแบบหยดมีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับได้ดี 

 

น้ำมันกัญชา สำหรับนวด 

น้ำมันกัญชามีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายได้ หนึ่งในวิธีการรักษาคือ การใช้น้ำมันกัญชานวดตามบริเวณที่ปวดเพื่อให้กล้ามเนื้อขยายตัว และลดอาการเมื่อยล้า เช่น ข้อเข่า ข้อแขน และแผ่นหลัง เป็นต้น นอกจากนี้ การนวดด้วยน้ำมันกัญชายังช่วยเพิ่มความผ่อนคลายต่อความเหนื่อยล้าได้เช่นกัน

 

น้ำมันกัญชา สำหรับทาหรือแต้ม

น้ำมันกัญชามีสรรพคุณช่วยรักษาโรคทางผิวหนังบางชนิดได้ และลดการอักเสบของผิวหนังเฉพาะจุดอย่างการรักษาสิว โดยมีผลสำรวจได้ระบุไว้ว่า สารสกัดภายในกัญชามีส่วนช่วยลดการติดเชื้อจากสิ่งสกปรกอย่างแบคทีเรียหรือเชื้อรา รวมถึงขจัดมลพิษที่อยู่บนผิวหนัง ทำให้ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าบางประเภทมีน้ำมันกัญชาในปริมาณเล็กน้อยเป็นหนึ่งในส่วนผสมด้วยเช่นกัน 

น้ำมันกัญชาอันตรายต่อร่างกายไหม?

การใช้น้ำมันกัญชาในปริมาณที่เหมาะสมกับอาการรักษาแต่ละประเภท และอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์เฉพาะทางย่อมปลอดภัยกว่าการใช้งานด้วยตนเอง โดยทั่วไปแล้วสารสกัดในน้ำมันกัญชาที่ปลอดภัยต่อการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol หรือ THC) และสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol หรือ CBD) 

 

ซึ่งการผลิตน้ำมันกัญชาเพื่อนำออกมาใช้งานสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายเองก็ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้ อันตรายของน้ำมันกัญชาอาจขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย เนื่องจากแต่ละบุคคลมีปฏิกิริยาต่อน้ำมันกัญชาที่แตกต่างกัน จึงมีการแนะนำให้รักษาโรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมน้ำมันกัญชา

ข้อดีและข้อเสียของการใช้น้ำมันกัญชา

ไม่น่าเชื่อว่าน้ำมันกัญชาจะมีหลากสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์มากมายขนาดนี้ แต่รู้หรือไม่ว่าหากไม่ได้เรียนรู้วิธีใช้อย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ หรือใช้น้ำมันกัญชาในปริมาณที่มากเกินไปสำหรับร่างกาย ก็อาจก่อให้เกิดผลเสีย รวมถึงอาการข้างเคียงอื่น ๆ เพิ่มเติมได้เช่นกัน ข้อดี และข้อเสียของน้ำมันกัญชามีอะไรบ้าง เรามาเรียนรู้กันที่ด้านล่างนี้ได้เลย

 

ข้อดีของน้ำมันกัญชา 

น้ำมันกัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์ที่ช่วยรักษาอาการที่เกี่ยวข้องทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ โดยมีการเลือกใช้สารสกัดในกัญชาแต่ละชนิดที่พิจารณาตามระดับความเข้มข้น และคุณสมบัติให้เหมาะสมกับอาการที่จะรักษาแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็นน้ำมันกัญชาชนิด CBD มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคลมชักที่รักษายาก สำหรับน้ำมันกัญชาชนิด THC มีสรรพคุณช่วยรักษาผู้มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดกับผู้มีภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วยเอดส์ (Aids) อีกทั้งยังมีใช้สารสกัดทั้ง 2 ชนิดในอัตราส่วนเท่ากันเพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งกับภาวะปวดประสาทเช่นกัน

 

ข้อเสียของน้ำมันกัญชา

น้ํามันกัญชามีสรรพคุณมากมายแต่อาจให้โทษได้เช่นกัน หากใช้ปริมาณที่มากเกินความเหมาะสม เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการท้องร่วง, ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย, น้ำหนักเปลี่ยนแปลง, วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น หากเป็นผู้ป่วยมีอาการทางด้านหัวใจร่วมด้วยก็อาจส่งผลให้อัตราการเต้นหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขเองก็ได้ระบุถึงการใช้สารสกัดชนิด THC ที่มีปริมาณสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เกิดอาการดื้อยาทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสพติดได้ด้วย 

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับน้ำมันกัญชามีสรรพคุณอย่างไร?

น้ำมันกัญชามีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็งได้จริงไหม? 

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการ รวมถึงเอกสารทางวิจัยที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าน้ำมันกัญชามีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ เนื่องจากงานวิจัยส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบคุณสมบัติของสารสกัดพืชชนิดนี้ต่อการรักษาโรคมะเร็งยังอยู่ในกระบวนการทดลอง และปัจจุบันมีการใช้น้ำมันกัญชาเพียงช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคมะเร็งเท่านั้น (มีงานวิจัยในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดจากกัญชามีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้ แต่หลักฐานทางวิชาการในมนุษย์มีจำกัด)

 

ผู้ป่วยมะเร็งสามารถใช้น้ำมันกัญชาได้ไหม? 

น้ำมันกัญชาสามารถใช้กับผู้ป่วยมะเร็งได้ โดยทางการแพทย์น้ำมันกัญชามีสรรพคุณสำหรับใช้บรรเทาอาการที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการรักษามะเร็งทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการใช้รังสีรักษา การผ่าตัด และยาเคมีบำบัด รวมถึงบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นหลังการรักษาอย่างการลดความวิตกกังวล การนอนหลับที่ดีขึ้น และอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ให้ผลลัพธ์ดีแก่ผู้รักษามะเร็งในปัจจุบัน

 

การใช้น้ำมันกัญชาเป็นจำนวนมากมีผลข้างเคียงอะไร?

สำหรับผลข้างเคียงทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ, คลื่นไส้อาเจียน, อาการง่วงซึม หรือความดันโลหิตผิดปกติ แต่หากใช้น้ำมันกัญชาในปริมาณที่มากเกินความเหมาะสม และความต้องการของร่างกายตามที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ อาจส่งผลข้างเคียงรุนแรงอย่างภาวะการเสพติดได้ ซึ่งทำให้นำไปสู่ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ป่วยเสพติดต่อไป ดังนั้นควรรีบปรึกษากับแพทย์หากมีอาการข้างเคียงเป็นเวลานาน

 

ทั้งนี้ อาการข้างเคียงโดยเฉพาะผู้ใช้น้ำมันกัญชาปริมาณมากเกินไปในระยะยาวที่ควรต้องระวัง นอกเหนือจากภาวะเสพติดแล้วยังมีผลข้างเคียงอื่น ๆ อีกมากอย่างการเพิ่มความเสี่ยงของโรคทางจิต เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคทางจิตเภท ซึ่งอาจทำให้การทำงานของสมองโดยเฉพาะด้านความจำและการเรียนรู้ลดลงได้ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

ใครบ้างไม่ควรเสี่ยงใช้น้ำมันกัญชา? 

สำหรับผู้ที่มีประวัติแพ้กัญชา หรือสารสกัดอื่น ๆ ในกัญชา มีประวัติหรือความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันกัญชาเด็ดขาด เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ไม่ควรใช้น้ำมันกัญชากับสตรีมีครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตรตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2565 เนื่องจากมีผลต่อทารกที่เกิดมา และน้ำนมของแม่อาจพบการปนเปื้อนของสาร Cannabidiol ได้

สิ่งที่ต้องระวังมาก ๆ คือ การใช้กัญชาในเด็กและวัยรุ่น รวมถึงคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคทางจิต การใช้สารสกัดจากกัญชาในเด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะ THC สามารถส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท อาจทำให้เด็กมีปัญหาในการเรียนรู้และพัฒนาการ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตอื่น ๆ รวมถึงอาจนำไปสู่ปัญหาการเสพติดสารชนิดอื่นได้

 

น้ำมันกัญชาที่ใช้ทางการแพทย์หาซื้อใช้เองได้ไหม?

การหาซื้อน้ำมันกัญชาเพื่อหวังผลจากสรรพคุณบรรเทาอาการรักษาด้วยตัวเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์นั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และเกิดผลข้างเคียงตามมาได้ เพราะไม่อาจทราบถึงรายละเอียดที่ชัดเจนในการใช้งานทั้งปริมาณความเข้มข้น คุณภาพของตัวยา รวมถึงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการใช้ยาเกินขนาดจึงไม่ควรหาซื้อใช้เอง แต่ควรวางแผนการรักษาจากแพทย์เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้ใช้มากที่สุด 

ข้อสรุปเกี่ยวกับน้ำมันกัญชามีสรรพคุณอย่างไร?

จากบทความด้านบนที่กล่าวไป เราจะเห็นได้ว่าน้ำมันกัญชามีสรรพคุณมากมายที่สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การบรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ ที่ช่วยบำบัดอาการซึมเศร้า โดยการลดความวิตกกังวล การเพิ่มความผ่อนคลายแก่ผู้ป่วย การรักษาอาการทางผิวหนัง ตลอดจนการรักษาโรคอื่น ๆ ที่มาตรฐานทางการแพทย์ทั่วไปรักษาได้ยากอย่างโรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษา หรืออาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

 

ทั้งนี้ การใช้น้ำมันกัญชาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้มีประสบการณ์ รวมถึงถูกใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายถึงจะปลอดภัย และรักษาอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงไม่ควรหาซื้อน้ำมันกัญชามาใช้ด้วยตนเอง มิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง รวมถึงการเสพติดได้

 

สำหรับใครที่สนใจใช้น้ำมันกัญชาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาอาการผิวหนังอักเสบ และต้องการคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรเป็นผู้ผ่านหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์ พร้อมให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับคุณ สามารถทำการนัดหมายผ่านแอปพลิเคชัน SkinX ดาวน์โหลดแล้วรอรับโปรโมชันดี ๆ ก่อนใครได้เลยวันนี้ที่ App store & Play store

References 

 

การใช้กัญชาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนไม่หลับ. (2562). สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย. https://sst.or.th/sleep/แถลงการณ์จุดยืน-การใช้ก/

คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์. (มกราคม 2564). กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 4: 3-12. https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/wp-content/uploads/2021/04/Guidance-Updated-v-update-V.4260464.pdf

ย้ำ “กัญชา” ทางการแพทย์ ต้องใช้ให้ถูกโดส เหตุมีผลข้างเคียง รอความเห็นผู้เชี่ยวชาญใช้รักษาสุขภาพจิต. (2 สิงหาคม 2561). กรมสุขภาพจิต. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28101 

Andre, CM. Hausman, JF. & Guerriero, G. (2016). Cannabis sativa: The Plant of the Thousand and One Molecules. Frontiers in plant science, 7:19. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4740396/ 

Johnson, J. (2019, March 13). CBD for acne: Does it work?. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/324689

Johnson, J. (2020, November 4). Does CBD oil work for chronic pain management?. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/319475#effects 

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า