SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

15 กรกฎาคม 2567

ประโยชน์ของกัญชาคืออะไร มีอะไรบ้างที่เราควรรู้ก่อนใช้?

กัญชาคืออะไร

กัญชา คือ พืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณหลากหลาย ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ทั้งด้านนันทนาการรวมถึงด้านงานวิจัยต่าง ๆ ทางการแพทย์ นอกจากนี้ในปัจจุบันก็มีการนำกัญชาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน อาทิ แคปซูล น้ำมันสกัด รวมไปถึงสเปรย์ต่าง ๆ ที่มีให้เลือกตามความสนใจของผู้บริโภค

 

หนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบันก็คือ “ประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์” ซึ่งจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ามีอยู่หลายด้านด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น การใช้กัญชาลดอาการวิตกกังวล ยับยั้งอาการเจ็บปวดจากโรคต่าง ๆ หรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า เป็นต้น

 

ทั้งนี้การใช้กัญชาทางการแพทย์ก็ยังมีควรข้อระวัง เพราะหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปก็สามารถกลายเป็นสารเสพติดที่ให้โทษต่อร่างกายได้เช่นกัน ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้การใช้กัญชาทางการแพทย์ต้องได้รับคำแนะนำและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อยู่เสมอ 

 

สำหรับใครที่สงสัยว่าสารในกัญชาที่ใช้ทางการแพทย์คืออะไรบ้าง รวมถึงอยากทราบว่าประโยชน์และโทษของกัญชาคืออะไร บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้และสรุปต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาให้คุณแล้ว

สารบัญบทความ

กัญชา คืออะไร?

กัญชา คือ พืชล้มลุกจำพวกหญ้าชนิดหนึ่ง ความสูงประมาณ 2-4 ฟุต มีลักษณะใบเป็นแฉก 5-8 แฉกในก้านเดียวกันคล้ายใบสำปะหลัง ดอกมีสองเพศ และอยู่ต่างต้นกัน แต่ละส่วนของต้นกัญชาก็มีสรรพคุณรวมถึงประโยชน์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป อาทิ ด้านการแพทย์ ด้านงานวิจัย และด้านงานนันทนาการต่าง ๆ  ทำให้กัญชาเป็นหนึ่งในพืชที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณ 


สารสกัดในกัญชามีด้วยกันหลายชนิด แต่สารสกัดที่นำมาใช้ทางการแพทย์และเป็นที่รู้จักได้แก่ “THC” (Tetrahydrocannabinol) และ “CBD”  (Cannabidiol) ซึ่งโดยปกติแล้วในกัญชาจะพบสาร THC มากกว่าสาร CBD อย่างไรก็ตามกัญชาแต่ละสายพันธุ์ก็มีสารทั้งสองชนิดนี้ในปริมาณมากน้อยต่างกันไป ดังนั้น เราจึงต้องระมัดระวังก่อนนำมาบริโภค รวมถึงควรใช้กัญชาในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายของเราทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนั่นเอง

กัญชาทางการแพทย์หมายถึงอะไร?

กัญชาทางการแพทย์

“กัญชาทางแพทย์” หมายถึง การนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์ ทั้งนี้การใช้กัญชาทางการแพทย์ได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทยหลังจากที่พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562) ได้อนุญาตให้นำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์รวมถึงด้านงานวิจัยต่าง ๆ เนื่องมาจากค้นพบว่าสารประกอบ CBD (Cannabidiol) ที่อยู่ในกัญชาสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคได้ 

 

อย่างไรก็ตามแม้จะได้รับอนุญาตแล้ว แต่ก็ควรระมัดระวังการใช้กัญชา และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะหากบริโภคกัญชามากเกินไปก็สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพ รวมไปถึงก่อให้เกิดผลเสียระยะยาวแก่ร่างกายผู้บริโภคได้

สารในกัญชาประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

ในกัญชาประกอบไปด้วยสารหลายชนิด โดยสารที่มีความสำคัญอีกทั้งยังนิยมนำมาใช้ทางการแพทย์คือสารที่มีชื่อว่า THC และ CBD นั่นเอง

 

หากคุณกำลังสงสัยว่า THC และ CBD คืออะไร และมีสรรพคุณรวมถึงรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? สามารถมาหาคำตอบด้วยกันได้ในหัวข้อนี้ได้เลย

THC (Tetrahydrocannabinol)

THC หรือ Tetrahydrocannabinol เป็นสารที่ออกฤทธิ์ทางจิตจำพวกหนึ่ง มีสรรพคุณช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เพิ่มความอยากอาหาร และลดอาการตึงเครียดได้ 

 

อย่างไรก็ตามหากร่างกายของเราได้รับสาร THC มากไปก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย เพราะจะทำให้เกิดภาวะ ‘ดื้อสาร’ (Tolerance) ซึ่งสามารถกลายเป็นอาการติดยาได้ในภายหลัง เราจึงควรใช้สารชนิดนี้ในปริมาณที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์

CBD (Cannabidiol)

CBD หรือ Cannabidiol เป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์ทางจิต อย่างไรก็ตามยังมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท จึงไม่จัดเป็นสารเสพติด มีสรรพคุณช่วยในเรื่องการลดความวิตกกังวลและอาการปวดต่าง ๆ โดยปกติแล้วมักนิยมสกัดสาร CBD ออกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่น เครื่องสำอาง ยา หรืออาหารต่าง ๆ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ “น้ำมันกัญชา” หรือที่เรียกว่า CBD Oil นั่นเอง

น้ำมันกัญชา (CBD Oil) อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับกัญชาทางการแพทย์

น้ำมันกัญชา

“น้ำมันกัญชา” หรือ CBD Oil คือ สารสกัดที่ได้จากต้นกัญชาและใช้น้ำมันเป็นตัวทำละลาย มักอยู่ในรูปแบบของ ‘น้ำมันสำหรับหยดใต้ลิ้น’ (Sublingual Drop) เพราะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับแบบแคปซูล นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเจือจางความเข้มข้นของสารสกัดได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ ทั้งนี้ปัจจุบันการใช้น้ำมันกัญชาในไทยจำเป็นที่จะต้องได้รับคำแนะนำรวมถึงการสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น บุคคลทั่วไปไม่ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้เองได้

 

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ของน้ำมันกัญชาที่น่าสนใจอยู่หลายด้านด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ลดอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาท

ข้อมูลได้ระบุว่า น้ำมันกัญชามีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabinoids) ซึ่งเป็นสารที่สามารถปรับระดับการสื่อประสาทในสมอง จึงมีสรรพคุณในการช่วยลดอาการเกร็งในผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis หรือ MS) ได้

2. บรรเทาอาการวิตกกังวลและตึงเครียด

แพทย์ได้ระบุว่าสาร CBD (Cannabinoids) มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการวิตกกังวลและตึงเครียด จึงทำให้สารที่ถูกสกัดออกมาในน้ำมันกัญชามีสรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย และนำมาใช้ในการลดความกังวล รวมถึงภาวะตึงเครียดในผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นโรควิตกกังวล หรือมีสภาวะเครียดผิดปกติหลังเผชิญกับเหตุการณ์ที่สะเทือนจิตใจที่เรียกว่า PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) เป็นต้น

3. ใช้กระตุ้นความอยากอาหารของผู้ที่มีภาวะเบื่ออาหาร

เนื่องจากสาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ในน้ำมันกัญชามีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นความอยากอาหารในร่างกาย จึงมีการพิจารณานำมาใช้เป็นตัวกระตุ้นในผู้ป่วยหรือผู้ที่มีภาวะเบื่ออาหาร เพื่อให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น

4. ใช้ลดปัญหาอาการผิวแห้งและอาการระคายเคือง

สารสกัดในน้ำมันกัญชาสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวผู้ใช้งาน ทำให้ช่วยลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอาการกลากและโรคสะเก็ดเงินได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการคันที่เกิดจากภาวะผิวแห้งได้อีกด้วย

5. ใช้ช่วยพยุงอาการป่วยของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS)

ในปัจจุบันโรค ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis) ถือเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามข้อมูลทางการแพทย์ได้ระบุเอาไว้ว่า การใช้น้ำมันกัญชาสามารถช่วยบรรเทาอาการ รวมถึงช่วยพยุงอาการของผู้ป่วยโรคนี้ให้ดีขึ้นได้ ทำให้น้ำมันกัญชาถือเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกที่สามารถนำมาใช้รักษาอาการของโรคดังกล่าวได้

 

ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงในการใช้น้ำมันกัญชา เราจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และใช้ตามคำแนะนำหรือการสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

5 ประโยชน์ของกัญชาที่น่าสนใจ

ประโยชน์ของกัญชา

นอกเหนือจากสรรพคุณและประโยชน์ของน้ำมันกัญชาในหัวข้อก่อนหน้านี้ ข้อมูลโดยแพทย์ก็ได้นำเสนอสรรพคุณรวมไปถึงประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์ในด้านอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ลดอาการปวดจากโรคต่าง ๆ

สาร CBD (Cannabinoids) ในกัญชามีประโยชน์รวมถึงสรรพคุณช่วยลดอาการปวดและอาการอักเสบ ทำให้มีการนำไปใช้ในการบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ในผู้ป่วยโดยแพทย์ เช่น ผู้ป่วยจากอาการปวดข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นต้น

2. บรรเทาอาการจากโรคติดสุรา (alcohol dependence)

แพทย์ได้ค้นพบว่าการใช้กัญชาสามารถช่วยบรรเทาอาการจาก “โรคติดสุรา” (alcohol dependence) และทำให้ผู้ป่วยสุขภาพแข็งแรงขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีการพิจารณานำประโยชน์ของกัญชาในด้านนี้มารักษาผู้ป่วยที่เสพติดสุราภายใต้การดูแลและให้คำแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น

3. บรรเทาอาการจากโรคนอนไม่หลับ (Anti-Insomnia)

สารที่มีประโยชน์ของกัญชาในการบรรเทาและรักษาอาการจาก “โรคนอนไม่หลับ” (Anti-Insomnia) คือ สาร CBD (Cannabinoids) ซึ่งมีสรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลายรวมถึงนอนหลับได้ง่ายขึ้นโดยไม่มีผลข้างเคียง ทำให้มีการพิจารณา และนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่มีโรคภาวะนอนไม่หลับในปัจจุบัน

4. บรรเทาอาการจากโรคลมชักและลมบ้าหมู (Epilepsy)

การใช้สาร CBD (Cannabinoids) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารที่มีประโยชน์ของกัญชาในปริมาณ 25 mg. และ 50 mg. สามารถช่วยบรรเทาอาการจากโรคลมชักและลมบ้าหมูได้มากถึง 49% และ 48% ตามลำดับ ทำให้มีการพิจารณาเลือกใช้กัญชาในการรักษารวมถึงบรรเทาโรคดังกล่าวภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์

5. บรรเทาอาการอาเจียนจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด

องค์การอาหารและยาในหลายประเทศ เช่น ประเทศเบลเยียม ได้พิจารณาให้สามารถใช้ยา Nabilone ซึ่งมีส่วนผสมของ THC (Tetrahydrocannabinol) จากกัญชาในการลดอาการอาเจียนซึ่งเกิดจากการทำเคมีบำบัดในผู้ป่วยได้ ซึ่งทำให้เห็นถึงประโยชน์ของกัญชาที่สามารถใช้ได้จริง 

 

อย่างไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้กัญชาทางการแพทย์สำหรับการบำบัดและรักษาโรคต่าง ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษารวมถึงการวิจัยเพิ่มเติม ผู้ที่สนใจใช้ประโยชน์ของกัญชาจึงควรบริโภคหรือใช้งานภายใต้การดูแลของแพทย์ รวมถึงหาข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมก่อนใช้กัญชา เพื่อหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

อาการติดและโทษของกัญชาที่เราควรทราบ

“อาการติดกัญชา” คือ อาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ได้รับสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ในปริมาณที่มากจนเกินไป และส่งผลให้ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการบริโภคครั้งต่อไปเพื่อให้สาร THC สามารถออกฤทธิ์ได้ 

 

ถึงแม้ว่ากัญชาจะมีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หากใช้งานในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ก็อาจเกิดโทษต่อร่างกายของเราได้ ทั้งนี้อาการติดและโทษของกัญชาที่ควรทราบมีรายละเอียดดังนี้

อาการและโทษของกัญชาระยะสั้น

  • มีปัญหาในเรื่องการจำรายละเอียดและข้อมูลต่าง ๆ
  • อารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  • ความดันต่ำ
  • ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ลำบาก มีปัญหาในการเคลื่อนไหว

อาการและโทษของกัญชาระยะยาว

  • ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคหัวใจ
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง
  • ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง
  • เกิดภาวะประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพต่าง ๆ ที่ไม่เกิดขึ้นจริง
  • หวาดระแวงรอบข้าง รวมถึงมีอาการทางจิตมากขึ้น
  • มีโอกาสเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคหลอดลงเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

สรุปเกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชา

จากข้อมูลในบทความจะเห็นได้ว่า สารสำคัญในกัญชาอย่าง THC และ CBD มีความสามารถในการช่วยพยุงอาการ และช่วยบรรเทาภาวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ในปัจจุบันกัญชาถูกพิจารณาให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์

 

อย่างไรก็ตามการบริโภคกัญชาในระยะยาวก็สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ อาทิ ทำให้ผู้เสพมีประสิทธิภาพของการทำงานในสมองลดลง หรือมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้สาร THC และ CBD ในกัญชาก็สามารถทำปฏิกิริยากับยาชนิดอื่น ๆ ได้ จึงทำให้การใช้กัญชาทางแพทย์ยังต้องทำโดยระมัดระวัง รวมไปถึงยังต้องอาศัยการวิจัย ค้นคว้า และศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้งานได้อย่างปลอดภัย

 

หากสนใจใช้กัญชา และต้องการคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางโดยคุณหมอที่ได้รับประกาศนียบัตรรับรองแพทย์ผู้ผ่านหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์  สามารถทำการนัดหมายรวมถึงขอคำแนะนำจากคุณหมอได้เลยที่แอปพลิเคชัน SkinX โดยสามารถดาวน์โหลดเพื่อรับข้อมูลใหม่ ๆ รวมถึงโปรโมชันดี ๆ ก่อนใครได้เลยที่ App store & Play store

References 

 

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, และโชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. (2561). ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(1): 71-94. https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4856/hsri_journal_v12n1_p71.pdf?sequence=1 

 

Fontaine, D. (2023, June 30). 6 Health Benefits of CBD Oil — and a Look at Side Effects. Health Line. https://www.healthline.com/nutrition/cbd-oil-benefits

 

Isles, C. (2021, September 22). 7 Potential Health Benefits of Cannabis. Johnson & Wales University. https://www.jwu.edu/news/2021/09/7-potential-health-benefits-of-cannabis.html

 

Therapeutic Effects of Cannabis and Cannabinoids. (2017, January 12). National Library of Medicine.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK425767/

 

Subbaraman, MS. (2014). Can Cannabis be Considered a Substitute Medication for Alcohol?. Alcohol and alcoholism, 49(3): 292–298. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3992908/

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า