SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

13 กรกฎาคม 2567

เลเซอร์ แผลเป็น กู้คืนผิวเรียบเนียน ดึงความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง

เลเซอร์ แผลเป็น

เชื่อว่าไม่ว่าใครก็คงไม่อยากจะมีรอยแผลเป็นหลงเหลือบนผิวให้กวนใจสักเท่าไหร่ ยิ่งหากอยู่ในตำแหน่งที่ชัดเจนเห็นได้ง่ายอย่างบนผิวหน้าแล้วยิ่งทำให้หลายคนหมดความมั่นใจในตัวเองไปเลย หรือหากโชคดีหน่อยเกิดรอยแผลเป็นในบริเวณหลัง ไหล่ แขน ขา ก็สามารถใช้การแต่งตัวปิดบังได้ แต่อาจไม่ถูกใจสำหรับสาว ๆ สายแฟชั่นเท่าไหร่นัก เพราะแผลเป็นจะทำให้มีข้อจำกัดในการแต่งตัวไปโดยปริยาย

 

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการลบเลือนรอยแผลเป็นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยารักษารอยแผลเป็น การฉีดสารเติมเต็ม หรือการเลเซอร์ แผลเป็น ที่ได้รับความนิยมสูง เพราะให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่า เจ็บตัวไม่มาก ใช้เวลาในการรักษาน้อย ซึ่งในบทความนี้ทาง SkinX ขอแนะนำวิธีการรักษารอยแผลเป็นด้วยการทำเลเซอร์ แผลเป็น ที่เป็นวิธีที่ให้ผลดีกว่าวิธีอื่น ๆ กัน


หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่มีแผลเป็น อยากกำจัดรอยแผลเป็นแต่ไม่รู้จะต้องทำอย่างไรสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน SkinX ได้ทันที ไม่ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาลหรือคลินิกให้เสียเวลา ทั้งยังทราบผลไว เพราะเราได้รวบรวมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำมาให้บริการแบบถึงที่ อีกทั้งยังมีบริการจัดยาตามแพทย์สั่ง ส่งให้คุณถึงที่บ้านในราคาสุดพิเศษ

สารบัญบทความ

เลเซอร์แผลเป็น คืออะไร?

เลเซอร์ แผลเป็น คือ วิธีการรักษารอยแผลเป็นด้วยการใช้พลังงานแสงเลเซอร์ยิงเข้าไปบริเวณที่เป็นรอยแผลเป็นเพื่อให้เม็ดสีสลายตัวและกระตุ้นให้คอลลาเจนสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ ทำให้เซลล์ผิวเก่าค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยเซลล์ผิวใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม 

 

หรือในบางกรณีก็ใช้แสงเลเซอร์ในการตัดเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงบริเวณที่เกิดรอยแผลเป็นที่มีการอักเสบ ทำให้สีแดงของแผลเป็นนั้นลดลงจากการที่ไม่มีเลือดไปรวมกันนั่นเอง


โดยผลลัพธ์หลังเลเซอร์แผลเป็นก็คือจะช่วยให้แผลเป็นค่อย ๆ จางลง ดูกลมกลืนกับผิวรอบ ๆ มากขึ้น การทำเลเซอร์แผลเป็นนั้นสามารถเห็นความแตกต่างได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ และการรักษารอยแผลเป็นอย่างต่อเนื่องจะยิ่งทำให้ผลลัพธ์เป็นไปในทางที่ดี

“การทำเลเซอร์แผลเป็นไม่ได้ทำให้แผลเป็นที่เกิดขึ้นบนผิวหนังหายไปเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพียงแต่ทำให้รอยแผลเป็นดูจางลงจนสังเกตเห็นได้ยากกว่าเดิม”

เลเซอร์แผลเป็น มีกี่แบบ?

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ในด้านการนำพลังงานแสงเลเซอร์มาใช้ในการรักษาความผิดปกติบนผิวหนังก็เช่นกัน การใช้เลเซอร์รอยแผลเป็นนั้นได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเห็นผลได้เร็วกว่าวิธีอื่น ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยทิ้งไว้ให้จางลงเองตามธรรมชาติ หรือการใช้ยาทารักษารอยแผลเป็นก็ตาม 


ทั้งนี้สำหรับการใช้เลเซอร์รอยแผลเป็นเองก็มีอยู่หลายแบบ แต่ละแบบก็สามารถรักษารอยแผลเป็นในรูปแบบที่ต่างกัน รวมถึงให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันอีกด้วย ที่นิยมในตอนนี้จะมีอยู่ 3 แบบคือ Pico laser,  Pulsed dye laser, และ Q-Switch แล้วการเลเซอร์แผลเป็นทั้ง 3 แบบนี้แตกต่างกันอย่างไรจะขออธิบายในหัวข้อย่อยต่อไปนี้

Pico laser

เลเซอร์แผลเป็นที่กำลังได้รับความนิยมสูงสุดในการใช้รักษาความผิดปกติบนผิวหนังคือ Pico laser เป็นพลังงานเลเซอร์ที่สามารถปลดปล่อยพลังงานที่สั้นและเร็วมากถึง 1 Picosecond หรือ 1 ในพันล้านส่วนของ 1 วินาที ด้วยความไวของเลเซอร์ Pico laser นี้ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสมที่บริเวณผิวหนัง ไม่เกิดการ Burn แต่สามารถทำให้เม็ดสีเมลานินที่อยู่ใต้ผิวหนังสามารถแตกตัวได้ละเอียดอย่างมาก

 

และยิ่งไปกว่านั้นการใช้ Pico laser ยิงไปยังบริเวณที่เกิดรอยแผลเป็นจะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่มีตำหนิและกระตุ้นการสร้างผิวใหม่ด้วยคอลลาเจนจากเซลล์ผิวใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม และทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น ในปัจจุบัน Pico laser นับเป็นเลเซอร์แผลเป็นที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในขณะนี้

 

Pico laser สามารถปรับระดับพลังงานได้หลายรูปแบบ จึงทำให้สามารถใช้รักษาปัญหาผิวหนังได้อย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น : 

 

  • รักษารอยแผลเป็น
  • ลบเลือนรอยหมองคล้ำบนผิวหนัง เช่น ฝ้า กระ รอยดำ 
  • ปรับรูขุมขนให้กระชับขึ้น
  • ลดรอยสิวและหลุมสิว
  • เพิ่มความกระจ่างใส
  • ลบรอยสักบนผิวหนัง

Pulsed dye laser

Pulsed dye laser หรือหลายคนอาจเคยเห็นตามคลินิกหรือโรงพยาบาลจะใช้ตัวอักษรย่อว่า PDL เป็นเลเซอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถปลดปล่อยความยาวคลื่นในช่วงที่ 585-595 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่เม็ดเลือดแดงสามารถดูดซับได้ดี 


เมื่อยิงเลเซอร์ Pulsed dye laser นี้เข้าไปยังบริเวณที่ต้องการรักษาแล้ว เม็ดเลือดแดงที่ดูดซับคลื่นพลังงานเข้าไปจะเกิดความร้อนและทำให้เส้นเลือดแดงบริเวณนั้น ๆ ฝ่อลงทำให้ไม่เกิดการรวมตัวของเม็ดเลือดแดงจึงเป็นเหตุที่ทำให้รอยแดงค่อย ๆ จางลงไป นอกจากนี้เลเซอร์ Pulsed dye laser ยังสามารถทำให้คอลลาเจนที่แข็งบนแผลจากการที่ร่างกายผลิตคอลจาเจนเพื่อซ่อมแซมแผลมากเกินไปให้นิ่มและเรียบลง สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่เกิดรอยแผลเป็นใหม่ๆ จะช่วยลดการนูนของรอยแผลเป็นได้เป็นอย่างดี

“การเกิดรอยสีแดงบนผิวที่เกิดจากสิวหรือแผลเป็นนั้นจะเกิดจากการอักเสบใต้ผิวหนัง และนำมาสู่การขยายตัวของหลอดเลือดแดงในบริเวณนั้น จึงทำให้สามารถสังเกตเห็นสีแดงบนผิวหนังได้ชัดเจนขึ้น รอยลักษณะนี้มักจะไม่สามารถปล่อยทิ้งให้หายได้เองตามธรรมชาติ หรือแม้แต่การใช้ยาก็ไม่อาจทำให้รอยหายโดยเร็วได้”

Pulsed dye laser เป็นเลเซอร์ที่เหมาะกับการรักษาความผิดปกติบนผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดใต้ผิวหนังอย่างเช่น ปานแดง รอยแดงจากสิว รอยแดงจากแผลเป็นและแผลผ่าตัด เพราะ Pulsed dye laser สามารถปล่อยพลังงานความยาวคลื่นแสงสีเหลืองที่เส้นเลือดสามารถดูดซับได้ดีนั่นเอง

Q-Switch

Q-Switch เป็นเลเซอร์แผลเป็นที่ให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีระดับหนึ่ง สามารถรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของเม็ดสีเมลานินได้ค่อนข้างดี โดยเลเซอร์ Q-Switch จะเข้าไปสลายเม็ดสีเมลานินใต้ผิวหนังโดยที่ไม่ทำลายเซลล์บริเวณโดยรอบ เมื่อเม็ดสีสลายตัว ร่างกายก็จะส่งเม็ดเลือดขาวเข้าไปกำจัดเม็ดสีผิวที่ถูกทำลาย ทำให้รอยค่อย ๆ ดูจางลง

 

เลเซอร์แผลเป็น Q-Switch สามารถแบ่งออกได้อีกหลายชนิด ตามความสามารถในการปลดปล่อยความยาวคลื่น เช่น 

 

Q-Switched ruby laser : ให้ความยาวคลื่นที่ 695 นาโนเมตร เหมาะกับการใช้รักษารอยโรคที่เกิดจากเม็ดสี เช่น กระลึก ปานดำ ปานน้ำตาล

 

Q-Switched alexandrite laser : ให้ความยาวคลื่นที่ 755 นาโนเมตร เหมาะกับการใช้ลบรอยสักบนผิวหนัง รวมถึงนำมาใช้ในการกำจัดเส้นขนได้อีกด้วย

 

Q-Switched Nd:YAG laser : ให้ความยาวคลื่นที่ 1064 นาโนเมตร เหมาะกับการรักษารอยแผลเป็น ปัญหาผิวที่เกิดขึ้นชั้นลึก ปัญหาผิวที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีเมลานิน


เพราะช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกันมีผลต่อการรักษาที่แตกต่างกัน ในการรักษาจึงมักใช้ Q-Switch ในแบบต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อให้การรักษารอยแผลเป็น หรือปัญหาผิวหนังอื่น ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แผลเป็น คืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง?

ปกติแล้วเมื่อผิวหนังได้รับบาดเจ็บ ฉีกขาดไม่ว่าจะเกิดจากการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุก็ตามร่างกายจะตอบสนองด้วยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาเพื่อไปซ่อมแซมทดแทนเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไป การสร้างเซลล์ผิวหนังขึ้นมาใหม่นั้นจะมาพร้อมกับการส่งเลือดมาเลี้ยงบริเวณที่เกิดแผล ทำให้เกิดเป็นรอยนูนและแดง ที่เป็นลักษณะของ “รอยแผลเป็น” ขึ้นมา

 

หากการสร้างคอลลาเจนเพื่อทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียหายในร่างกายอยู่ในระดับปกติ รอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจากกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลจะค่อย ๆ ยุบตัวและจางลงจนกลมกลืนไปกับผิวบริเวณรอบข้างตามธรรมชาติ 

 

แต่ก็มีโอกาสที่ร่างกายจะยังคงสร้างคอลลาเจนและส่งเลือดมาเลี้ยงบริเวณแผลอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าแผลจะหายแล้วก็ตาม การที่มีคอลลาเจนมากเกินไปทำให้เซลล์บริเวณที่เกิดแผลเกิดการเจริญขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น จึงทำให้เห็นรอยแผลในลักษณะนูนขึ้นและไม่สามารถยุบลงไปได้เองง่าย ๆ หรือที่เรียกกันว่า แผลเป็นนูน (Hypertrophic scars)

 

ยิ่งไปกว่านั้นหากมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ที่เลยออกมาจากขอบแผลเดิมจะทำให้เกิดรอยแผลเป็นในลักษณะนูนและมีสีแดงคล้ำอย่างชัดเจน แผลเป็นลักษณะนี้จะเรียกว่า “คีลอยด์ (Keloids)” ซึ่งเป็นลักษณะแผลเป็นที่ค่อนข้างใหญ่ สังเกตเห็นได้ชัด อาจพบอาการคันและเจ็บในช่วงระยะแรกในการเกิดแผลเป็นคีลอยด์

 

ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุของการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ แต่มีรายงานถึงอัตราการเกิดคีลอยด์จะสัมพันธ์กับจำนวนเม็ดสีที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้อาจกล่าวได้ว่าในประชากรผิวดำจะมีโอกาสเกิดคีลอยด์ได้มากกว่าชาวเอเชียและคนผิวขาว 

 

แต่ก็ยังมีอีกรายงานบางฉบับที่รายงานว่าในชาวแอฟริกันที่มีภาวะเผือกมีอัตราการเกิดคีลอยด์อยู่ที่ 7.5% ซึ่งแทบจะไม่แตกต่างจากประชากรทั่วไปหรือชาวแอฟริกันที่มีสีผิวปกติที่มีอัตราการเกิดคีลอยด์อยู่ที่ 8.3% และ 8.5% ตามลำดับ ดังนั้นอาจสรุปได้ยากว่าการเกิดคีลอยด์นั้นจะสัมพันธ์กับเม็ดสีที่เพิ่มขึ้นหรือไม่

 

นอกจากนี้แผลเป็นคีลอยด์ยังไม่สามารถรักษาหายเองตามธรรมชาติได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นตัวการที่ทำให้เกิดอันตรายอื่น ๆ ในร่างกาย แต่พบว่าคนที่มีแผลเป็นคีลอยด์มักจะมีภาวะทางอารมณ์อย่างความไม่มั่นใจในตนเองสูงกว่าคนปกติทั่วไป

“ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 Jean Louis Alibert ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งโรคผิวหนังของฝรั่งเศสได้อธิบายถึงรอยแผลที่คล้ายกับเนื้องอกเป็นครั้งแรก ซึ่งเขาพบว่ารอยแผลที่คล้ายกับเนื้องอกนี้ไม่ใช่เนื้อร้ายอย่างมะเร็งหรือเนื้องอกแต่อย่างใด ดังนั้นเขาจึงได้ใช้คำเรียกรอยบนผิวหนังลักษณะนี้ใหม่ว่า “คีลอยด์” ที่มาจากการรวมตัวของคำในภาษากรีก (khçlçé) ที่แปลว่ากรงเล็บของปูและ -oid ที่แปลว่าเหมือน เมื่อรวมกับเป็นคำว่า 'cheloïde' หรือ 'keloïde' จะหมายถึงการเจริญเติบโตรุกรานในช่วงแนวนอน ซึ่งเป็นลักษณะของแผลเป็นคีลอยด์ที่มีการขยายตัวออกจากแนวขอบแผลเดิมนั่นเอง”

ในการรักษารอยแผลเป็นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของแผลเป็น และความรุนแรงของแผลเป็น ดังนี้

 

  • ใช้ยารักษารอยแผลเป็น : ยากลุ่มสเตียรอยด์, ซิลิโคนเจล หรือยาที่มีส่วนประกอบของวิตามิน B3 หรือวิตามิน E เป็นส่วนประกอบ (วิตามิน B3 สามารถยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานิน, วิตามิน E เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเกิดแผลเป็น)
  • ใช้การผลัดเซลล์ผิว : สำหรับรอยแผลเป็นตื้น สามารถใช้การผลัดเซลล์ผิวเก่าออกและเผยผิวใหม่ขึ้นมาทดแทน เซลล์ผิวใหม่จะมีความใกล้เคียงกับผิวโดยรอบ
  • ฉีดสารเติมเต็ม : สำหรับรักษารอยแผลเป็นที่มีลักษณะบุ๋ม ยุบลงจากผิวเดิม เช่น ไฮยาลูรอนิกแอซิด เพื่อให้รอยแผลเป็นดูตื้นขึ้น เสมอกับผิวมากขึ้น

การใช้เลเซอร์แผลเป็น :  เป็นวิธีที่สามารถทำให้รอยแผลเป็นดูจางลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาค่อนข้างน้อยหากเทียบกับวิธีอื่น ๆ สามารถใช้รักษารอยแผลเป็นธรรมดา รอยแผลเป็นนูน รอยแผลเป็นหดรั้งที่เกิดจากแผลไฟไหม้ หรือแม้แต่รอยแผลเป็นคีลอยด์

ข้อดีของเลเซอร์ แผลเป็น

เลเซอร์รอยแผลเป็น

การใช้เลเซอร์แผลเป็นในการรักษารอยแผลเป็นมีข้อดีมากมาย เช่น

 

  • ให้ความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังเลเซอร์แผลเป็นที่สังเกตได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่รักษา ยิ่งเข้ารับการเลเซอร์แผลเป็นเรื่อย ๆ ยิ่งเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
  • ใช้เวลาในการทำหัตถการเพียงแค่ครั้งละ 30-40 นาทีเท่านั้น
  • สามารถรักษารอยแผลเป็นได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรอยแผลเป็นนูน รอยแผลเป็นหดรั้ง รอยแผลเป็นคีลอยด์ (โดยแพทย์จะเลือกใช้ชนิดเลเซอร์และความยาวคลื่นที่เหมาะสมกับรอยโรค)
  • นอกจากลดเลือนรอยแผลเป็นได้แล้วยังสามารถกระตุ้นการสร้างผิวใหม่ที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น ช่วยให้ผิวเรียบเนียนใกล้เคียงกับผิวเดิมมากที่สุด

ข้อจำกัดของเลเซอร์ แผลเป็น

อย่างไรก็ตามการใช้เลเซอร์แผลเป็นก็ยังมีข้อจำกัด โดยจะต้องเข้ารับการเลเซอร์แผลเป็นกับแพทย์ผิวหนังที่เชี่ยวชาญและมีความชำนาญโดยเฉพาะ อีกทั้งยังต้องใช้เครื่องมือที่ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน เนื่องจากเลเซอร์แผลเป็น เป็นการใช้คลื่นพลังงานสูงที่อาจทำอันตรายต่อร่างกายได้หากใช้ไม่ถูกวิธี 


นอกจากนี้การเลเซอร์แผลเป็นยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการรักษารอยแผลเป็นด้วยวิธีอื่น ๆ ในขณะที่การเลเซอร์แผลเป็นก็ไม่สามารถทำให้รอยแผลเป็นหายไปอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับวิธีอื่น เพียงแค่ใช้เวลาในการรักษารอยแผลเป็นสั้นกว่าเท่านั้น

ผลข้างเคียงจากเลเซอร์ แผลเป็น

เลเซอร์ แผล ผ่าตัด

แต่ถึงแม้ว่าจะเข้ารับการรักษากับแพทย์ผิวหนังที่เชี่ยวชาญและใช้เครื่องมือปล่อยแสงเลเซอร์แผลเป็นที่มีมาตรฐานแล้วก็ยังสามารถพบปัญหาหลังการรักษาด้วยเลเซอร์แผลเป็นได้ เช่น

 

  • การตกสะเก็ดบนผิว 
  • แสบร้อนผิวหนัง
  • ผิวแดงขึ้น
  • มีอาการคันเล็กน้อย
  • ผิวพองเป็นตุ่มน้ำ


อาการเหล่านี้สามารถพบได้หลังการเลเซอร์แผลเป็น โดยอาจพบอาการเหล่านี้ได้ในช่วงแรกของการรักษาและสามารถหายไปได้เอง แต่หากพบความผิดปกติเช่น มีอาการปวดรุนแรง มีรอยแดงเพิ่มขึ้น มีแผลเลือดออกหรือหนอง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาโดยทันที

คำถามยอดนิยม

เลเซอร์แผลเป็น เจ็บหรือไม่?

เลเซอร์แผลเป็นจะใช้คลื่นพลังงานในช่วงอินฟราเรด ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นที่มีความร้อน ดังนั้นอาจรู้สึกร้อนและเจ็บเล็กน้อยขณะยิงเลเซอร์แผลเป็นบนผิวหนัง แต่โดยปกติแล้วจะมีการเป่าลมเย็นไปพร้อม ๆ กับการยิงเลเซอร์แผลเป็นหรือมีการฉีดยาชาก่อนเลเซอร์แผลเป็น ทำให้บรรเทาอาการแสบร้อนได้ระดับหนึ่ง

เลเซอร์ แผลเป็น ทำได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

เลเซอร์แผลเป็นสามารถทำในช่วงอายุใดก็ได้ เพียงแต่การทำหัตถการใด ๆ กับเด็กที่อายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์จำเป็นต้องมีผู้ปกครองเซ็นเอกสารยินยอมการเข้ารับการรักษาก่อน

เลเซอร์แผลเป็นกี่ครั้งเห็นผล?

การรักษารอยแผลเป็นด้วยการเลเซอร์แผลเป็นจะสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่รักษา และมักจะดีขึ้นเรื่อย ๆ หากได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์แผลเป็นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการรักษารอยแผลเป็นด้วยการใช้ยาทา หรือฉีดยาลดความนูนแข็งของแผลเป็น

สรุป

การเลเซอร์แผลเป็นเป็นอีกหนึ่งวิธีรักษารอยแผลเป็นที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนที่สุดในขณะนี้ สามารถเห็นความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังเข้ารับการรักษาด้วยเลเซอร์แผลเป็นตั้งแต่ครั้งแรก และแผลเป็นจะค่อย ๆ จางลงหากได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

อยากจะลบเลือนรอยแผลเป็นให้กลับมาผิวเรียบเนียนขึ้นอีกครั้ง สามารถเข้ามาปรึกษากับแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์กว่า 210 ท่านที่แอปพลิเคชัน SkinX ปรึกษาแพทย์ผิวหนังออนไลน์ได้ทุกที่ ไม่ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาลหรือคลินิกก็สามารถพบแพทย์ได้เลย อีกทั้งยังมีดีลพิเศษร่วมกับโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำกว่า 500 แห่งในราคาสุดคุ้มที่ SkinX เท่านั้น

แหล่งอ้างอิง

Burd A., Huang L. (2005). Hypertrophic response and keloid diathesis: two very different forms of scar. Plastic and Reconstructive Surgery, 116(7): 150e–157e. https://journals.lww.com/plasreconsurg/Abstract/2005/12000/Hypertrophic_Response_and_Keloid_Diathesis__Two.19.aspx

 

Kiprono, S.K. Chaula, B.M. Masenga, J.E. Muchunu, J.W. Mavura, D.R. & Moehrle, M. (2015). Epidemiology of keloids in normally pigmented Africans and African people with albinism: population-based cross-sectional survey. British Journal of Dermatology, 173(3): 852-854. https://academic.oup.com/bjd/article/173/3/852/6627447?login=false

 

Limandjaja, G.C. Niessen, F.B. Scheper, R.J. & Gibbs, S. (2020). The Keloid Disorder: Heterogeneity, Histopathology, Mechanisms and Models. Frontiers in Cell and Developmental Biology, 8. https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fcell.2020.00360/full

 

Wolfram, D. Tzankov, A. Pülzl, P. & Piza-Katzer, H. (2009). Hypertrophic scars and keloids – a review of their pathophysiology, risk factors, and therapeutic management. Dermatologic Surgery, 35(2): 171–181. https://journals.lww.com/dermatologicsurgery/Abstract/2009/02000/Hypertrophic_Scars_and_Keloids_A_Review_of_Their.1.aspx

 

Valencia, H. (2018, July 24). Laser Treatment for Scars: What You Should Know. healthline. https://www.healthline.com/health/laser-treatment-for-scars

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า