ทำอย่างไร ให้ห่างไกลไขมันในเลือดสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นโรคที่เกิดจากการมีระดับไขมันในร่างกายปริมาณสูง อาจหมายถึงระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ส่งผลให้หลอดเลือดอุดตัน เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดได้
ภาวะไขมันในเลือดสูง ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิต และการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ในบทความนี้ SkinX จะแนะนำให้รู้จักกับภาวะไขมันในเลือดสูง รวมถึงสาเหตุที่มาของการเกิดโรค วิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัย และสาระดี ๆ อีกมากมายที่ไม่ควรพลาด
SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์ ช่วยให้การพบแพทย์เป็นเรื่องง่ายมากขึ้น โดยไม่ต้องไปรอพบแพทย์ที่คลินิก หรือโรงพยาบาลแบบเดิม ๆ คุณสามารถปรึกษาแพทย์ผิวหนังออนไลน์ได้ทุกเวลาที่ต้องการ อีกทั้งยังมีดีลสุดคุ้มอีกมากมาย ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX ได้เลยที่ App Store & Google Play
ภาวะไขมันในเลือดสูงคืออะไร
ภาวะไขมันในเลือดสูง หรือ Hyperlipidemia คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) ซึ่งจะมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สูง แต่มีระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) ในร่างกายต่ำลง ภาวะไขมันในเลือดสูงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเหลือดแข็ง และหลอดเลือดสมองอุดตันได้
ซึ่งโดยปกติร่างกายของเราสามารถสร้างไขมันได้ด้วยตัวเองจากตับ เพื่อนำมาใช้ในการย่อยอาหาร หรือสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ แต่การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันในปริมาณมากจนเกินไป จะทำให้ระบบการเผาผลาญไขมันในร่างกายทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ อีกทั้งภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถพบได้บ่อยในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ
ไขมันในเลือดสูงเกิดจากอะไร
ภาวะไขมันในเลือดสูงไม่ได้เกิดจากขึ้นการรับประทานไขมันในปริมาณมากแค่อย่างเดียว แต่ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ไขมันในเลือดสูงได้ เช่น
- เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมันลดลง
- เกิดจากการใช้ยาบางชนิดในการรักษา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด และสเตียรอยด์
- เกิดจากการเป็นโรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด โรคตับ และโรคไตบางชนิด
- เกิดจากการสูบบุหรี่เป็นประจำ
- เกิดจากการไม่ออกกำลังกาย
- เกิดจากการรับประทานอาหารผิดหลักโภชนาการ
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของมัน ของทอด
- การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น สันคอหมู
- การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบที่มีน้ำตาลมาก เช่น ของหวาน ลูกอม
- การรับประทานอาหารแปรรูปที่มาไขมันทรานส์ต่าง ๆ เช่น นม เนยเทียม และโดนัท
- การรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย
- การรับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ
ไขมันในเลือดสูงมีอะไรบ้าง
ไขมันที่พบในภาวะไขมันในเลือดสูงมี 2 ประเภท คือ
1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
คอเลสเตอรอล ส่วนมากพบในไข่แดง, อาหารทะเล, เครื่องในสัตว์, เนื้อสัตว์ติดมัน, นม และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง (โดยเฉพาะไขมันทรานส์) หากรับประทานในปริมาณมากจะทำให้มีระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายสูง ทั้งนี้สามารถแบ่งชนิดคอเลสเตอรอลได้อีก ดังนี้
- คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอลอันตรายที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด รวมตัวกับไขมันในร่างกาย ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดง ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้
- คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอลที่ช่วยกำจัดไขมันอันตรายให้ออกจากกระแสเลือด ต่อต้านการสะสมของไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบอีกด้วย
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นจากตับ และสามารถพบได้จากการรับประทานอาหารประเภทไขมัน เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำมัน เนย หรือไขมันต่าง ๆ ซึ่งหากรับประทานในปริมาณมาก สารอาหารดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ หากร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์สูงจะส่งผลให้ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคตับอ่อนอักเสบ และโรคไขมันเกาะตับได้ ทั้งนี้บางคนอาจจะมีระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์สูงจากกรรมพันธุ์ได้เช่นกัน
อันตรายจากไขมันในเลือดสูง
ในตอนแรกผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจะไม่แสดงอาการอะไร แต่ถ้าคุณมีค่าไขมันในเลือดที่สูงมากจะมีอาการ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ดังนี้
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ รู้สึกแน่นหน้าอก
- ระบบประสาททำงานผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายมีอาการเดินโซเซ
- ปวดข้อ แขน ขา ตึง เหยียดได้ไม่ถนัด
- ปวดท้องรุนแรง บางรายถึงขั้นตับอ่อนอักเสบได้
- โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
ค่าไขมันในเลือดเท่าไหร่ ถึงเป็นอันตราย
ภาวะไขมันในเลือดสูงเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งการมีไขมันในเลือดสูงจะทราบได้ก็ต่อเมื่อทำการเจาะเลือด โดยค่ามาตรฐานของระดับไขมันในเลือด และตรวจสอบด้วยค่าไขมันในเลือด ดังนี้
- ค่าคอเลสเตอรอลรวม ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
- ค่าไตรกลีเซอไรด์ ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
- ค่าคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol) ไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
- ค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol)
- ผู้ชายไม่ควรเกิน 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
- ผู้หญิงไม่ควรเกิน 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
ไขมันในเลือดสูง ดูแลตัวเองอย่างไร
วิธีที่เราสามารถป้องกันตัวเองให้ห่างจากภาวะไขมันในเลือดสูงมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายให้สม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ จะทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้อีกด้วย
ต่อมาเรามาดูวิธีการเลือกรับประทานอาหารที่เป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพ และลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี มีอะไรบ้าง?
อาหารที่ควรเลี่ยง
- อาหารจานด่วน เช่น มันฝรั่งทอด ไก่ทอด
- เนื้อสัตว์ที่มีหนังและชั้นไขมัน เช่น ปีกไก่ หมูสามชั้น
- เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ สมอง กระเพาะ
- สัตว์ที่มีกระดองแข็ง เช่น ปู หอยนางรม
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ เนย นม
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อาหารที่ควรรับประทาน
- ถั่วและธัญพืช เช่น อัลมอนด์ วอลนัท ถั่วลิสง เพราะถั่วอุดมไปด้วยเส้นใยที่ละลายน้ำได้ (Soluble Fiber) มีส่วนช่วยให้อิ่มนานขึ้นหลังรับประทาน จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ถั่วเป็นอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะกับผู้ที่พยายามลดน้ำหนัก อีกทั้งยังช่วยลดไขมันในเลือดสูงและดีต่อหัวใจอีกด้วย
- ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น แอปเปิ้ล องุ่น สตรอเบอร์รี่ เนื่องจากมีส่วนช่วยในการเพิ่มไขมันดี และลดคอเลสเตอรอล
- น้ำมันพืช การใช้น้ำมันพืชเหลว เช่น คาโนลา ทานตะวัน แทนเนย น้ำมันหมู หรือเนยขาว ทำอาหารจะช่วยลดไขมันไม่ดี ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้
- กระเทียม มีส่วนช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้ดี รวมถึงยังช่วยลดไขมันในเลือดสูงได้อีกด้วย
- ผักตระกูลกะหล่ำ ช่วยลดความผิดปกติของระบบเผาผลาญในร่างกาย อีกทั้งยังลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี จึงทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไขมันในเลือดสูงได้ เช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก
- ปลา การรับประทานปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ช่วยลดไขมันไม่ดี ที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดไขมันในเลือดสูงได้ อีกทั้งโอเมก้า 3 ยังช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด และยังช่วยป้องกันการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
สรุป
ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นโรคที่เกิดจากการมีระดับไขมันในร่างกายปริมาณสูง ส่งผลให้หลอดเลือดอุดตัน เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด ภาวะนี้พบได้บ่อยในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ หากใครมีอาการหรือสัญญาณบอกถึงโรคไขมันในเลือดสูง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
สำหรับใครที่ต้องการคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือคลินิกแบบเดิม ๆ อีกต่อไป เพียงแค่โหลดแอปพลิเคชัน SkinX พร้อมรับดีลสุดคุ้มมากมาย อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำดี ๆ จากแพทย์เฉพาะทางโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
Reference
11 foods that lower cholesterol. (2021, August 13). Harvard Health Publishing. https://www.health.harvard.edu/heart-health/11-foods-that-lower-cholesterol
Hypercholesterolemia. (2022, January 8). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/23921-hypercholesterolemia
Kohli, P. (2023, June 14). What to know about hyperlipidemia. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/295385