SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

4 ธันวาคม 2567

ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร ทำไมถึงต้องระวัง

ไตรกลีเซอไรด์ คือ

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อไขมัน เพื่อใช้เป็นพลังงานยามขาดแคลนอาหาร โดยปกติสร้างได้จากตับและดูดซึมจากอาหารโดยลำไส้ หากไตรกลีเซอไรด์สูงเกินปกติ มีสาเหตุจากพันธุกรรม และสาเหตุอื่น เช่น อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล แอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิด รวมถึงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ซึ่งหากเพิ่มสูงมาก ส่งผลให้อ้วน ไขมันเกาะตับ ตับอ่อนอักเสบ หลอดเลือดอุดตันอวัยวะต่าง ๆ อีกด้วย ในบทความนี้ SkinX จะพาไปทำความรู้จักว่าไตรกลีเซอไรด์คืออะไร และวิธีการดูแลตัวเองอีกมากมายที่คุณไม่ควรพลาด

 

SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์ ที่จะช่วยให้การหาหมอผิวหนังเฉพาะทางเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องไปรอพบแพทย์ที่คลินิก หรือโรงพยาบาลแบบเดิม ๆ อีกต่อไป คุณสามารถปรึกษาแพทย์ผิวหนังออนไลน์ได้ทุกเวลาที่ต้องการ อีกทั้งยังมีดีลสุดคุ้มอีกมากมาย ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX ได้เลยที่ App Store & Google Play

สารบัญบทความ

Triglyceride คืออะไร

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ หลอดเลือด โดยส่วนมากไตรกลีเซอไรด์จะพบมากในอาหารที่ให้พลังงานสูง อาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว พวกแป้งและน้ำตาล อีกส่วนหนึ่งร่างกายจะสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ขึ้นมาเอง หากรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็นทำให้หากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด อาจบ่งบอกถึงว่าเราอาจรับประทานเพลิน เกินกิจกรรมพลังงานที่เผาผลาญในแต่ละวัน ทำให้ไขมันไตรกลีเวอไรด์สูงกว่าปกติ อย่างไรก็ดีควรหาสาเหตุอื่นด้วยเช่นกัน เพื่อแก้ไขที่ต้นเหตุได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ การมีไขมันไตรกลีเวอไรด์สูงกว่าปกติยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย

“หากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด อาจบ่งบอกถึงว่าเราอาจรับประทานเพลิน เกินกิจกรรมพลังงานที่เผาผลาญในแต่ละวัน ทำให้ไขมันไตรกลีเวอไรด์สูงกว่าปกติ อย่างไรก็ดีควรหาสาเหตุอื่นด้วยเช่นกัน เพื่อแก้ไขที่ต้นเหตุได้อย่างแท้จริง”

ปัจจัยที่ทำให้ค่าไตรกลีเซอไรด์สูง

Triglyceride คือ

อย่างที่เราทราบไปกันแล้วว่าไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร ต่อมาเรามาดูกันว่าไตรกลีเซอไรด์สูงมีสาเหตุมาจากอะไร

 

การมีค่าไตรกลีเซอไรด์สูงเกิดจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ และเรื่องความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ภาวะอ้วน ภาวะดื้ออินซูลิน และภาวะเมทาบอลิกซินโดรม

“ภาวะเมทาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) คือ ภาวะที่มีความผิดปกติในการเผาผลาญอาหาร ทำให้มีความเสี่ยงในโรคความดันโลหิตสูง อ้วนลงพุง เบาหวาน รวมถึงไขมันในเลือดสูง อีกทั้งยังอาจส่งผลให้มีปัญหาต่อหลอดเลือดหัวใจในที่สุด”

Triglycerides กับ Cholesterol ต่างกันอย่างไร

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) กับ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) มีความแตกต่างกันที่คอเลสเตอรอลมีลักษณะแข็งกึ่งเหลวคล้ายขี้ผึ้ง ซึ่งร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นเองได้ และพบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยคอเลสเตอรอลมีหน้าที่สร้างวิตามินและฮอร์โมนให้กับร่างกาย 

 

ในขณะที่ไตรกลีเซอไรด์จะพบเจอจากอาหารที่มีพลังงานสูง แป้ง น้ำตาลและไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก มีหน้าที่กักเก็บพลังงาน และเปลี่ยนไขมันที่ไม่ได้ใช้ให้เป็นพลังงานสำรอง หากมีค่าไตรกลีเซอไรด์มากจนเกินไปจะทำให้มีไขมันสะสม มีโอกาสในการเป็นไขมันอุดตันเส้นเลือด พอกตามอวัยวะ เกาะที่ตับ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

 

ทั้งนี้เราสามารถวัดค่าของไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลได้ด้วยวิธีเดียวกัน คือ การตรวจเลือดไขมันในเลือด ซึ่งการตรวจครั้งเดียวจะสามารถพบได้ทั้งค่าคอเลสเตอรอลรวม ค่าคอเลสเตอรอลแบบ HDL, LDL และค่าไตรกลีเซอไรด์

ไตรกลีเซอไรด์สูงอันตรายอย่างไร

ไตรกลีเซอไรด์ สูงเกิดจาก

ไตรกลีเซอไรด์จะพบมากในอาหารประเภทไขมัน และพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มากเกินความจำเป็น จนเกิดเป็นพลังงานส่วนเกิน พลังงานที่ร่างกายไม่ได้ใช้นั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์เพื่อใช้ในภายหลัง และถูกเก็บไว้ในเซลล์ไขมันใต้ผิวหนัง เช่น หน้าท้อง, แขน, ขา และบางส่วนไหลเวียนอยู่รอบอวัยวะภายใน ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในวันข้างหน้า

 

แม้การมีค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมักไม่มีอาการใด ๆ แต่จะมีสัญญาณบ่งบอก ได้แก่ เพลียง่าย, คลื่นไส้, เจ็บหน้าอก และหายใจไม่สะดวก ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ดังนี้

 

  • ตับอ่อนอักเสบ
  • โรคเบาหวาน
  • ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง
  • น้ำหนักเกินและโรคอ้วน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ

เกณฑ์การวัดปริมาณไตรกลีเซอไรด์

ไตรกลีเซอไรด์ คือไขมันที่มาพร้อมความเสี่ยง เราสามารถรู้ระดับไตรกลีเซอไรด์ของตัวเองได้ด้วยการตรวจไขมันในเลือด (Lipid Profile) ซึ่งผู้ที่จะตรวจต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง โดยที่เกณฑ์ในการวัดปริมาณไตรกลีเซอไรด์มีดังนี้

  • ค่าปกติ : ไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
  • ค่าค่อนข้างสูง : อยู่ระหว่าง 150-499มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
  • ค่าสูง : มากกว่า 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)
  • ค่าสูงมาก : มากกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl)

 

หากตรวจพบว่ามีค่าไตรกลีเซอไรด์สูงควรรีบพบแพทย์ และหาวิธีการดูแลรักษาให้เหมาะสมกับตัวเอง เพราะระดับไตรกลีเซอไรด์สูงยังส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการมีไขมันในช่องท้องมากเกินไป ความดันโลหิตสูง และน้ำตาลในเลือดสูงอีกด้วย

5 วิธีลดค่าไตรกลีเซอไรด์

ไตรกลีเซอไรด์ ค่าปกติ

ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นสาเหตุที่มาจากอาหาร และการรับประทานอาหารที่มากเกินไปเป็นหลัก ต่อไปนี้มาดูวิธีลดค่าไตรกลีเซอไรด์ที่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในไขมันได้ เราจึงต้องระมัดระวังในเลือกรับประทานอาหารให้มากขึ้น และเลือกรับอาหารที่ดีมีไฟเบอร์เข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากไฟเบอร์จะช่วยควบคุมระดับไขมันเข้าสู่เลือด และเพิ่มกากใยในระบบย่อยอาหาร

อาหารที่ควรรับประทาน

  • ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น พาสต้าโฮลวีต, ข้าวกล้อง และขนมปังโฮลเกรน
  • ผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง เช่น  กล้วย, ส้ม, มะละกอ และแอปเปิล
  • ผักที่มีไฟเบอร์สูง เช่น บรอกโคลี, แครอท, ผักโขม และอะโวคาโด
  • ปลาที่มีโอเมก้า 3  เช่น ปลาแมคเคอเรลและปลาแซลมอน

ในส่วนของการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงก็มีความเสี่ยงต่อการมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ดังนั้นเราจึงต้องลดอาหารที่มีไขมัน  ลดของทอด และลดปริมาณอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกาย

อาหารที่ควรเลี่ยง

  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำมันหมู
  • อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น ครีมเทียม มาการีน 
  • อาหารที่มีน้ำตาลจำนวนมาก เช่น ขนมหวาน ลูกอมรสหวาน
  • เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของฟรุกโตส เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน น้ำอัดลม
  • คาร์โบไฮเดรตแปรรูป เช่น ขนมปังขาว, ข้าว และเส้นแป้งแปรรูป  
  • เนื้อแดงและเนื้อติดมัน

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดค่าไขมันในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีหรือค่าไตรกลีเซอไรด์ การออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที/วัน สัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง สามารถช่วยให้ร่างกายของเรามีการเผาผลาญที่ดีขึ้น และช่วยให้สัดส่วนที่มีไขมันสะสมมีความกระชับมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราสามารถเลือกการออกกำลังกายได้ตามถนัด ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง, เดินเร็ว, ว่ายน้ำ หรือกระโดดเชือก 

 

สำหรับคนที่ไม่มีเวลาออกกำลังกายให้พยายามขยับร่างกายระหว่างวัน หรือการหากิจกรรมทำในเวลาว่าง ช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรีได้ เช่น การยืดเส้นยืดสายเมื่อนั่งเป็นเวลานาน หรือการใช้บันไดแทนลิฟต์

3. ลดการดื่มแอลกอฮอล์

หากดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อภาวะน้ำหนักเกินและไขมันในเลือดสูง อีกทั้งยังส่งผลต่อระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานผิดปกติ เนื่องจากในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีทั้งน้ำตาลและแคลอรีสูง แม้จะดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยก็สามารถเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ให้สูงได้

4. จัดการความเครียด

ปัญหาความเครียดสะสมและอาการวิตกกังวล แม้จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่อาการเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้ มีการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเมื่อเรามีความเครียดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ อีกทั้งความเครียดสามารถส่งผลต่อความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของโรคหัวใจได้

5. นอนหลับให้เพียงพอ

การนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลสุขภาพ เพราะเมื่อเรานอนหลับเพียงพอ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ที่ทำให้สมองไม่รู้สึกอยากอาหาร แต่เมื่อใดที่เรานอนหลับไม่สนิท ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่จะทำให้เรามีความอยากอาหารมากกว่าปกติ อาจทำให้เรามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มากเกินความจำเป็น การพักผ่อนอย่างน้อย 7-10  ชั่วโมงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย และช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายให้น้อยลงอีกด้วย

สรุป

ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันอันตรายชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นของร่างกาย และเกิดจากการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลในปริมาณมาก พลังงานส่วนเกินเหล่านี้จึงถูกเปลี่ยนให้เป็นไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันที่สะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะเกาะอยู่ที่บริเวณหน้าท้อง แขน ต้นขา สะโพก รวมถึง ตับ 

 

ไม่ว่าจะระดับค่าไตรกลีเซอไรด์หรือค่าคอเลสเตอรอลจะสูง การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายก็เป็นวิธีที่ดีในการลดระดับไขมันในเลือดได้เป็นอย่างดีและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง 

 

สำหรับใครที่ต้องการคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง ให้คุณได้คำตอบที่สงสัย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือคลินิกแบบเดิม ๆ อีกต่อไป โหลดแอปพลิเคชัน SkinX พร้อมรับดีลสุดคุ้มมากมายเฉพาะในแอป SkinX เท่านั้น

อ้างอิง

Budoff, M. (2016, April 19) Triglycerides and Triglyceride-Rich Lipoproteins in the Causal Pathway of Cardiovascular Disease. The American Journal of Cardiology. https://www.ajconline.org/article/S0002-9149(16)30484-2/fulltext

 

High Blood Triglycerides. (2023, April 19) NHLBI. https://www.nhlbi.nih.gov/health/high-blood-triglycerides

 

Iliades, C. (2023, April 17). 8 Ways to Lower Your Triglycerides (and Cholesterol) With Lifestyle Changes. Everyday Health. https://www.everydayhealth.com/heart-health-pictures/why-triglyceride-levels-matter.aspx

 

Triglycerides: Why do they matter?. (2022, September 3). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/in-depth/triglycerides/art-20048186

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า