เจาะลึกยาปลูกผม สามารถปลูกผมได้จริงหรือแค่คำโฆษณา?
ยาปลูกผมที่วางขายตามท้องตลาดมีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรูปแบบ ส่วนผสมก็แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเซรั่มปลูกผม ยาปลูกผมแบบโฟม ยาปลูกผมชนิดยาเม็ด อาจรวมไปถึงอาหารเสริมปลูกผม แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ายาปลูกผมเหล่านี้จะใช้ได้จริง มีอันตรายหรือเปล่า เห็นผลจริงไหม?
ในบทความนี้ SkinX จะพามาทำความรู้จักกับ “ยาปลูกผม” ว่ายาปลูกผม คืออะไร ยาแก้ผมร่วงตามท้องตลาดใช้ได้จริงไหม มีอันตรายหรือไม่ มีผลข้างเคียงอะไรไหม รวมถึงพาไปรู้จักกับยาปลูกผมที่ได้มาตรฐาน มีรายงานทางการแพทย์รับรอง
SkinX แอปพลิเคชันพบหมอผิวหนังออนไลน์ ที่มาให้คำปรึกษาแบบเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะ ปัญหาผิวพรรณ หัตถการความงาม เป็นต้น ด้วยแพทย์จากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำมากมายถึง 210 คน สำหรับผู้ใช้บริการรายใหม่ปรึกษาแพทย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ทำความรู้จัก ‘ยาปลูกผม’ คืออะไร?
ยาปลูกผม คือยาที่ใช้รักษาอาการผมร่วง ผมบาง เมื่อใช้ยาไปแล้วจะทำให้บริเวณที่ผมเส้นเล็กหรือบางค่อย ๆ กลับมาหนาขึ้น หลายคนจึงเรียกยาเหล่านี้ว่ายาปลูกผม แต่ในความเป็นจริงแล้วยาปลูกผมเหล่านี้ไม่สามารถแก้ปัญหาหัวล้านหรือทดแทนการ ปลูกผม ได้ เนื่องจากรากผมฝ่อไปหมดแล้วทางรักษาคือต้องปลูกผมถาวรเท่านั้น
โดยส่วนมากผลิตภัณฑ์ปลูกผมที่โฆษณาขายทั่วไปในท้องตลาดมักเป็นแค่น้ำยาบำรุงผมเท่านั้น ไม่ใช่ยาที่มีผลต่อรากผม และไม่ได้แก้ที่สาเหตุของผมร่วงโดยตรง หากต้องการรักษาที่ต้นเหตุและตรงจุดที่สุดคือการพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยยาปลูกผมที่ใช้รักษาปัญหาผมร่วง ผมบางโดยเฉพาะ
“จากงานวิจัยศึกษาปัญหาโรคผมบางพันธุกรรมในเพศชาย (Male pattern baldness) พบว่าอาการสามารถเริ่มเป็นได้ตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี จากการสำรวจผู้ชายไทยอายุระหว่าง 18-90 ปี จำนวน 1,124 คนพบว่ามีความชุกของผมบางแบบพันธุกรรม 38.5%”
ตัวยาปลูกผมที่ผ่านการรับรอง มีอะไรบ้าง?
ยาปลูกผมในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองจากทางการแพทย์มีเพียง 2 ตัวยาเท่านั้น ได้แก่ ฟีนาสเตอไรด์ในรูปแบบยารับประทาน (Finasteride) และไมนอกซิดิล ในรูปแบบยาหยอดหนังศีรษะเฉพาะที่ (Minoxidil) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ยาปลูกผมฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride)
ยาปลูกผมฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) คือยาปลูกผมสำหรับผู้ชายชนิดเม็ด ใช้เพื่อรักษาภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมนเพศชาย โดยยาตัวนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย DHT (Dihydrotestosterone) ฮอร์โมนต้นเหตุที่ทำให้เส้นผมมีขนาดเล็กลงและเกิดภาวะผมบางจากกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ยาฟีนาสเตอไรด์ยังสามารถใช้รักษาโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคต่อมลูกหมากโต ภาวะฮอร์โมนเพศชายมากเกินในเพศหญิง เป็นต้น
ยาที่มีส่วนผสมของฟีนาสเตอไรด์สามารถลดปริมาณฮอร์โมน DHT ได้ และยังช่วยกระตุ้นให้รากผมสร้างผมได้ดีขึ้น ผมที่งอกใหม่เส้นหนาขึ้น แต่ยาชนิดนี้สามารถรักษาอาการผมร่วงผมบางในระยะเริ่มต้นเท่านั้น หากหัวล้านหรือรากผมฝ่อไปแล้ว อาจรักษาไม่ได้ผล และอาจต้องใช้ยานี้ควบคู่กับการผ่าตัดปลูกผม
ผลลัพธ์ของยาปลูกผมฟีนาสเตอไรด์จะค่อย ๆ เห็นผลหลังจากใช้ยาต่อเนื่องประมาณ 3-6 เดือน และจะเห็นผลอย่างชัดเจนประมาณ 1 ปี หากหยุดใช้ยา อาการผมบางอาจจะกลับมาได้ จึงควรใช้ยาต่อเนื่องหลังจากที่ได้เริ่มรักษาไปแล้ว
รายละเอียดยา
- รูปแบบและขนาดยาที่ใช้
ยาฟีนาสเตอไรด์เป็นยารับประทาน (ยาเม็ด) โดยทั่วไปมี 2 ขนาดคือ ขนาด 1 มิลลิกรัม และขนาด 5 มิลลิกรัม โดยขนาดของยาที่ใช้ควรจะต้องได้รับการสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น ไม่ควรซื้อรับประทานเอง เนื่องจากยามีผลข้างเคียง และขนาดของยาในการรักษา แตกต่างจากโรคอื่นๆที่ใช้ยาชนิดเดียวกัน
- ข้อห้ามใช้
- ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
- ผู้ที่มีโรคตับและการทำงานของตับผิดปกติ
- ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของยา
ยาปลูกผมไมนอกซิดิล (Minoxidil)
ยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) คือยาที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาผมร่วง ผมบางได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ยาไมนอกซิดิลเป็นตัวยาตัวเดียวที่ถูกรับรองว่าสามารถใช้เป็นยาแก้ผมร่วงสำหรับผู้หญิง โดยเฉพาะสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ โดยยาไมนอกซิดิลเป็นยาออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิตสูง เมื่อผู้ป่วยใช้ยาตัวนี้ไประยะหนึ่งพบผลข้างเคียงจากการใช้ยาคือ มีผมงอกใหม่ แต่โดยปกติจะไม่ใช้ยาตัวนี้ในรูปแบบกินเพื่อรักษาโรคผมบางทางพันธุกรรม เนื่องจากมีผลข้างเคียงเรื่องความดันโลหิตและอาจทำให้ขนทั้งตัวงอกมากขึ้นได้ ยาตัวนี้จึงมักใช้ในรูปแบบทาหรือหยอดหนังศีรษะเท่านั้น
การออกฤทธิ์ของยาไมนอกซิดิลโดยการหยอดหรือทาที่หนังศีรษะ จะออกฤทธิ์กระตุ้นรากผมที่ฝ่อลงให้ทำงานดีขึ้น ขยายหลอดเลือดที่เลี้ยงรากผม เมื่อเลือดเข้าถึงรากผมได้ดีขึ้นก็จะทำให้รากผมสุขภาพดี กระตุ้นรากผมให้งอกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมที่งอกใหม่จะมีเส้นหนาและแข็งแรง
ผลลัพธ์ของยาปลูกผมไมนอกซิดิลจะต้องใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 3-6 เดือนจึงจะค่อย ๆ เริ่มเห็นผล และจะเห็นผลชัดเจนหลังจากใช้อย่างน้อย 1 ปี หากหยุดใช้อาการผมร่วงผมบางก็จะกลับมาดังเดิม
รายละเอียดของยา
- รูปแบบและขนาดยาที่ใช้
- ยาใช้ภายนอก รูปแบบยาทา ขนาด 2% ถึง 5% แบ่งตามความเข้มข้นของยา มีในรูปแบบยาหยอด โฟม และสเปรย์
- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม เป็นยาในรูปแบบรับประทาน มีผลข้างเคียงต่อระบบหัวใจหลอดเลือด โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในรูปแบบรับประทาน เพื่อการรักษาผมบางทางพันธุกรรม
- ข้อห้ามใช้
- ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
- ห้ามใช้ในเด็ก หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
- กรณีที่ใช้แบบทา สามารถใช้ได้แค่บริเวณศีรษะหรือบริเวณที่ต้องการให้ขนขึ้นเท่านั้น ห้ามใช้กับส่วนอื่นของร่างกาย
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปลูกผม
การเลือกใช้ยาปลูกผมแต่ละชนิดมีผลข้างเคียง แม้ว่าแพทย์จะเป็นผู้เลือกยาให้ก็ตาม แต่ถ้าหากซื้อยามาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์อาจเลือกใช้ยาไม่เหมาะสมกับตนเอง และอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมาได้
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปลูกผมฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride)
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ อวัยวะเพศแข็งตัวยากขึ้น และน้ำอสุจิลดลง เนื่องจากยาฟีนาสเตอไรด์จะไปลดการสร้างฮอร์โมน DHT หรือฮอร์โมนเพศชาย แต่ถ้าหากหยุดยาอาการก็จะกลับมาเป็นปกติ
- ค่าการทำงานของตับผิดปกติ
- ภาวะซึมเศร้า
- หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและรับประทานยาฟีนาสเตอไรด์ จะทำให้ไม่สามารถตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มแรกได้
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปลูกผมไมนอกซิดิล (Minoxidil)
- ไมนอกซิดิลชนิดเม็ด ถึงแม้ยาไมนอกซิดิลแบบเม็ดรับประทานจะช่วยปลูกผมได้ แต่กลับมีผลข้างเคียงมากจึงไม่นิยมใช้ในการรักษา
- การเต้นของหัวใจผิดปกติ
- เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก
- เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- ความดันตก หน้ามืด เป็นลม
- ไมนอกซิดิลชนิดแบบน้ำทาภายนอก จะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าชนิดเม็ด เนื่องจากตัวยาจะซึมเข้าสู่ผิวเฉพาะบริเวณศีรษะเท่านั้น แต่มีผลข้างเคียงเล็กน้อยคือ อาจทำให้ผิวบริเวณนั้นแห้งเนื่องจากตัวยาแบบน้ำมักมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
อย่างไรก็ตามก่อนใช้ยาปลูกผมฟีนาสเตอไรด์และยาปลูกผมไมนอกซิดิล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำก่อนใช้เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อันตรายตามมา
ใช้ยาปลูกผมแล้วไม่ได้ผล เป็นเพราะอะไร?
หากใช้ยาปลูกผมแล้วไม่ได้ผลสามารถเกิดได้จากหลากสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์และใช้ยาไม่ตรงกับสาเหตุของผมร่วง ผมบาง หรือขนาดยา และวิธีการรักษาไม่เหมาะสมต่อระยะของผมร่วง ผมบาง
- กรณีที่ใช้ยาไม่ตรงกับสาเหตุผมร่วง เช่น ในผู้ชายที่ไม่ได้ผมร่วงจากสาเหตุฮอร์โมน แต่ผมร่วงจากขาดธาตุเหล็ก เป็นต้น การใช้ยาฟีนาสเตอโรนที่ช่วยลดฮอร์โมนเพียงอย่างเดียวก็จะไม่สามารถรักษาอาการผมร่วงผมบางได้
- กรณีที่รากผมฝ่อไปแล้ว ก็จะไม่สามารถรักษาอาการผมร่วงผมบางด้วยการใช้ยาปลูกผมได้ เช่น ผู้ที่มีปัญหาหัวล้าน ไม่มีรากผมให้ยาไปกระตุ้น เป็นต้น อาจต้องใช้การผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นผมช่วยในการรักษา
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาแก้หัวล้านหรือวิธีแก้หัวล้านได้ที่ :
“ต่อมรากผม (Hair Follicle) เป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม เพราะเป็นส่วนที่มีเลือดและเส้นประสาทไปเลี้ยง ทำให้เซลล์รากผมมีการเจริญแบ่งตัวเกิดเซลล์ใหม่ของผมขึ้น คนปกติจะมีต่อมรากผมประมาณ 5 ล้านต่อมและจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงเมื่ออายุมากขึ้น”
ยาปลูกผมตามท้องตลาดใช้ได้ผลจริงไหม?
เคยสงสัยไหมว่า ในท้องตลาดปัจจุบันมียาปลูกผมอยู่หลากหลายแบบ แต่ทำไมยาปลูกผมที่วางขายถึงไม่เคยให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนเลย หนำซ้ำบางคนเมื่อใช้ไปแล้วกลับไม่เห็นผล ความเป็นจริงแล้วยาปลูกผมตามท้องตลาดไม่สามารถแก้หัวล้านหรือทดแทนการปลูกผมได้จริง ๆ เนื่องจากยาปลูกผมเหล่านี้ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยตรง แต่เป็นเพียงแค่การบำรุงเฉย ๆ ทำให้เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมผลิตภัณฑ์ปลูกผมที่วางขายทั่วไปใช้ไม่ค่อยได้ผลนั่นเอง
สำหรับผู้ที่มีอาการผมร่วงผมบางในระยะเริ่มต้นก็สามารถซื้อยาปลูกผมมาทดลองใช้เองได้ โดยวิธีการเลือกซื้อยาปลูกผมตามท้องตลาดควรดูที่ส่วนผสมมากกว่ายี่ห้อ เนื่องจากปัญหาผมร่วงแต่ละคนก็จะมีสภาพเส้นผมหรือหนังศีรษะที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าหากมีอาการผมร่วงในระยะกลางถึงรุนแรงควรเข้าพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้รากผมฝ่อและต้องรักษาอาการหัวล้านผมบางด้วยวิธีผ่าตัด
การเลือกซื้อน้ำยาปลูกผมสำหรับใช้ภายนอกในท้องตลาดทั่วไป ถ้ามีตัวยาไมนอกซิดิลผสมอยู่ด้วยประมาณ 2-5% ก็สามารถใช้ได้ เพราะมีโอกาสที่จะเห็นผลกว่ายาปลูกผมชนิดอื่นๆเพียงอย่างเดียว ส่วนสมุนไพรที่ผ่านงานวิจัยรับรองแล้วว่าสามารถช่วยป้องกันและลดอาการผมร่วงผมบางได้ เช่น มะขามป้อม อัญชัน ขิง เป็นต้น สำหรับรายละเอียดสารสกัดจากธรรมชาติจะอธิบายต่อในหัวข้อต่อไป
แร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยป้องกันและลดอาการผมร่วง
สารสกัดจากธรรมชาติ รวมถึงอาหารเสริมหรือวิตามินบำรุงผมแบบเม็ดจะช่วยลดอาการผมร่วง และช่วยเป็นทางเลือกเสริมการรักษาเท่านั้น ไม่สามารถรักษาผมร่วง ผมบางให้หายได้ ที่สำคัญที่สุดควรรับประทานหรือใช้ในปริมาณที่พอดี และต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อรับรองความปลอดภัยด้วย
แร่ธาตุและวิตามินบำรุงผม
- ไบโอติน (Biotin) ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่สร้างใหม่และแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา เช่น เส้นผม เล็บ และผิวหนัง ไบโอตินมีคุณสมบัติช่วยบำรุงเท่านั้น ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง โดยมักพบไบโอตินในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผักและผลไม้ ถั่วและธัญพืช นมและโยเกิร์ต
- แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี จะช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ได้จากแหล่งอาหาร เช่น เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล ธัญพืช ผลไม้และผักใบเขียว เป็นต้น
- วิตามินเอ (Vitamin A) ช่วยให้หนังศีรษะและเส้นผมแข็งแรง พบมากในผักใบเขียวและผลไม้มีสี
- วิตามินบี (Vitamin B) ช่วยควบคุมการหลั่งของน้ำมันธรรมชาติเพื่อหล่อลื่นเส้นผมให้ชุ่มชื้น พบมากในผักใบเขียว มะเขือเทศ กล้วย โยเกิร์ต และธัญพืช
หากรับประทานอาหารเสริมที่แปรรูปเป็นแบบเม็ดแคปซูลหรือแบบผงชงต่าง ๆ ควรรับประทานในปริมาณที่พอดี หากได้รับสารอาหารมากเกินความจำเป็นอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
การใช้ยาปลูกผมร่วมกับการรักษาอื่นๆ
การใช้ยาปลูกผมต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน รวมถึงต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาอาจจะต้องหยุดใช้ยา ทำให้ไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาปลูกผมได้จึงอาจต้องใช้การรักษาทางเลือกรูปแบบอื่นควบคู่กันไปด้วย โดยมีวิธีรักษาดังนี้
ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP)
การฉีด PRP ผม หรือ Platelet Rich Plasma เป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นเข้าไปที่หนังศีรษะ โดยจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ผม ทำให้ผมงอกได้ดีขึ้น เซลล์ผมมีการเจริญเติบโตขึ้น ช่วยฟื้นฟูให้รากผมที่เสียหายจากฮอร์โมนหรือการขาดเลือดกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของการรักษายังอยู่ระหว่างการวิจัย ว่าสามารถช่วยรักษาได้มากเพียงใด
วิธี PRP มีความเสี่ยงค่อนข้างน้อยมาก เนื่องจากเป็นการนำเอาเลือดของผู้เข้ารับการรักษามาใช้เอง โดยใช้วิธีเอาน้ำเลือดเข้าเครื่องปั่นให้เลือดแยกชั้นออกมา น้ำเลือดที่ได้จึงเต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่าง ๆ ทำให้การฉีด PRP มีความปลอดภัย หากทำโดยทีมแพทย์เชี่ยวชาญ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : PRP ผม คืออะไร ? รักษาอาการผมร่วงผมบางได้จริงหรือ
เซลล์บำบัด (Regenera activa)
เซลล์บำบัด (Regenera activa) เป็นการปลูกผมโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยจะทำการปลูกผมในลักษณะการฉีดสเต็มเซลล์เข้าสู่ศีรษะบริเวณที่เกิดปัญหาผมร่วงผมบาง ซึ่งสเต็มเซลล์จะได้มาจากการปั่นแยกสเต็มเซลล์ที่ยังไม่โตเต็มวัยให้เป็นขนาดเล็ก สเต็มเซลล์นี้จะเข้าไปกระตุ้นให้รากผมที่อ่อนแอกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง การฉีดสเต็มเซลล์รากผมเป็นการนำเอาสเต็มเซลล์จากหนังศีรษะของผู้เข้ารักษาเอง จึงทำให้มีผลข้างเคียงน้อยมาก
Fotona laser
การทำโฟโตน่า เลเซอร์ (Fotona Laser) คือการใช้เลเซอร์พลังงานต่ำยิงเข้าไปที่หนังศีรษะบริเวณผมร่วง ผมบาง เลเซอร์นี้จะเข้าไปช่วยกระตุ้นหนังศีรษะให้เซลล์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างรากผม ทำให้ผมแข็งแรงขึ้น มีการสร้างเส้นเลือดฝอยมากขึ้น ผมที่ขึ้นใหม่มีเส้นใหญ่ ไม่ร่วงง่าย
เลเซอร์หนังศีรษะ (LLLT : Low-Level Laser Therapy)
การปลูกผมด้วยเลเซอร์ ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบหมวก หรือที่เรียกกันว่าหมวกเลเซอร์ ที่คาดผม หรือโคมไฟฉายหนังศีรษะ จะช่วยรักษาอาการผมร่วงผมบางในระยะเริ่มต้น ช่วยสมานแผลให้เร็วขึ้น ลดอาการหนังศีรษะอักเสบ โดยจะฉายเลเซอร์ LLLT พลังงานต่ำลงไปที่หนังศีรษะ พลังงานนั้นจะช่วยกระตุ้นเซลล์รากผมให้ทำงานดีขึ้น สารอาหารมาเลี้ยงได้มากขึ้น ทำให้ผมแข็งแรงและงอกเร็ว ผมร่วงน้อยลง ในระยะยาวจะช่วยให้เส้นผมหนาขึ้น เส้นเลือดฝอยบนศีรษะมากขึ้น แต่วิธีนี้ใช้เวลาเห็นผลค่อนข้างนานและต้องทำเป็นประจำที่บ้านอีกด้วย อาจใช้เป็นเพียงวิธีเสริมกับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอื่นๆ
ปรึกษาเรื่องการปลูกผมโดยผู้เชี่ยวชาญ SkinX
วิธีปลูกผมร่วงผมบางที่ดีที่สุดคือ การปลูกผมที่เหมาะกับลักษณะปัญหาผมของตนเอง โดยเข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ เพราะแพทย์จะสามารถแนะนำตัวยาปลูกผมหรือวางแผนการรักษาปลูกผมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้
SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์มีบริการให้คำปรึกษาในด้านปัญหาผมและหนังศีรษะ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำมากมาย ตั้งแต่ให้คำปรึกษา สั่งยา เก็บประวัติและติดตามผล ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางก็สามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้
สรุป
ยาปลูกผมตามท้องตลาดมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ก่อนการเลือกซื้อนำมาใช้ควรพิจารณาจากส่วนผสมเป็นหลัก รวมถึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากอย.ไทยเท่านั้น สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ยาฟีนาสเตอไรด์หรือยาไมนอกซิดิลควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยและเลือกยาให้เข้ากับปัญหาผมร่วงผมบางของแต่ละบุคคล รวมถึงป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
SkinX แอปพลิเคชันพบหมอผิวหนังออนไลน์ ที่ได้รวบรวมแพทย์ผิวหนังจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำมาให้เลือกมากมายถึง 210 คน พร้อมให้คำปรึกษามากกว่า 20 ประเภท ไม่ว่าจะเป็น เส้นผมหนังศีรษะ ผิวพรรณความงาม ปัญหาสิว เป็นต้น
ดาวน์โหลดแอปฯ SkinX เลย เพื่อปรึกษาปัญหาผมร่วงผมบาง สำหรับผู้ใช้บริการรายใหม่ ปรึกษาแพทย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ข้อมูลอ้างอิง
Finasteride Tablet 5 Alpha-Reductase Inhibitors – Uses, Side Effects, and More. WebMD. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-1548-9167/finasteride-oral/finasteride-hair-growth-oral/details
Minoxidil Solution, Non- – Uses, Side Effects, and More. WebMD. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-3503/minoxidil-topical/details#:~:text=Part%20your%20hair%20in%20the,cold%20water%20and%20dry%20well.