SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

23 กุมภาพันธ์ 2566

เชื้อราบนหนังศีรษะ ปัญหาที่คอยทำลายความมั่นใจของหลายๆ คน

tinea-capitis

หนังศีรษะลอกเป็นขุยมาพร้อมกันอาการคันหนังศีรษะมาก อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าหนังศีรษะของคุณกำลังเผชิญกับปัญหาที่เรียกว่า “เชื้อราบนหนังศีรษะ” โดยที่เชื้อราบนหนังศีรษะมักจะมีลักษณะคล้ายกับรังแคจนทำให้หลายคนเกิดความสับสน และไม่ทันได้ระวังตัว

 

ซึ่งเชื้อราบนหนังศีรษะสามารถทำให้เกิดอาการคันหัว ผมร่วง และเกิดแผลเป็นสะเก็ด เวลาสระผมอาจจะรู้สึกแสบบริเวณหนังศีรษะ นอกจากนี้เชื้อราบนหนังศีรษะยังเป็นสาเหตุที่คอยทำลายความมั่นใจให้กับหลายๆ คน เนื่องจากผมร่วงผมบางซึ่งสร้างความเครียด วิตกกังวล และทำให้เสียโอกาสสำคัญต่างๆ 

 

บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับหัวเป็นเชื้อรา เชื้อราบนหนังศีรษะ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ อาการเบื้องต้น พร้อมแนะนำวิธีรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ ถ้าพร้อมแล้วลองหาคำตอบของคำถามที่คุณสงสัยในบทความนี้ 

 

ทำความรู้จักกับ SkinX แอปพลิเคชั่นสุดไฮเทค ที่จะช่วยให้คุณสามารถปรึกษาปัญหากับแพทย์ผิวหนังออนไลน์ โดยที่รวบรวมเหล่าทีมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำมากมายถึง 210 คน มาให้คำปรึกษาด้านผิวหนัง ด้านเส้นผมและหนังศีรษะโดยเฉพาะ ผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาผ่านแอปพลิเคชั่นในครั้งแรกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เชื้อราบนหนังศีรษะ

สารบัญบทความ

เชื้อราบนหนังศีรษะ หรือ กลาก คืออะไร?

เชื้อราบนหนังศีรษะ หรือ กลากบริเวณศีรษะ (Tinea Capitis) เกิดจาก เชื้อราที่สามารถก่อโรคได้ทั้งบริเวณหนังศีรษะชั้นบน เส้นผม รากผม ขนตา ขนคิ้ว เล็บ และผิวหนังส่วนอื่นๆ ซึ่งเชื้อราประเภทนี้จะทำให้หนังศีรษะเกิดแผลเป็นสะเก็ด หรือ แห้งลอกเป็นขุย นอกจากนี้เมื่อหนังศีรษะติดเชื้อราแล้วมักจะตามมาด้วยอาการคัน ผมร่วง ผมร่วงเป็นย่อม และบางรายอาจจะมีอาการหนังศีรษะอักเสบร่วมด้วย 


สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อราอาจจะแสดงอาการภายใน 7-14 วัน หรือ ไม่แสดงอาการเป็นเพียงแค่พาหะแพร่เชื้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันร่างกายของแต่ละคน ถ้าหากภูมิกันร่างกายแข็งแรงอาจจะเป็นแค่เพียงพาหะเท่านั้น แต่ถ้าหากร่างกายไม่แข็งแรงอาจจะทำให้ติดเชื้อและก่อให้เกิดอาการดังกล่าวข้างต้นได้ 

สาเหตุของเชื้อราบนหนังศีรษะ

สาเหตุของเชื้อราบนหนังศีรษะ

สาเหตุของเชื้อราบนหนังศีรษะส่วนใหญ่มาจาก เชื้อรากลุ่ม Dermatophytes ซึ่งสามารถพบเชื้อราประเภทนี้ได้จากสัตว์เลี้ยง คน และสามารถพบได้ในดิน ซึ่งสายพันธุ์ที่มักจะทำให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ  และทำให้เกิดผมร่วงเป็นหย่อมมีทั้งหมด 2 สายพันธุ์ ได้แก่ 

 

  1. Microsporum เชื้อราประเภทนี้จะทำลายเคราตินในเส้นผมทำให้รากผมอ่อนแอ และทำให้หนังศีรษะแห้ง ลอกเป็นขุย รู้สึกคันมากบริเวณหนังศีรษะ ซึ่งเชื้อราประเภทนี้สามารถพบได้กับสัตว์เลี้ยง เช่น แมว หรือ สุนัข เป็นต้น

  2. Trichophyton เชื้อราประเภทนี้จะทำให้เส้นผมอ่อนแอและขาดได้ง่าย ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม จนสามารถสังเกตหนังศีรษะบริเวณที่ได้รับเชื้อได้

 

ทั้งนี้เชื้อราบนหนังศีรษะอาจจะรุนแรงถึงขั้นเกิดการอักเสบร่วมด้วย จนทำให้หนังศีรษะกลายเป็นแผลในที่สุด และ เมื่อเป็นแผลเป็นที่บริเวณหนังศีรษะแล้ว รากผมจะไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้อีก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะผมบางหรือหนังศีรษะล้านเฉพาะจุด

เชื้อราบนหนังศีรษะ ติดต่อกันได้อย่างไร

เชื้อราบนหนังศีรษะเป็นหนึ่งในโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่สามารถติดได้ทั้งจากคน สัตว์ และสิ่งของ โดยสาเหตุหลักของเชื้อราบนหนังศีรษะมักมาจากการติดเชื้อจากสิ่งรอบข้าง ได้แก่ 

 

ติดจากคนสู่คน

เชื้อราบนหนังศีรษะที่เกิดจากการติดเชื้อจากคนสู่คน มักจะพบในเด็กที่มีภูมิกันร่างกายค่อนข้างต่ำ อ่อนแอ และไม่ค่อยระมัดระวังตัวทำให้ติดเชื้อรามาจากเด็กวัยเดียวกันจากโรงเรียน  หรือ พบในผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ที่เป็นเชื้อราหรือเป็นพาหะและใช้สิ่งของร่วมกัน เมื่อติดเชื้อแล้วมักจะแสดงอาการภายใน 2 สัปดาห์ 

 

ติดจากสัตว์สู่คน

บางครั้งเชื้อราบนหนังศีรษะอาจจะมาจากการติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข และ แมว ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ที่บ้าน และมักจะคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงที่บ้านบ่อยๆ เช่น นอนเตียงเดียวกัน หรือ เล่นกับสัตว์เลี้ยงแล้วไม่ได้ล้างมือ 

 

ติดจากสิ่งของ

หลายคนอาจจะมองข้ามสาเหตุการติดเชื้อราบนหนังศีรษะจากสิ่งของ แต่จริงๆ แล้วการติดเชื้อราจากสิ่งของเป็นสาเหตุที่สามารถพบได้บ่อยไม่แพ้สาเหตุอื่นๆ โดยเกิดจากการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่เป็นพาหะเชื้อรา เช่น หวี กรรไกรตัดผม หมวก ผ้าเช็ดตัว หรือ เสื้อผ้า เป็นต้น ทั้งนี้เวลาเข้าร้านตัดผม ทำผม จำเป็นต้องเลือกร้านที่ถูกสะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ หรือ เมื่อเป็นแผลบริเวณหนังศีรษะแนะนำให้หลีกเลี่ยงใช้ของร่วมกับผู้อื่นไปก่อน 

 

การติดเชื้อราบนหน้าศีรษะไม่ใช่ทุกคนที่จะติดเชื้อ ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อราบนหนังศีรษะมักจะเป็นผู้ที่มีบาดแผล ทำให้เชื้อราสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ และ มักพบในผู้ที่ในขณะนั้นภูมิกันคุ้มในร่างกายค่อนข้างต่ำ ร่างกายไม่แข็งแรงจนทำให้ติดเชื้อราได้ง่ายกว่าคนปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ

ในปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจจะทำให้ติดเชื้อราบนหนังศีรษะ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อรา มีดังนี้

 

  • ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตก 
  • ผู้ที่มีบาดแผลบนหนังศีรษะ ทำให้เชื้อราสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 
  • ผู้ที่เกาศีรษะแรงๆ เป็นประจำ หรือ มัดผมแน่นเกินไป 
  • ผู้ที่อยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยง และ มักสัมผัส คลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงบ่อยๆ 
  • เด็กในช่วงวัยอนุบาล และ ประถม 
  • ตัดผม หรือ ทำผม ที่ร้านทำผมที่ไม่ได้มาตรฐาน และ ไม่รักษาความสะอาด 
  • ผู้ที่ไม่ค่อยสระผม หรือ สระผมน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง 
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคผื่น ภูมิแพ้ผิวหนัง โรคมะเร็ง โรคเอดส์ และโรคอื่นๆ 

อาการเชื้อราบนหนังศีรษะ

ส่วนใหญ่ผู้ที่ร่างกายได้รับเชื้อมักจะแสดงอาการภายใน 2 สัปดาห์ โดยที่อาการของการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ สามารถแสดงออกมาได้หลายอาการ ดังนี้ 

 

  • ผมร่วง ผมร่วงเป็นหย่อม และ อาจจะสังเกตเห็นเป็นตอผมจุดสีดำๆ
  • ผื่นขึ้นเป็นวงกลมบริเวณหนังศีรษะ 
  • หนังศีรษะแห้ง ลอกเป็นขุย คล้ายรังแค 
  • รู้สึกคันอย่างรุนแรงบริเวณหนังศีรษะ 
  • ผมร่วง ผมอ่อนแอ ขาดง่าย เพราะเคราตินถูกทำลาย 
  • หากเป็นการติดเชื้อราบนหนังศีรษะในเด็กอาจจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอ หรือ หลังหูโต 

 

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อราบนหนังศีรษะอาจจะเกิดการอักเสบที่รุนแรง โดยสังเกตได้จากอาการที่แสดงออกมา ต่อไปนี้ 

 

  • มีไข้ต่ำๆ ร่วม และ เจ็บบริเวณที่ติดเชื้อ
  • อาจจะมีตุ่มหนองเล็กๆ หรือ เป็นฝี 
  • มีหนองเป็นก้อน ที่นูนขึ้นมา เรียกว่า ชันตุ (Kerion)
  • หนังศีรษะบริเวณที่ติดเชื้อรามีสีแดง 


อาการผมร่วงเป็นหย่อมอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับอาการ ผมร่วงเป็นหย่อม เพิ่มเติมได้ที่นี่

วิธีรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะ

วิธีรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะ

หากคุณสงสัยว่าตนเองติดเชื้อราบนหนังศีรษะ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ ไม่แนะนำให้พยายามรักษาเชื้อราด้วยตนเองด้วยการไปซื้อยามาทาหรือทานเอง เพราะอาจจะทำให้อาการรุนแรงและแย่ลงมากกว่าเดิม จนทำให้เกิดแผลเป็นบนหนังศีรษะ 

 

สำหรับผู้ที่ไปพบแพทย์เพื่อรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะ หากไม่มีอาการอักเสบร่วมด้วย แพทย์จะแบ่งการรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 

 

  1. ยาสระผมฆ่าเชื้อรา หากอาการติดเชื้อราบนหนังศีรษะเริ่มแรกไม่รุนแรง และ ไม่มีการอักเสบร่วม แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้ยาสระผมที่ส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา โดยใช้ยาสระผมวันเว้นวัน หรือ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และผู้ที่รักษาอาการติดเชื้อราบนหนังศีรษะด้วยยาสระผมฆ่าเชื้อรา อาจจะใช้ยาทารักษาร่วมด้วยได้
  2. ยารักษาเชื้อราบนหนังศีรษะแบบทาน แพทย์มักจะแนะนำให้ทานยารักษาเชื้อราบนหนังศีรษะประมาณ 6-12 สัปดาห์ ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ยาสระผมฆ่าเชื้อรา หรือ ยาทาเชื้อราบนหนังศีรษะ 

 

วิธีรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะจะไม่เหมือนกับการปลูกผม ไม่จำเป็นต้องโกนผม แม้ว่าจะมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมจนสังเกตได้ชัด ส่วนใหญ่มักจะรักษาด้วยการรับประทานยา หรือ ใช้ยาทาเชื้อรา ยาสระผมที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ 

 

วิธีรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะที่เกิดการอักเสบร่วม 

 

สำหรับผู้ที่เป็นเชื้อราบนหนังศีรษะร่วมกับการอักเสบ แพทย์อาจจะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีทานยาแก้อักเสบและยากดภูมิ เพราะการอักเสบเกิดจากร่างกายตอบสนองกับเชื้อราที่ดีเกินไป ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานมากกว่าปกติจนทำให้เกิดการอักเสบในที่สุด

 

ทั้งนี้ผู้ที่มีเชื้อราบนหนังศีรษะร่วมกับการอักเสบควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที เพราะอาจจะทำให้เกิดแผลเป็นขนาดใหญ่บนหนังศีรษะ และอาจจะทำให้ผมไม่งอกใหม่อีกเลย ซึ่งอาจจะส่งผลให้การรักษาด้วยการปลูกผมถาวร หรือ ทานยาปลูกผมก็อาจจะไม่ได้ผล 

 

และในกรณีที่รักษาเชื้อราบนหนังศีรษะหายดีแล้ว แต่ผมไม่สามารถงอกมาใหม่ได้หรือ ผมที่ขึ้นมาใหม่แต่กลับบางกว่าเดิม ทั้งที่ไม่ได้เป็นแผลเป็นแพทย์อาจจะแนะนำให้กระตุ้นรากผมด้วยการทำฉีดสเต็มเซลล์ผม (Rigenera Activa), การทำ PRP ผม, เลเซอร์ LLLT หรือ Fotona Laser ที่จะช่วยกระตุ้นให้รากผมกลับมาแข็งแรงและทำให้ผมกลับมาหนาขึ้นอีกครั้ง 

 

สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาปัญหาเชื้อราบนหนังศีรษะ รวมทั้งปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือ ปลูกผม กับแพทย์เฉพาะทางด้านหนังศีรษะและเส้นผมโดยเฉพาะ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น SkinX ที่จะช่วยให้คุณสามารถปรึกษาปัญหาที่คอยสร้างความกังวลใจให้กับคุณ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาลหรือคลินิก ไม่ทำให้สุ่มเสี่ยงในสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังผ่านสมาร์ทโฟนได้ทันที อย่าปล่อยให้ปัญหาเชื้อราบนหนังศีรษะ เป็นปัญหาที่ทำให้คุณเสียโอกาสสำคัญในชีวิต 

วิธีป้องกันเชื้อราบนหนังศีรษะ

วิธีป้องกันเชื้อราบนหนังศีรษะ

แม้ว่าโรคเชื้อราบนหนังศีรษะจะไม่ใช่โรคร้ายแรงที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่การป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะย่อมส่งผลดีกับตนเองมากกว่า โดยวิธีป้องกันเชื้อราบนหนังศีรษะ ได้แก่ 

 

  • รักษาความสะอาดร่างกายด้วยการสระผมบ่อยๆ และเช็ดผมให้แห้งสนิท 
  • รักษาความสะอาดบริเวณรอบๆ และ ของใช้ในชีวิตประจำวัน
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันได้ในร่างกายทำงานได้ปกติ
  • ล้างมือทุกครั้งหลังจากที่คลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงแล้ว
  • แยกของใช้จำเป็นจากผู้อื่น เช่น หวี ผ้าขนหนู หมวก
  • พาสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพประจำปี 
  • หลีกเลี่ยงการเกาศีรษะแรงๆ เพราะอาจจะทำให้เกิดแผล 
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ หรือ กลาก กับทุกคนในบ้าน 

 

ในกรณีที่คนภายในครอบครัว หรือ อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน เป็นเชื้อราบนหนังศีรษะ แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นๆ ติดเชื้อรา 

 

  • หากมีคนในบ้านเป็นเชื้อราบนหนังศีรษะทุกคนที่อาศัยอยู่ด้วยกันรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย 
  • แม้ว่าจะไม่ได้ติดเชื้อ แต่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ยาสระผม หรือ แชมพูฆ่าเชื้อราแบบเดียวกับที่ผู้ป่วยใช้ โดยใช้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ 
  • แยกของใช้ส่วนตัวกับของใช้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อราอย่างชัดเจน 
  • หมั่นทำความสะอาดบ้าน และ ล้างมือหลังจากสัมผัสผู้ป่วย

นำของใช้ของผู้ป่วยไปทำความสะอาดด้วยการผ่านความร้อนและน้ำยาฆ่าเชื้อรา

สรุป

เชื้อราบนหนังศีรษะเป็นโรคที่สามารถทำให้เกิดภาวะผมร่วง หรือ ผมร่วงเป็นหย่อม แม้ว่าจะไม่ใช่โรคที่อันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตและเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ผู้ที่เป็นเชื้อราบนหนังศีรษะหลังจากรักษาหายดีแล้ว ผมอาจจะไม่งอกขึ้นมาใหม่เนื่องจากหนังศีรษะเป็นแผลเป็น หรือ ผมที่งอกขึ้นมาใหม่อ่อนแอและบางลงกว่าเดิม 

 

ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการปลูกผม ฉีดสเต็มเซลล์ผม , การทำ PRP ผม, เลเซอร์ LLLT หรือ เลเซอร์ Fotona ทั้งนี้การรักษาอาการผมร่วงผมบางควรปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญเพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดียิ่งกว่า 

ข้อมูลอ้างอิง 

 

Cleveland Staff. (2022, Mar 03). Tinea Capitis. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22449-tinea-capitis

 

Gus, M. (2020, Sep). Tinea capitis. dermNet All about the skin. https://dermnetnz.org/topics/tinea-capitis 

Dr.Tarinee K. (2023). https://drtarinee.com/

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า