SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

6 สิงหาคม 2567

นอนน้อย ปวดหัว คลื่นไส้ เกิดจากอะไร? ทำยังไงถึงจะหาย?

นอนน้อย ปวดหัว

นอนน้อยแล้วปวดหัว คงเป็นอาการที่ใครหลาย ๆ คนเคยเป็น ซึ่งแม้ดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การนอนน้อยแล้วพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็สามารถส่งผลเสียให้กับร่างกายได้มากมาย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ในบทความนี้ SkinX จะพาคุณไปทำความรู้จักกับอาการนอนน้อยให้มากขึ้น ว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง มีผลกระทบอย่างไร และการพักผ่อนนั้นสำคัญแค่ไหน 


SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ผิวหนังออนไลน์ ที่สามารถปรึกษากับแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางได้ทุกเวลา ไม่ต้องเดินทางไปหาหมอที่สถานพยาบาลแบบเดิม ๆ อีกต่อไป ลูกค้ารายใหม่ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX ได้เลยที่ App Store & Google Play

สารบัญบทความ

นอนกี่ชั่วโมงถึงนับว่านอนน้อย?

การนอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมง นับว่าเป็นการนอนน้อย และอาจปวดหัว ไม่สบายตัว ตื่นมาอย่างไม่สดชื่นตามมาได้ เพราะโดยปกติแล้ว มนุษย์เราควรนอนหลับวันละ 7-9 ชั่วโมง ถึงจะนับว่าเป็นการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเล็ก วัยรุ่น รวมไปถึงสตรีมีครรภ์ ควรนอนหลับให้มากกว่าปกติ เพื่อสุขภาพที่ดี และการเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

นอนน้อยแล้วปวดหัว มีสาเหตุมาจากอะไร?

นอนไม่พอ ปวดหัว คลื่นไส้

อาการนอนน้อย ปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม และสภาวะร่างกายของแต่ละบุคคล ตัวอย่างสาเหตุเช่น

1. พฤติกรรมการนอน

ปวดหัวจากการนอนน้อย อาจเกิดได้จากอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากอาการเหล่านี้ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในขณะหลับ จึงส่งผลให้เส้นเลือดมีการขยายตัว และปวดหัวจากอาการนอนไม่พอตามมา นอกจากนี้ หากสภาพแวดล้อมในการนอนไม่ดี เช่น ใช้หมอนที่ไม่สบายตัว ก็ส่งผลให้นอนได้น้อย และปวดหัว ปวดตาตามมาได้เช่นกัน

2. การดื่มคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์

หากดื่มคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ก่อนนอน ก็อาจทำให้เกิดอาการนอนน้อย และปวดหัวตามมาได้ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท และส่งผลต่อการขยายหรือหดตัวของหลอดเลือดโดยตรง จึงทำให้มีอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่พอ ปวดหัว หรือคลื่นไส้ตามมาหลังตื่นนอน

3. ภาวะเครียด

ภาวะเครียดสะสม จะก่อให้เกิดอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เช่น คอ บ่า ไหล่ ลามไปถึงศีรษะ และจะทำให้เกิดอาการปวดหัว จากการนอนน้อยได้ง่ายกว่าปกติ อีกทั้งภาวะซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล ก็สามารถส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวจากการนอนน้อยได้เช่นกัน

4. โรคไมเกรน

สำหรับผู้ป่วยโรคไมเกรน จะมีอาการหลักคือ ปวดกระบอกตา, ปวดคิ้ว, ปวดบริเวณขมับ หรือท้ายทอยเรื้อรัง ทั้งนี้ อาจมีอาการปวดหัวหลังนอนน้อย ร่วมกับอาการคลื่นไส้ และตาพร่าได้เช่นกัน

5. เนื้องอก

นอนน้อยแล้วปวดหัว อาจเป็นสัญญาณของอาการป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้ เช่น การเกิดเนื้องอกในสมอง ที่จะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ และชักเกร็งร่วมด้วย ทั้งนี้ หากพบว่าหลังจากตื่นนอนมีอาการดังเช่นที่กล่าวมา พร้อมอาการปวดหัวจี๊ด ๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา ก่อนที่อาการของโรคจะรุนแรงมากขึ้น

6. ยาบางชนิด

การรับประทานยาบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดการนอนน้อย และปวดหัวตามมาได้ ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หรือรับประทานยาเกินขนาด ควรปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกชนิดทุกครั้ง

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวจากการนอนน้อย

นอกจากสาเหตุหลักต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไป ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวจากการนอนน้อยได้อีกด้วย เช่น 

  • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนมีส่วนที่จะทำให้เกิดอาการปวดหัวขึ้นได้ โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลงมากเป็นพิเศษ จนทำให้เกิดอาการปวดหัวได้
  • อาหารที่รับประทาน อาหารบางชนิด หากทานมากเกินไป ก็ส่งผลให้มีอาการปวดหัวตามมาได้ เช่น เนยแข็ง ช็อกโกแลต อาหารรสจัด เป็นต้น
  • อากาศร้อนอบอ้าว เมื่อความดันในอากาศเปลี่ยนแปลงไปจากอากาศร้อน จะส่งผลให้สารเคมีในสมองถูกกระตุ้น และเกิดอาการปวดหัวตามมาได้
  • การออกกำลังกายอย่างหนัก หากหักโหมออกกำลังกายมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวตามมาได้ เนื่องจากเส้นเลือดบริเวณคอ และศีรษะมีอาการบวมจากการถูกกระตุ้นมากเกินไป
  • การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ จะต้องใช้สายตาตลอดเวลา จึงอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว ปวดกระบอกตา และมีอาการคลื่นไส้ได้
  • การนอนไม่เป็นเวลา สามารถส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตามมาได้ ควรเข้านอน และตื่นให้ตรงเวลา เพื่อประสิทธิภาพการนอนที่ดี และหลีกเลี่ยงอาการปวดหัว

ผลกระทบจากการนอนน้อย

นอนไม่พอ มึน หัว

ผลกระทบจากการนอนไม่พอมีมากมาย มีทั้งผลกระทบเล็ก ๆ ในระยะสั้น และผลกระทบอันตรายร้ายแรงในระยะยาว ซึ่งนอกจากนอนน้อยจะทำให้ปวดหัวแล้ว ยังมีผลเสียอื่น ๆ อีก เช่น 

  • รู้สึกไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า คลื่นไส้ ไม่มีแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ประสิทธิภาพในการทำงาน การตัดสินใจ และประมวลผลลดลง ขาดสมาธิ
  • มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด วิตกกังวล และซึมเศร้าได้ง่าย
  • มีความต้องการทางเพศลดต่ำลง
  • มีผิวพรรณที่ไม่ดี ผิวเหี่ยว หยาบกร้าน เกิดริ้วรอย และมีรอยขอบตาคล้ำมากขึ้น
  • มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น เนื่องจากมีความสามารถในการตัดสินใจลดลง หรือเผลอหลับใน
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรังมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน, โรคอ้วน, โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น

“เมื่อพักผ่อนน้อยเป็นประจำ จะทำให้สมองเสื่อม และโครงสร้างของรูปสมองเปลี่ยนไป จนอาจทำให้มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ มากขึ้น และสามารถพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ในเวลาต่อมา”

วิธีแก้อาการปวดหัวจากการนอนน้อย

วิธีแก้อาการปวดหัวจากการนอนน้อยมีหลายวิธี สามารถทำได้ดังนี้

  • ปรับพฤติกรรม ปรับเวลานอนให้เหมาะสม นอนให้ตรงเวลา และพักผ่อนให้เพียงพอเป็นจำนวน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน อีกทั้งยังควรที่จะออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ และทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ 
  • หลีกเลี่ยงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง เช่น งดดื่มคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ก่อนนอน ไม่ออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป พักสายตาจากหน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะ เป็นต้น
  • ใช้ยาบรรเทาอาการปวด เมื่อมีอาการปวดหัวจากการนอนน้อย สามารถรับประทานกลุ่มยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวได้ ทั้งนี้ ควรใช้ยาในความดูแลของแพทย์เสมอ ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง เพราะอาจทำให้อาการปวดหัวแย่ลงได้
  • รักษาจากต้นเหตุ อาการปวดหัว อาจเกิดขึ้นจากโรคต่าง ๆ เช่น ไมเกรน หรือเนื้องอกในสมองได้ หากมีอาการปวดหัวรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาจากต้นตอของโรค

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการนอนน้อยแล้วปวดหัว

ตอบคำถาม และข้อสงสัยที่พบบ่อยเกี่ยวกับการนอนน้อยแล้วปวดหัว

นอนน้อย ปวดหัว ควรพบแพทย์หรือไม่?

อาการปวดหัวจากการนอนน้อย สามารถหายเองได้ก็จริง แต่ถ้าหากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดหัวรุนแรงมากขึ้น, ปวดหัวสะสมมาเป็นระยะเวลานาน, ปวดหัวจนสะดุ้งตื่นกลางดึก หรือปวดหัวร่วมกับอาการอื่น ๆ อย่างแขนขาอ่อนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเกิดโรคอันตรายร้ายแรงตามมาได้

นอนน้อยแล้วปวดหัว กินอะไรหาย?

นอนน้อยแล้วปวดหัว สามารถกินยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวได้ แต่รับประทานยาแล้ว แต่หากอาการปวดหัวยังแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

นอนน้อย ปวดหัว เสี่ยงเป็นโรคใดไหม?

นอนน้อย ปวดหัว เสี่ยงเป็นโรคไมเกรน หรือโรคอื่น ๆ เช่น เนื้องอกในสมองได้ หากมีอาการปวดหัวรุนแรงมากขึ้น หรือมีอาการปวดหัวร่วมกับอาการทางกายภาพอื่น ๆ ที่ผิดปกติไป ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

สรุปเกี่ยวกับอาการนอนน้อยแล้วปวดหัว

สรุปเกี่ยวกับอาการนอนน้อยแล้วปวดหัว หากนอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมง นับว่าเป็นการพักผ่อนน้อย และอาจปวดหัว ตื่นมาอย่างไม่สดชื่นตามมาได้ ซึ่งอาการปวดหัวเพราะนอนน้อย สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง หากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างได้ อาการปวดหัวก็จะดีขึ้น ทั้งนี้ หากนอนน้อยเป็นประจำ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อร่างกายต่าง ๆ และอาจเกิดโรคเรื้อรังร้ายแรงได้ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น

 

สำหรับใครที่อยากปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพราะกำลังมีปัญหากังวลใจเกี่ยวกับผิว สามารถมารับคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางออนไลน์ ได้ที่แอปพลิเคชัน SkinX ในทุกเวลาที่คุณสะดวก โหลดเลยวันนี้ พร้อมรับดีลสุดคุ้มมากมาย

Reference

Cirino, E. (2018, November 27). Headache from Lack of Sleep? Here’s What to Do. Healthline. https://www.healthline.com/health/lack-of-sleep-headache

 

Bhatia, M. (2021, July 28). Lack of enough sleep at night can cause incessant headaches during the day. NeurologySleepCentre. https://neurologysleepcentre.com/blog/headache-due-to-lack-of-sleep/  

 

Geng, C. (2021, August 5). Lack of sleep and headaches: What to know. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/headache-from-lack-of-sleep 


Mutchler, C. (2023, November 1). How Can You Tell If You Have Sleep Deprivation—And Why Is It Bad?. Health. https://www.health.com/sleep-deprivation-8364530

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า