ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร? ฉีดแล้วอันตรายไหม มีวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้อย่างไรบ้าง?
ในปัจจุบันหัตถการเสริมความอย่าง “ฉีดฟิลเลอร์” ได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย ฟิลเลอร์ที่ผ่านอย.ไทยมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกมากขึ้น พร้อมๆ กับฟิลเลอร์ปลอมที่เข้ามาปะปนอยู่ในท้องตลาดมากขึ้น ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนฉีดฟิลเลอร์ รวมทั้งควรศึกษาวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ร่วมด้วย เพื่อป้องกันการเสี่ยงใช้ฟิลเลอร์ปลอม
ในบทความฟิลเลอร์ปลอมนี้ SkinX จะพามาเจาะลึกกับฟิลเลอร์ปลอมว่า ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร อันตรายแค่ไหน รวมถึงให้ความรู้เรื่องการตรวจสอบฟิลเลอร์แท้/ปลอมก่อนฉีดฟิลเลอร์
ทำความรู้จักกับ SkinX แอปพลิเคชันพบหมอออนไลน์ ที่ได้รวบรวมเหล่าทีมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำทั่วประเทศ มาให้คำปรึกษาด้านผิวหนังโดยเฉพาะ รวมถึงหัตถการเสริมความงามอย่างเช่น ฉีดฟิลเลอร์ ฉีดโบท็อกซ์
พิเศษสำหรับลูกค้าที่ใช้งานครั้งแรก สามารถปรึกษาแพทย์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดาวน์โหลแอปฯ ไว้เลยเพื่อพบกับโปรสกินแคร์ และดีลความงามจากคลินิกดังมากมาย
ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร?
ฟิลเลอร์ปลอมคือ ฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เช่น ซิลิโคนเหลว เมื่อฉีดเข้าไปแล้วอาจทิ้งสารตกค้างไว้ในชั้นผิว หรือเมื่อเวลาผ่านไปฟิลเลอร์อาจไหลรวมกันเป็นก้อน ส่งผลให้เกิดการอักเสบ บวมแดง หรือแพ้ รวมถึงอาจเกิดฟิลเลอร์เน่าทำให้ใบหน้าเสียโฉมหรือเสียรูปทรงได้ หากจะทำการรักษาต้องขูดออกหรือผ่าตัดเอาออกเท่านั้น ไม่มียา ฉีดสลายฟิลเลอร์
สำหรับในประเทศไทยฟิลเลอร์ปลอมคือ ฟิลเลอร์ที่ใช้สารเติมเต็มแบบกึ่งถาวรและแบบถาวร เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน เป็นต้น โดยสารเติมเต็มในฟิลเลอร์ชนิดเดียวที่ผ่านอย.ไทยคือ สารเติมเต็มไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นฟิลเลอร์แบบชั่วคราว
สารเติมเต็มในฟิลเลอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว
ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว (Temporary Filler) คือฟิลเลอร์ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง โดยสารเติมเต็มในฟิลเลอร์แบบชั่วคราวที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ สารเติมเต็มไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) และเป็นสารเติมเต็มชนิดเดียวที่ผ่านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไทย สารเติมเต็มชนิดนี้สามารถอยู่ได้นานประมาณ 6-24 เดือน เมื่อฟิลเลอร์สลายตัวสามารถเติมใหม่ได้เรื่อยๆ
- ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร
ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร (Semi Permanent Filler) คือฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายได้หมด สามารถอยู่ได้นานประมาณ 2-5 ปี ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรจะมีความปลอดภัยน้อยกว่าฟิลเลอร์แบบชั่วคราว เนื่องจากอาจยังมีสารตกค้างอยู่ในชั้นผิว หรือเมื่อฉีดไปนานๆ อาจเกิดปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อน เกิดการอักเสบตามมา ทำให้รักษายาก
ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวรมีใช้ในต่างประเทศ แต่ยังไม่ผ่านอย.ไทย ตัวอย่างสารเติมเต็มแบบกึ่งถาวร เช่น สารแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium Hydroxyapatite) สาร PLLA (Poly-L-lactic acid) และสาร Polyalkylimide
- ฟิลเลอร์แบบถาวร
ฟิลเลอร์ถาวร (Permanent Filler) คือฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เอง เป็นฟิลเลอร์ที่อยู่ถาวร และเป็นฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านอย.ไทยหรือฟิลเลอร์ปลอม สารเติมเต็มในฟิลเลอร์ถาวรนี้ เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน และสาร PMMA (Polymethyl-methacrylate microspheres) หลังฉีดไปแล้วผิวจะไม่สามารถดูดซึมได้ ทำให้ตกค้างอยู่ในชั้นผิว หากฉีดสารเติมเต็มเหล่านี้เข้าไปในชั้นผิวอาจมีผลข้างเคียงในระยะยาว เช่น ฟิลเลอร์ไหลย้อยผิดรูป หรือกลายเป็นพังผืด การรักษาทำได้โดยผ่าตัดออกหรือขูดออกเท่านั้น ไม่มียาฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอม
อันตรายจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอม
หลังจากฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าสู่ร่างกายในช่วงแรกๆ อาจยังไม่มีการแสดงอาการใดๆ ออกมา แต่เมื่อเวลาผ่านไปฟิลเลอร์ปลอมอาจเริ่มจับตัวกันเป็นก้อน จนเกิดการอักเสบ และค่อยๆ แสดงอาการออกมา โดยอันตรายที่เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอม มีดังนี้
- มีสารตกค้างอยู่ในชั้นผิว
- หากฉีดสารเติมเต็มแบบถาวร เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน เมื่อฉีดทิ้งไว้เป็นเวลานานหลายปี สารเหล่านี้จะเริ่มไหลลงมากองเป็นก้อน เป็นตุ่มนูน และเกิดการอักเสบตามมา
- ผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ผิดรูป
- อาจเกิดเนื้อตาย หรือเกิดพังผืด
- ผิวหนังบริเวณที่ฉีดเกิดการติดเชื้อ อักเสบ บวมแดง
- ไม่สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ ต้องขูดออกหรือต้องผ่าตัดออกเท่านั้น
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับฉีดฟิลเลอร์อันตรายได้ที่ : ฉีดฟิลเลอร์อันตรายจริงไหม ควรฉีดฟิลเลอร์ดีหรือเปล่า? คลายข้อสงสัยฟิลเลอร์อันตรายกับ SkinX
ฟิลเลอร์หิ้วต่างกับฟิลเลอร์ปลอมไหม?
ฟิลเลอร์หิ้วคืออะไร? ฟิลเลอร์หิ้วคือฟิลเลอร์แท้ที่ถูกลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศแบบผิดกฎหมาย ยังไม่ผ่านการลงทะเบียน ใช้ขนส่งที่ไม่ได้มาตรฐาน ผิดวิธี ไม่มีการเก็บรักษาอย่างถูกต้อง เช่น ไม่มีตู้เก็บความเย็นหรือไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ทำให้ไม่ผ่านการควบคุมคุณภาพ ผลที่ได้คือตัวยาเสื่อมสภาพ หากนำมาใช้อาจเกิดผลข้างเคียงตามมาได้
หรือในอีกกรณีหนึ่งคือฟิลเลอร์หิ้วอาจเป็นฟิลเลอร์ปลอมที่เลียนแบบของแท้ โดยสารที่ใช้อาจเป็นซิลิโคนเหลวก็ได้เช่นกัน หากฉีดเข้าไปแล้วอาจเป็นอันตรายได้ เพราะไม่มียาสลายฟิลเลอร์ การแก้ไขทำได้แค่ขูดออกหรือผ่าตัดเท่านั้น
ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อฟิลเลอร์หิ้วมาฉีดเองหรือหลงเชื่อกับฟิลเลอร์ราคาถูก เพราะอาจเจอฟิลเลอร์ปลอมได้ ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าฟิลเลอร์ที่หิ้วมานั้นเป็นของแท้จริงหรือเปล่า รวมถึงหากซื้อมาฉีดเองหรือให้คนอื่นฉีดให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้นั่นคือ ฉีดฟิลเลอร์ตาบอด
ข้อสังเกต ฟิลเลอร์แท้
ข้อสังเกตฟิลเลอร์แท้ที่สามารถนำไปตรวจสอบได้กับฟิลเลอร์ทุกยี่ห้อที่ผ่านอย.ไทย ดังนี้
- สังเกตเลข LOT ที่ต้องตรงกัน คือ เลข Lot. ที่กล่อง เลข Lot. ที่หลอด เลข Lot. ที่สติกเกอร์ และเลข Lot. ที่ซอง
- สามารถสแกน QR Code ได้ในบางรุ่น เช่น ฟิลเลอร์ Restylane ฟิลเลอร์ Neuramis เป็นต้น
- สามารถโทรเช็คเลข LOT กับบริษัทผู้จำหน่ายโดยตรงได้ ฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อจะต้องโทรเช็คเลข Lot. กับทางบริษัทผู้จำหน่ายได้
- กล่องฟิลเลอร์ต้องปิดผนึกไว้อยู่เสมอ
วิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แต่ละยี่ห้อมีอะไรบ้าง?
สำหรับคนที่ต้องการทราบว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นฟิลเลอร์ปลอม? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าฟิลเลอร์ที่เราใช้นั้นเป็นฟิลเลอร์แท้? ทาง SkinX ได้รวบรวมวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ของแต่ละยี่ห้อไว้ดังนี้
วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้ Juvederm
- ฟิลเลอร์ Juvederm แท้ต้องมีเลขทะเบียนอย.และเอกสารกำกับภาษาไทย
- สังเกตเลข Lot. โดยเลข Lot. ต้องตรงกัน 4 จุด คือ
เลข Lot. ที่สติกเกอร์
เลข Lot. ที่กล่อง
เลข Lot. ที่ซอง
เลข Lot. ที่หลอด - สามารถโทรเช็คเลข Lot. ได้ที่บริษัท Allergan Thailand (DSKH) บริษัทจัดจำหน่ายฟิลเลอร์ Juvederm โดยตรง หรือโทรศัพท์ 02 640 4999 ต่อ 1
วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้ Restylane
- ฟิลเลอร์ Restylane แท้ต้องมีเลขทะเบียนอย.และเอกสารกำกับภาษาไทย
- ต้องมีสติกเกอร์โมโนแกรมปิดกล่องเอาไว้ เมื่อลอกแล้วจะเห็นคำว่า “VOID”
- สามารถสแกน QR Code ด้วยแอปพลิเคชัน eZTracker : Safety in Each Scan ได้เพื่อตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ หากหน้าจอเป็นสีเขียว พร้อมระบุข้อความ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ถูกนำเข้าอย่างถูกกฎหมายโดยบริษัท กัลเดอร์มา (ประเทศไทย) แสดงว่าเป็นฟิลเลอร์ของแท้ แต่ถ้าหากหน้าจอเป็นสีส้มแสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ต้องสงสัย สามารถกดรายงานได้ในหน้าแอปพลิเคชันเพื่อให้ทางบริษัทตรวจสอบได้ทันที
- สังเกตเลข Lot. โดยเลข Lot. ต้องตรงกัน 3 จุด คือ
เลข Lot. ที่หลอด
เลข Lot. ที่ข้างกล่อง
เลข Lot. ที่สติกเกอร์
- สามารถโทรเช็คเลข Lot. ได้ที่บริษัท Galderma ประเทศไทย หรือโทรศัพท์ 02 023 1800 ต่อ 402
วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้ Neuramis
- ฟิลเลอร์ Neuramis แท้ต้องมีเลขทะเบียนอย.กำกับข้างกล่อง
- ผลิตภัณฑ์ต้องแสดงรายละเอียดฉลากภาษาไทยข้างกล่อง
- สามารถสแกน QR Code ข้างกล่องได้เพื่อตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ โดยผลิตภัณฑ์ของแท้จะแสดงรายละเอียด เช่น รูปผลิตภัณฑ์ ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อมูลบริษัท และวันที่ผลิต วันหมดอายุ ตรงกับข้อมูลข้างกล่อง
วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้ Belotero
- ต้องมีเลขทะเบียนอย.และเอกสารกำกับภาษาไทย
- สังเกตเลข Lot. โดยเลข Lot. ต้องตรงกัน 3 จุด คือ
เลข Lot. ที่สติกเกอร์
เลข Lot. ที่กล่อง
เลข Lot. ที่หลอด
- สามารถโทรเช็คเลข Lot. ได้ที่บริษัท Merz Aesthetics หรือโทรศัพท์ 092 254 2662
วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้ Perfectha Subskin
- ต้องมีเลขทะเบียนอย.และเอกสารกำกับภาษาไทย
- สังเกตเลข Lot. โดยเลข Lot. ต้องตรงกัน 4 จุด คือ
เลข Lot. ที่สติกเกอร์
เลข Lot. ที่กล่อง
เลข Lot. ที่ซอง
เลข Lot. ที่หลอด
- สามารถโทรเช็คเลข Lot. ได้ที่บริษัท Interpharma Center หรือโทรศัพท์ 02 634 0225 ต่อ 10
- 1 กล่อง มี 3 CC โดยแยกบรรจุหลอดละ 1 CC
คำแนะนำก่อนฉีดฟิลเลอร์
ก่อนเข้ารับหัตถการฉีดฟิลเลอร์ ควรให้เวลาในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับฟิลเลอร์ให้ถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลโดยรวมเกี่ยวกับฟิลเลอร์ สถานที่ให้บริการ ยี่ห้อฟิลเลอร์ที่ผ่านอย.ในประเทศไทย การดูฟิลเลอร์แท้/ปลอม อันตรายเกี่ยวกับฟิลเลอร์ปลอม เป็นต้น
โดย SkinX ได้รวบรวม 5 คำแนะนำก่อนฉีดฟิลเลอร์ไว้ดังนี้
1.เลือกสถานที่ที่ได้มาตฐาน มีใบประกอบการ
ก่อนฉีดฟิลเลอร์ควรเลือกสถานที่หรือคลินิกที่มีใบอนุญาต และเลขที่อนุญาตจำนวน 11 หลักติดไว้หน้าคลินิกอย่างชัดเจน และควรเลือกคลินิกที่มีแพทย์ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมประจำคลินิก อีกทั้งคลินิกต้องแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาลไว้อย่างชัดเจน รวมถึงควรเลือกคลินิกที่สะอาด ปลอดภัย ภายในคลินิกมีการกำจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกต้อง มีอุปกรณ์ที่ไม่เสื่อมสภาพ เป็นต้น
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกสถานที่ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดีได้ที่ : ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี?
2.สามารถตรวจสอบคลินิกที่ใช้ฟิลเลอร์แท้ได้
ในปัจจุบันเราสามารถตรวจสอบชื่อคลินิกที่ใช้ฟิลเลอร์แท้ได้จากบริษัทนำเข้าฟิลเลอร์ของแต่ละยี่ห้อโดยตรงได้ เช่น
- ฟิลเลอร์ยี่ห้อ Juvederm สามารถตรวจสอบรายชื่อคลินิกที่ใช้ฟิลเลอร์แท้ได้จากบริษัท Allergan Thailand
- ฟิลเลอร์ยี่ห้อ Restylane สามารถตรวจสอบรายชื่อคลินิกที่ใช้ฟิลเลอร์แท้ได้จากบริษัท Galderma Thailand
3.แพทย์ต้องเชี่ยวชาญและตรวจสอบได้
แพทย์ที่ทำการฉีดฟิลเลอร์หรือทำหัตถการต่างๆ บนใบหน้าต้องเป็นแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเท่านั้น อีกทั้งควรเป็นแพทย์ที่จบเฉพาะทางด้านความงามหรือผิวหนังเท่านั้น หรือมีความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง มีการใช้เทคนิคการฉีดที่ถูกต้อง เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และห้ามให้บุคคลที่ไม่ใช่แพทย์เป็นคนลงมือฉีดฟิลเลอร์โดยเด็ดขาด
4.เลือกใช้ฟิลเลอร์แท้เท่านั้น
ก่อนฉีดฟิลเลอร์ทุกครั้งเราควรศึกษาดูฟิลเลอร์แท้ ตรวจสอบฟิลเลอร์ให้แน่ใจก่อนว่าไม่ใช่ฟิลเลอร์ปลอม และต้องเป็นยี่ห้อฟิลเลอร์ รุ่นฟิลเลอร์ที่ผ่านการรับรองจากอย.ไทยแล้วเท่านั้น
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟิลเลอร์ที่ผ่านอย.ไทย ในปี 2022 ได้ที่ : รวมฟิลเลอร์ที่ผ่าน อย. ปี 2022
5.ดูรีวิวประกอบการตัดสินใจ
การเลือกคลินิกแต่ละแห่งเราควรเลือกดูรีวิวที่น่าเชื่อถือประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย ไม่ควรเลือกคลินิกที่มีการโฆษณารีวิวที่เกินจริง หรือคลินิกที่มีการโฆษณาฉีดฟิลเลอร์ราคาถูกมาก เพราะอาจเสี่ยงเจอฟิลเลอร์ปลอมได้ รวมทั้งควรดูรีวิวจากในแหล่งอื่นเพิ่มเติม ไม่ควรดูแต่รีวิวที่ทางคลินิกเป็นผู้โพสต์แต่เพียงผู้เดียว
สรุป
ฟิลเลอร์ปลอมเป็นฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ หากฉีดเข้าไปแล้วอาจเกิดอันตรายตามมาได้ ทั้งการอักเสบ ฟิลเลอร์เป็นก้อน เป็นตุ่ม รวมถึงการฉีดฟิลเลอร์ปลอมไปนานๆ แล้วฟิลเลอร์อาจเน่าทำให้ใบหน้าเสียโฉมได้ สำหรับการรักษาทำได้แค่เพียงขูดออกหรือผ่าตัดเท่านั้น ผู้ที่อยากฉีดฟิลเลอร์ควรศึกษาข้อมูลก่อนการฉีดฟิลเลอร์ และไม่ควรเลือกใช้ฟิลเลอร์ปลอมอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ควรศึกษาวิธีเช็คฟิลเลอร์แท้ก่อนเข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันฟิลเลอร์หิ้ว หรือฟิลเลอร์ปลอมแปลง อีกทั้งควรเลือกสถานที่ที่ได้มาตรฐาน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนลงมือทำหัตถการฉีดฟิลเลอร์ทุกครั้ง
อ้างอิง
The FDA Warns Against Injectable Silicone and Dermal Fillers for Large-Scale Body Contouring and Enhancement. (2021, November 19). FDA. https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/fda-warns-against-injectable-silicone-and-dermal-fillers-large-scale-body-contouring-and-enhancement