SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

20 สิงหาคม 2567

แก้นอนกรน รักษาเองได้ไหม มีวิธีไหนแก้อาการนอนกรนได้บ้าง?

แก้นอนกรน

กรนดังมาก ทำไงดี? อาการนอนกรน เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป และไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากนัก แต่เสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากการกรน อาจสร้างความรำคาญใจให้กับผู้คนรอบข้างได้ หากอาการนอนกรนรุนแรงขึ้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีความอันตรายไม่น้อย 


แล้วจะทำยังไงให้หายนอนกรน ในบทความนี้ SkinX จะพาไปทำความรู้จักกับวิธีแก้นอนกรนแบบต่าง ๆ ตั้งแต่วิธีที่ทำได้ง่าย ๆ ไปจนถึงการรักษากับแพทย์อย่างจริงจังเลยทีเดียว

 

Key Takeaway

 

  • การแก้อาการนอนกรนสามารถทำได้ด้วยตนเองและรับการรักษาทางการแพทย์ โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรมก่อน แต่หากอาการนอนกรนรุนแรงขึ้น ควรได้รับการรักษานอนกรนด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • แก้นอนกรนโดยแพทย์มีหลายวิธี เช่น การใช้เลเซอร์แก้นอนกรน, ใส่อุปกรณ์แก้นอนกรนในช่องปาก, การบำบัดกล้ามเนื้อช่องคอ, การใช้เครื่อง CPAP และการผ่าตัดแก้นอนกรน
  • สาเหตุของการนอนกรนมีหลายสาเหตุ เช่น ไขมันในช่องคอหนา, อายุที่มากขึ้น, ท่านอนไม่เหมาะสม, ผนังกั้นจมูกคด, ความเครียดความเหนื่อยสะสม เป็นต้น
สารบัญบทความ

6 วิธีแก้อาการนอนกรน มีอะไรบ้าง?

วิธีทำให้เลิกนอนกรนมีหลากหลายวิธีการ เริ่มได้ตั้งแต่การปรับพฤติกรรม ไปจนถึงการรักษาด้วยวิธีการทางการแพทย์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีแก้ปัญหานอนกรน ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย ตามความรุนแรง และสาเหตุการนอนกรนที่แตกต่างกัน

แต่ก่อนจะเลือกวิธีแก้นอนกรน แพทย์มักจะให้เข้ารับการตรวจความผิดปกติขณะนอนหลับหรือ Sleep Test โดยจะให้คนไข้ค้างที่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อติดเครื่องมือสำหรับการติดตามผลการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ เช่น คลื่นสมอง, ค่าออกซิเจน, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงพฤติกรรมการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการกรน ท่าทางการนอน เป็นต้น เมื่อได้ผลการตรวจเป็นที่เรียบร้อย แพทย์จะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาเพื่อวางแผนแก้นอนกรนที่เหมาะสมต่อไป

เปลี่ยนท่าการนอน

สาเหตุของการนอนกรนอย่างหนึ่งคือ การที่มีพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสมอย่างเช่น การนอนหงาย หรือนอนหนุนหมอนในความสูงที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ จึงสามารถแก้นอนกรนด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วยการเปลี่ยนท่านอน จากการนอนหงาย มาเป็นท่านอนตะแคง เลือกให้หมอนที่มีความสูงที่เหมาะสมสำหรับรองรับต้นคอ เพื่อลดอาการนอนกรนให้น้อยลง

ใช้เลเซอร์รักษาอาการนอนกรน

เป็นวิธีแก้การนอนกรนด้วยการใช้เลเซอร์ผ่าตัดตกแต่งบริเวณลิ้นไก่และเพดานอ่อน ที่มีความหย่อนคล้อยจนทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ซึ่งการรักษาอาการกรนด้วยวิธีนี้จะทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น คนไข้สามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น ช่วยลดอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับให้น้อยลง

ใช้เครื่องมือในช่องปากขณะหลับ

เป็นการใช้อุปกรณ์ทันตกรรมอย่างการใส่เครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliance) ให้คนไข้ขณะหลับ เพื่อจัดตำแหน่งลิ้นและขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ป้องกันไม่ให้อวัยวะภายในช่องปากไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น สามารถหายใจได้สะดวกขึ้น และช่วยลดอาการนอนกรนได้เป็นอย่างดี เหมาะกับผู้ที่มีอาการกรนไม่รุนแรง

ทำการบำบัดกล้ามเนื้อ

การบำบัดกล้ามเนื้อ เหมาะกับผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจอ่อนแรง อันเป็นสาเหตุให้เกิดการปิดกั้นของทางเดินหายใจ จนนำไปสู่อาการนอนกรน เป็นหนึ่งในวิธีแก้อาการนอนกรน ที่ทำให้กล้ามเนื้อเกี่ยวกับทางเดินหายใจแข็งแรงขึ้น ทางเดินหายใจเปิดกว้างมากขึ้น จนสามารถแก้ปัญหาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ในที่สุด

ผ่าตัดรักษาอาการนอนกรน

การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนอนกรน มีหลายบริเวณที่สามารถผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และระดับความรุนแรงของอาการ ตัวอย่างการผ่าตัดแก้นอนกรน เช่น การผ่าตัดบริเวณจมูก, ต่อมทอนซิล, เพดานอ่อน, โคนลิ้น และการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร 


ซึ่งการรักษาอาการนอนกรนด้วยการผ่าตัดมักจะเป็นการรักษาการนอนกรนจากสรีระที่ผิดปกติ และเมื่อปัญหาถูกแก้ไขแล้วจึงมีโอกาสที่จะเลิกนอนกรนได้นั่นเอง

การรักษาด้วยเครื่อง CPAP

การรักษาด้วยเครื่อง Continuous Positive Airway Pressure หรือ CPAP คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจ ช่วยอัดแรงดันอากาศให้กับคนไข้ขณะหายใจเข้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น และช่วยให้คนไข้สามารถนอนหลับได้ดีขึ้น เครื่องนี้เป็นอุปกรณ์แก้นอนกรน ที่สามารถใช้เพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และรักษาอาการนอนกรนได้เป็นอย่างดี

“เครื่อง CPAP สามารถช่วยรักษาอาการนอนกรน และภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ ได้ในระดับปานกลางถึงรุนแรง นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้อาการนอนกรนที่ได้รับความนิยม และได้ผลดีเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด”

วิธีแก้อาการนอนกรน

การนอนกรนเกิดจากอะไร?

การนอนกรนเกิดจากกล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อนตัวลงขณะหลับ ทำให้ทางเดินหายใจแคบ จึงเกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อนขณะหายใจ และกลายเป็นเสียงดังขึ้นมา ซึ่งสาเหตุของทางเดินหายใจตีบแคบ ที่เป็นต้นเหตุของอาการนอนกรน มีดังนี้ 

  • มีไขมันในช่องคอหนา มีน้ำหนักตัว และดัชนีมวลกายเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 
  • มีสรีระที่ผิดปกติ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด ต่อมทอนซิลโต ลิ้นไก่โตกว่าปกติ เป็นต้น
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อทางเดินหายใจจึงหย่อนยานมากขึ้น
  • มีพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสม เช่น นอนหงาย นอนหนุนหมอนที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ
  • มีพฤติกรรมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • มีความเครียด และความเหนื่อยล้าสะสม

แก้นอนกรน เพื่อลดความเสี่ยง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คือ ภาวะที่ช่องทางเดินหายใจถูกปิดกั้นอย่างสมบูรณ์ จนอากาศไม่สามารถเดินทางไหลผ่านได้เลย ภาวะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการนอนกรนเสียงดังมาก, มีอาการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ในขณะหลับ, มีการสะดุ้งตื่นขึ้นมา จากการสำลักหรือหายใจติดขัด หรือมีอาการละเมอ เป็นต้น ซึ่งการหยุดหายใจขณะหลับมีความอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองขาดเลือดจนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเกิดโรคใหลตายขณะหลับ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีแก้อาการนอนกรน

ตอบคำถาม และข้อสงสัยที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีแก้อาการนอนกรน

การเปลี่ยนหมอน ช่วยแก้นอนกรนได้จริงไหม?

การเปลี่ยนหมอนให้เหมาะสมกับสรีระของแต่ละบุคคลช่วยแก้นอนกรนได้จริง เนื่องจากหมอนที่ไม่เหมาะกับสรีระจะช่องทางเดินหายใจช่วงลำคอแคบลงจนเกิดเสียงกรนขึ้นมาได้

แก้อาการนอนกรนด้วยตัวเองได้ไหม?

สามารถแก้อาการนอนกรนด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วยการเริ่มปรับพฤติกรรมอย่างเช่น การเปลี่ยนท่านอน, การลดความอ้วน, การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ, งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่ เพียงเท่านี้ก็สามารถลดอาการนอนกรนไปได้ส่วนหนึ่งแล้ว

มียาแก้อาการนอนกรนหรือไม่?

มียาแก้นอนกรนสำหรับใช้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย โดยใช้ในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถใช้วิธีการรักษาอาการนอนกรนแบบอื่น ๆ ได้ ซึ่งยาที่สามารถใช้รักษาอาการกรน ได้แก่ ยารักษาโรคจมูก เนื่องจากผู้ป่วยนอนกรนมักมีอาการคัดจมูก และพบโรคจมูกอักเสบเรื้อรังหรือภูมิแพ้ร่วมด้วย ยากระตุ้นระบบประสาท ยากระตุ้นการหายใจ เป็นต้น

สรุปเกี่ยวกับวิธีแก้อาการนอนกรน

วิธีแก้นอนกรนมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นวิธีแก้อาการกรนด้วยตนเองง่าย ๆ อย่างเช่น การปรับพฤติกรรม การปรับท่านอน ไปจนถึงการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์อย่าง เช่น การรักษาด้วยการใช้เลเซอร์, การใช้เครื่องครอบฟัน, การทำการบำบัดกล้ามเนื้อ, การผ่าตัด และการใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP ทั้งนี้ หากใช้วิธีการรักษาเหล่านี้ไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาเพื่อรักษาอาการนอนกรนในกลุ่มอื่นเพิ่มเติมได้ 


หากต้องการแก้นอนกรน แนะนำให้เข้ารับการตรวจ Sleep Test เพื่อหาสาเหตุของการนอนกรน และรับการรักษานอนกรนที่ตรงจุด ค้นหาดีลเด็ด ตรวจสุขภาพการนอนด้วย Sleep Test ราคาดีที่แอปพลิเคชัน SkinX เท่านั้น โหลดเลยที่ App Store & Play Store

Reference

 

Ratini, M. (2021, November 27). Snoring. WebMD. https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/snoring 

 

Stanborough, RJ., (2023, April 4). What’s a CPAP Machine, and How Does It Work?. Healthline. https://www.healthline.com/health/what-is-a-cpap-machine

 

Begum, J. (2023, October 3). Obstructive Sleep Apnea (OSA). WebMD. https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/understanding-obstructive-sleep-apnea-syndrome

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า