สิวอุดตัน (Comedones) สิวหัวขาว ต้นเหตุของสิวอักเสบ รอยแดง และรอยหลุมสิว!
สิวอุดตัน เป็นปัญหา สิว ประเภทหนึ่งที่ส่งผลระยะยาวต่อผิว เพราะถ้าปล่อยไว้ ไม่รักษา ก็เสี่ยงจะเป็น สิวอักเสบ จะบีบสิวออกเองก็ไม่หาย กลายเป็นสิวอักเสบได้เช่นกัน กดออกก็เป็นหลุมสิว ในบทความนี้ Skinx จะพาคุณไปรู้จักกับสิวอุดตัน ว่าสิวประเภทนี้คืออะไร สิวอุดตันเกิดจากอะไร ขึ้นที่ไหนได้บ้าง แล้วสิวอุดตันรักษาอย่างไร?
สิวอุดตัน คืออะไร?
“สิวอุดตัน (Comedones)” หรือสิวไขมันอุดตัน คือสิวไม่อักเสบประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นสิวหัวนูนออกมาจากผิวหนัง เมื่อจับไปจะรู้สึกถึงความไม่เรียบ เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนบนผิวหนัง บางครั้งสิ่งอุดตันที่เราเรียกกันว่าหัวสิว ก็โผล่ออกมาให้เห็นได้จากภายนอกเช่นกัน
สิวอุดตันใต้ผิวหนังมีด้วยกันทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ สิวอุดตันหัวเปิดหรือ สิวหัวดำและสิวอุดตันหัวปิดหรือสิวหัวขาว
ชนิดของสิวอุดตัน มีอะไรบ้าง
สิวอุดตันหัวเปิด (Open Comedone) หรือสิวอุดตันหัวดำ (Blackheads)
สิวหัวดำ (Blackheads) หรือสิวอุดตันหัวเปิด จะมีลักษณะเป็นสิวหัวดำแข็งๆ สามารถเห็นหัวสิวได้จากภายนอก
ในระยะแรกๆ หัวสิวของสิวอุดตันหัวดำจะเห็นเป็นสีขาวเหลือง ซึ่งเป็นสีของเคราตินและไขมัน แต่เมื่อหัวสิวสัมผัสกับอากาศระยะหนึ่ง หัวสิวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ และเปลี่ยนสีเป็นสีดำในที่สุด
สิวอุดตันหัวดำเกิดจากการอุดตันในบริเวณตื้นๆ ทำให้เมื่อหัวสิวใหญ่ขึ้นจะทำให้เห็นหัวสิวจากภายนอก มีลักษณะแบนเรียบ รูขุมขนถูกดันให้กว้างออก เมื่อเป็นนานๆ จะส่งผลให้รูขุมขนกว้างขึ้น
สิวอุดตันหัวปิด (Closed Comedone) หรือสิวอุดตันหัวขาว (Whiteheads)
สิวอุดตันหัวขาว หรือสิวอุดตันประเภทหัวปิด มีลักษณะเป็นสิวเม็ดเล็กๆ หัวขาว ไม่สามารถมองเห็นหัวสิวได้จากภายนอก แต่เมื่อสัมผัสจะรู้สึกว่าเป็นปุ่มนูนขึ้นมา
สิวอุดตันหัวขาว เกิดจากการอุดตันภายในรูขุมขน เมื่อแบคทีเรีย ซีบัม และเคราตินรวมตัวกันจะ
เกิดเป็นถุงซีสต์ (Cystic space)
หากปล่อยไว้ไม่รักษา ถุงซีสต์เหล่านี้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และดันผนังรูขุมขนให้แตกออก เข้าสู่ผิวหนังและเกิดการอักเสบ เป็นที่มาของ สิวอักเสบ ในที่สุด
หลายคนเชื่อว่าสิวผด สิวอุดตันหัวขาวคือสิ่งเดียวกัน เพราะพอบีบไปก็ไม่มีอะไรออกมา ความเป็นจริงอาจไม่ใช่สิวอุดตัน (Acne vulgaris) ที่แท้จริง แต่เป็นโรคสิวผดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “Acne Aestivalis” ซึ่งเป็นผื่นที่เกิดจากการกระตุ้นของแสงแดด (Ultraviolet) ลักษณะเป็นตุ่มผดเล็กๆ ลักษณะคล้ายๆ กันทุกตุ่ม เป็นตุ่มแดงหรือตุ่มหนองก็ได้ แต่ไม่มีหัวสิวภายใน
ส่วนสิวหัวขาวนั้นสามารถกดหัวสิวออกมาได้ เป็นการรักษาวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันเพื่อป้องกันสิวหัวขาวพัฒนากลายเป็นสิวอักเสบ แต่การรักษาโดยการกดสิวนั้นควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะหากทำเองที่บ้านจะมีความเสี่ยงที่สิวจะกลายเป็นสิวอักเสบมากกว่าเดิม ทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย
สิวอุดตันเกิดจากอะไร? สาเหตุของสิวไตแข็งอุดตัน
แล้วสิวอุดตันเกิดจากอะไร? บางครั้งก็เป็นสาเหตุของ สิวเป็นไต กระบวนการเกิดสิวอุดตันจะเริ่มจากเซลล์ผิวหนังกำพร้าชั้นบน (Keratinocytes) ที่ควรจะผลัดตัวและหลุดออกไปจากรูขุมขน กลับจับตัวกันขวางรูขุมขนไว้จนเกิดเป็นสิวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือที่เรียกว่า “Microcomedones”
ต่อมาเมื่อสิ่งที่สร้างจากภายในรูขุมขน อย่างเคราตินและซีบัม ไม่มีทางออกสู่ภายนอก สิ่งเหล่านี้จะสะสมรวมกันเกิดเป็น Microcomedones ร่วมกับแบคทีเรียประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ในรูขุมขนอยู่แล้ว จน Microcomedones ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็น “Comedones” หรือสิวอุดตันขึ้นมา
Fact : “Sebum หรือชื่อไทยเรียกว่าซีบัม คือน้ำมันที่สร้างจากต่อมไขมัน ปกติจะทำหน้าที่เคลือบผิวเป็นเกราะป้องกันผิวและกักเก็บความชุ่มชื้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรีย C.acnes (หรือชื่อเก่า P.acnes) เพิ่มจำนวนขึ้น ส่งเสริมการอักเสบ และยังทำให้เกิดสิวอุดตันในทางอ้อมได้ด้วย”
สาเหตุสิวอุดตันมี 4 สาเหตุหลัก ได้แก่
- เซลล์ผิวหนัง (Keratinocytes) เพิ่มจำนวนเซลล์มากเกินไป และผลัดเซลล์ผิวช้ากว่าปกติ จนทำให้รูขุมขนอุดตันได้ง่าย (Follicular epidermal hyperproliferation)
- ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป (Sebum production) ก่อให้เกิดการอักเสบ การผลัดเซลล์ผิวทำงานผิดปกติ
- การทำงานของแบคทีเรีย C.acnes เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ และทำให้จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่บนผิวหนังเสียสมดุล (Microbial dysbiosis) จนเซลล์ผิวหนังเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เกิดการอักเสบได้ง่าย
- การอักเสบ และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน (Inflammation and Immune response) ทำให้เซลล์ผิวเพิ่มจำนวนเร็วกว่าปกติ เกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบ
โดยปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดสาเหตุของสิวอุดตัน มาจาก
- ระดับฮอร์โมนเพศชายมากเกินไปเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เกิดทั้งในเพศชายและเพศหญิง
- ล้างหน้าน้อยหรือบ่อยจนเกินไป
- ล้างหน้าไม่สะอาดจนเครื่องสำอางหรือสิ่งสกปรกสะสมอยู่บนผิว
- ใส่เสื้อผ้าหนา ใส่ผ้าโพกหัว หมวก สะพายเป้ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำให้เหงื่อไคล และสิ่งสกปรกสะสมอยู่ที่ผิวต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
- เป็นโรคบางอย่างที่ทำให้ต่อมไขมันทำงานมากกว่าปกติ หรือระดับฮอร์โมนผิดปกติ
- กรรมพันธุ์เกี่ยวกับฮอร์โมน ลักษณะการผลัดเซลล์ผิว การทำงานของต่อมไขมัน และสุขภาพผิวโดยรวม
สิวอุดตันขึ้นที่ไหนได้บ้าง?
สิวอุดตันขึ้นได้หลายที่ทั่วร่างกาย ซึ่งในแต่ละที่จะมีสาเหตุการเกิดสิวอุดตันส่วนใหญ่ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
- สิวอุดตันที่แก้ม
- สิวอุดตันที่คาง
- สิวอุดตันที่หน้าผาก
- สิวอุดตันที่จมูก
- สิวอุดตันที่หลัง
Fact : “แบคทีเรีย C.acnes คือแบคทีเรียประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ตามผิวหนัง รูขุมขน และต่อมไขมันอยู่แล้ว ปกติจะไม่ได้ก่อปัญหาอะไร แต่เมื่อใดก็ตามที่แบคทีเรียเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนสูญเสียระบบนิเวศจุลินทรีย์ของผิวหนัง (Microbial dysbiosis) จะทำให้ผิวหนังอักเสบได้จากหลายสาเหตุ กระตุ้นให้เกิดสิวอุดตัน เป็นสาเหตุหนึ่งของสิวอักเสบ และยังทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบอื่นๆ ได้อีกด้วย”
วิธีลดสิว ป้องกันสิวอุดตันให้อยู่หมัด
วิธีลดสิวอุดตันด้วยการป้องกันสิวอุดตัน เป็นการแก้ปัญหาสิวที่ต้นเหตุ จริงอยู่ที่ปัจจัยบางอย่างไม่สามารถควบคุมได้ อย่างฮอร์โมนหรือพันธุกรรม แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของการเกิดสิวอุดตัน ด้วยการปรับพฤติกรรมได้ ดังนี้
- ดูแลผิวและล้างหน้าอยู่เสมอ เพื่อลดความมัน กำจัดสิ่งสกปรก ควบคุมจำนวนแบคทีเรีย และล้างเซลล์ตายที่ถูกผลัดออกมา ช่วยลดโอกาสเกิดสิวอุดตัน โดยการทำความสะอาดผิวหนังวันละ 2 ครั้ง ด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่อ่อนโยน ไม่เป็นด่างมากเกินไปและไม่มีสารเคมีที่ก่อการระคายเคืองได้ง่าย
- ควรใช้แชมพู ยาสระผม และครีมนวดผมที่อ่อนโยน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมสามารถกระตุ้นให้เกิดสิวได้ หากรู้สึกว่าเกิดสิวอุดตันแถวกรอบหน้าง่ายก็อาจเกิดจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้เช่นกัน
- เลือกเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน (Non-comedogenic)
- เช็ดและทำความสะอาดผิวหน้าให้สะอาดทุกครั้งหลังแต่งหน้า
- หลีกเลี่ยงการใช้มือจับหน้า หากต้องจับควรล้างมือให้สะอาดก่อน
- ไม่ควรแกะเกาสิวอุดตัน หรือบีบสิวอุดตันด้วยตัวเอง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และผ่อนคลายความเครียด เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมน และระบบร่างกายอื่นๆให้ทำงานได้ตามปกติ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากนมวัว และอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง (High glycemic index) ลดโอกาสการเกิดสิว
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ผิวหนังอับชื้นหรือเกิดการเสียดสีที่ผิวหนัง เช่น เลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหนา ไม่สะพายกระเป๋าเป้ตลอดเวลา งดใส่หมวกหรือผ้าคาดผมบ่อยๆ เป็นต้น
- ปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อเริ่มมีสิวอุดตัน หากไม่มั่นใจในการเริ่มใช้ยาทาสิวด้วยตนเอง
หลายคนเข้าใจว่าการปรึกษาแพทย์เป็นเรื่องใหญ่ ต้องไปพบแพทย์เมื่อเป็นสิวจำนวนมากเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว เมื่อเริ่มเป็นสิวก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้เลย การลดสิว รักษาสิวอุดตันโดยแพทย์ จะช่วยให้สิวไม่พัฒนาไปเป็นสิวอักเสบหัวแข็ง หรือป้องกันไม่ให้เกิดรอยดำ รอยแดง หลุมสิว และแผลเป็นจากสิวเมื่อรักษาหายแล้ว
ปรึกษาแพทย์เพื่อ รักษาสิว ได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน SkinX ไม่ต้องรอคิวนาน ไม่ต้องออกจากบ้าน ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ก็สามารถรักษาสิวอุดตันกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากสถานพยาบาลชั้นนำกว่า 210 คน ได้ง่ายๆ ที่บ้าน เพราะผิวดี ไม่ต้องรอ!
สิวอุดตัน รักษายังไง? ใช้อะไรดี?
การแก้สิวอุดตัน สิวอุดตันรักษายังไง? การรักษาสิวอุดตันมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงว่ามีสิวอุดตันอยู่เยอะแค่ไหน โดยวิธีรักษาสิวอุดตัน มีดังนี้
สิวอุดตัน รักษายังไง? ใช้อะไรดี?
การรักษาสิวอุดตันด้วยยาลดสิวอุดตัน เป็นวิธีการรักษาสิวอุดตันแบบไม่ต้องกดสิว หรือบางครั้งอาจใช้ร่วมกับการกดสิว
เป็นสิวอุดตันใช้อะไรดี? ยาแก้สิวอุดตัน จะใช้เฉพาะยาทาภายนอกในการรักษา เนื่องจากหากเป็นสิวอุดตันอย่างเดียว จะถือว่าเป็นเพียงสิวในระดับไม่รุนแรง (Mild acne) เท่านั้น ไม่มีอาการอักเสบ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสำหรับรับประทานที่อาจมีผลข้างเคียงในการรักษา
โดยยาทาแก้สิวอุดตันที่นิยมใช้กัน มีดังนี้
- Retinoids แบบทา (ยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ) – ออกฤทธิ์ลดการอุดตัน และลดการอักเสบได้ ยาในกลุ่ม retinoids ที่นิยมใช้กันมีหลายตัว แต่ละตัวมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น Tretinoin มีข้อเสียอยู่มาก ทั้งออกฤทธิ์ไม่ดีเมื่อเจอแสง และไม่สามารถใช้ร่วมกับ Benzoyl peroxide ได้ ภายหลังจึงนิยมใช้ retinoid อย่าง Adapalene ที่สามารถใช้ร่วมกับ Benzoyl peroxide ได้ และยังทนต่อแสงแดดด้วย
- Benzoyl peroxide – ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้เหมือนกับยาปฏิชีวนะ ช่วยบรรเทาอาการสิวอักเสบ ลดการเกิดสิวอุดตัน และป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น มักใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะตัวอื่นเพื่อลดโอกาสการเกิดเชื้อดื้อยา
- ยาทาสูตรผสม ที่ใช้กันบ่อยมักเป็น Benzoyl peroxide ร่วมกับ Retinoids หรือยาปฏิชีวนะแบบทา เนื่องจาก Benzoyl peroxide กับ Retinoids ออกฤทธิ์คนละอย่างกัน Benzoyl peroxide โดดเด่นในเรื่องการควบคุมจำนวนเชื้อโรค ส่วน Retinoids โดดเด่นในเรื่องการทำให้เซลล์ผิวผลัดตัวเป็นปกติ ส่วน Benzoyl peroxide กับ หรือยาปฏิชีวนะแบบทา ออกฤทธิ์คล้ายกัน แต่นิยมใช้ร่วมกันเพื่อให้ฆ่าเชื้อได้ดีขึ้น และสามารถป้องกันเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะได้
- กรดอะซีลาอิก (Azelaic acid) – เป็นกรดที่สามารถออกฤทธิ์ลดการอุดตัน และฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวใช้รักษาสิวอุดตัน อีกทั้งช่วยลดรอยดำสิวได้อีกด้วย
- กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) – ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ช่วยผลัดเซลล์ผิว และละลายสิวอุดตัน ลดความมันบนใบหน้าและลดอักเสบ
- ทั้งนี้ การเลือกใช้ยาทา อาจต้องเลือกเวลาและความถี่ในการใช้ ยาบางตัวไม่ควรทาร่วมกัน ถ้าไม่มั่นใจสามารถปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมได้
อีกทั้งการเป็นสิวอุดตันในแต่ละกรณีก็เหมาะสมกับยาที่แตกต่างกัน ผู้ที่อยากใช้ยาควรปรึกษากับแพทย์ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง จะปรึกษาตามคลินิก หรือปรึกษากับแพทย์ผ่านแอปพลิเคชัน Skinx แพทย์ก็สามารถจ่ายยาให้ตามปกติได้เช่นเดียวกัน
การรักษาสิวอุดตันด้วยการกดสิว
กดสิวอุดตันดีไหม? การกดสิว เป็นการรักษาสิวอุดตันที่ปลายเหตุ เมื่อเกิดสิวอุดตันขึ้น จะมีหัวสิวที่เกิดจากการเคราติน ร่วมกับมีการสะสมของซีบัมและแบคทีเรีย การกดสิวอุดตันหัวดำหรือหัวขาว เป็นการนำหัวสิวเหล่านั้นออกไป เพื่อให้การอุดตันหายไป สิวยุบลง และไม่พัฒนาไปเป็นสิวอักเสบ
แต่แพทย์ไม่แนะนำให้รักษาด้วยการกดสิวอย่างเดียว เนื่องจากการกดสิวไม่ได้ทำให้สิวลดลง และเสี่ยงทำให้เกิดแผลเป็นจากการกดสิวด้วย ดังนั้น การกดสิวอุดตันสามารถทำได้ แต่ควรใช้ยารักษาสิวอุดตันควบคู่ไปกับการกดสิวด้วย และจะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่แนะนำให้ทำเองที่บ้าน
เนื่องจากกดสิวอุดตันหัวปิด อาจจะต้องใช้เข็มปลายแหลมสะกิดเปิดผิวหนังด้านบนก่อนค่อยกดสิว ซึ่งเสี่ยงทำให้สิวติดเชื้อ และอาจทำให้เกิดแผลเป็นหากทำผิดวิธีนั่นเอง
ซึ่งวิธีรักษาสิวอุดตัน ไม่มีหัว หรือสิวหัวขาวด้วยการกดสิวนี้ มีผลทั้งเรื่องการรักษาสิวและการทำเพื่อความสวยงาม เนื่องจากหากปล่อยสิวอุดตันหัวปิดไว้โดยไม่รักษาหรือกดออก อาจเกิดถุงซีสต์ภายใน เมื่อถุงซีสต์ขยายตัวจะดันผนังรูขุมขนจนแตกและเกิดการอักเสบ ทำให้สิวอุดตันพัฒนาเป็นสิวอักเสบได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้ยาทาควบคู่ไปกับการกดสิวด้วยอยู่ดี
สิวอุดตัน ป้องกันได้อย่างไรบ้าง?
ใช้ Physiogel Acne Care Clearing Foam Cleanser และ Clearing Cream
อย่างที่ทราบกันว่าสิวอุดตันเป็นสิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนบนผิวหนัง การป้องกันสิวอุดตันให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลทำความสะอาดผิวหน้าที่มีส่วนประกอบช่วยลดการอุดตัน ผลัดเซลล์ผิว และช่วยให้น้ำมันบนผิวเกิดความสมดุล ยิ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน ไม่มีสี ไม่มีน้ำหอม ใครบ้างจะไม่ถูกใจ
ขอแนะนำ “Physiogel Acne Care Cleansing Foam Cleanser” โฟมล้างหน้าสำหรับคนเป็นสิวผิวแพ้ง่าย ผิวมันและผิวผสม ด้วยส่วนประกอบสำคัญ Salicylic Acid และ Niacinamide ที่ช่วยจัดการ ลดปัญหาสิวอุดตัน ลดการอักเสบ ลดการสะสมของแบคทีเรีย P. Acne และลดรอยดำจากสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผสานพลังทำความสะอาดที่อ่อนโยนด้วยเนื้อโฟมละเอียด เนียนนุ่ม และจัดการความมันส่วนเกินบนผิวให้เกิดความสมดุล เพราะความมันถือเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดสิวอุดตัน
การป้องกันสิวอุดตันจะให้ดีก็ต้องต่อด้วยการบำรุง “Physiogel Acne Care Clearing Clearing Cream” ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าซึมไว เนื้อบางเบาสบายผิว เหมาะสำหรับคนเป็นสิวผิวแพ้ง่าย ผิวมันและผิวผสม เพราะไม่ก่อให้เกิดความมันบนผิวเพิ่ม อัดแน่นด้วย Physiogel Soothing and Fighting Complex Ingredients ไม่ว่าจะเป็น Cica 4 ชนิด, PEA สารช่วยลดการระคายเคือง, BHA ที่เด่นเรื่องการจัดการสิวอุดตัน และเสริมสร้างชั้นผิวให้แข็งแรง เติมเต็มความชุ่มชื้นให้ผิวสุขภาพดี อิ่มน้ำด้วย Niacinamide และ Provitamin B5
ที่สำคัญทั้ง Physiogel Acne Care Clearing Foam Cleanser และ Clearing Cream สามารถใช้ควบคู่กับยารักษาสิวได้ ไม่รบกวนการทำงานของตัวยา ใครที่รักษาสิวด้วยยาอยู่ มองหาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว และบำรุงผิวที่อ่อนโยนแถมยังช่วยให้ผิวสุขภาพดี สิวอุดตันลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำเลยว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีไม่ได้!
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวอุดตัน
กดสิวอุดตัน อันตรายหรือเปล่า? ทำให้หายเร็วขึ้นไหม?
การกดสิวอุดตันจะอันตรายก็ต่อเมื่อผู้ที่กดสิวไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ เพราะถ้าทำไม่สะอาด หรือทำผิดวิธีก็จะทำให้สิวอุดตันเล็กๆ กลายเป็นสิวอักเสบขนาดใหญ่ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ อีกทั้งอาจเกิดปัญหารอยสิวและหลุมสิวตามมาได้อีกด้วย
ส่วนเรื่องหายเร็วขึ้นไหมนั้น การกดสิวจะทำให้สิวอุดตันหายเร็วขึ้นได้ และป้องกันไม่ให้สิวอุดตันหัวปิดพัฒนาไปเป็นสิวอักเสบ ทั้งยังทำให้ผิวที่เป็นสิวอุดตันหัวเปิดหรือสิวหัวดำดูดีขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การรักษาก็ยังคงต้องอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากบีบสิวอุดตันด้วยตนเองอย่างผิดวิธี สิวอุดตันอาจจะหายช้ากว่าเดิมได้ ดังนั้นเมื่อต้องการกดสิว ให้ไปพบแพทย์เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญกดสิวให้ จะเป็นการดีที่สุด
รักษาสิวอุดตัน สิวผดด้วยตัวเอง ทำไงดี?
การรักษาสิวอุดตัน สิวผดด้วยตัวเอง สามารถทำได้ด้วยการใช้ยาทาพื้นฐานอย่าง Retinoids อาจจะปรึกษาวิธีใช้กับเภสัชกร และซื้อมาลองใช้ได้สำหรับผู้ที่เป็นสิวอุดตันไม่มาก แต่ถ้าเป็นสิวอุดตันเห่อทั้งหน้า เป็นสิวจำนวนมากจนเสียความมั่นใจ หรือใช้ Retinoids แล้วไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อหาทางรักษาต่อไป
Fact : “สิวผด ความจริงแล้วไม่ใช่สิว เป็นเพียงความผิดปกติของผิวหนังจากการกระตุ้นโดยรังสี UVA จากแสงแดด สิวผดไม่ต้องรักษาเหมือนกับสิว แค่หลีกเลี่ยงการโดยแสงแดด หรือเมื่อผ่านช่วงฤดูร้อนไป สิวผดจะหายไปเอง”
สิวอุดตันหายเองได้ไหม?
สิวอุดตันสามารถหายเองได้ในบางกรณี อาจจะหัวสิวหลุดไปเองหรือหายไปเองได้ แต่หากทิ้งไว้ก็มีความเสี่ยงเกิดสิวอักเสบที่รักษาได้ยากตามมา ดังนั้นทางที่ดีไม่ควรปล่อยให้หายเอง เมื่อเกิดสิวอุดตันควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาสิวต่อไป
สรุป
สิวอุดตันเป็นสิวที่รักษาได้ แต่ก่อนการรักษา เราควรทราบระดับความรุนแรงและชนิดของสิวที่เป็นก่อนเพื่อจะใช้ยารักษาได้อย่างถูกต้อง ไม่ลุกลามกลายเป็นสิวอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นหลุมสิวซึ่งรักษาค่อนข้างยากหากปล่อยไว้นาน ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดเมื่อเป็นสิวอุดตันคือการปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดี สิวหายได้ไว และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้ให้กวนใจทีหลังด้วย
ทำเรื่องสิวให้เป็นเรื่องง่าย รักษาสิวให้ตรงจุดด้วยการปรึกษาแพทย์ผ่านแอปพลิเคชัน Skinx สะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว เพราะ #ผิวดีไม่ต้องรอ! ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อปรึกษากับแพทย์ได้ง่ายๆ เพียงคลิกเดียว
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
Felman, A. (2017, July 27). Everything you need to know about blackheads. PubMed.
https://www.medicalnewstoday.com/articles/71615
Tanghetti, E. A. (2013, September). The Role of Inflammation in the Pathology of Acne. PubMed.
https://www.medicalnewstoday.com/articles/71615
Thielitz, A., Sidou, F., &Gollnick, H. (2007, July). Control of microcomedone formation throughout a maintenance treatment with adapalene gel, 0.1%. PubMed. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17567301/