SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

31 สิงหาคม 2565

รักษาสิวดูแลผิวหน้าอย่างถูกวิธี ให้ผิวกลับมาเนียนใส!

วิธีรักษาสิว

สิว เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และสามารถพบได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยสิวเป็นภาวะผิดปกติบริเวณรูขุมขนและต่อมไขมันในรูขุมขนที่เกิดความผิดปกติจากสาเหตุต่างๆ โดยสิวมักเกิดขึ้นในช่วงของวัยรุ่น เนื่องจากฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งฮอร์โมนมีผลต่ออัตราการเกิดสิว 

 

นอกจากนี้สิวยังมีหลายประเภท ดังนั้น การ “รักษาสิว” ในแต่ละครั้งจึงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพผิวหน้าของแต่ละคน

 

บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงสาเหตุและกลไกของการเกิด สิว และวิธีรักษาสิวที่เหมาะสมกับสภาพผิว หากรู้สาเหตุและกลไกของสิวจะช่วยบรรเทาและป้องกันการเกิดสิวได้ ซึ่งจะช่วยให้หน้ากลับมาเนียนใส ไร้สิว เพิ่มความมั่นใจให้กับตนเอง 

สารบัญบทความ

ทำความเข้าใจ สิว เกิดจากอะไร

สิวเกิดจากอะไร

มีหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการการเกิด สิว ซึ่งสิวส่วนใหญ่มักเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน ที่เกิดจากต่อมไขมัน (Sebaceous  glands) ผลิตน้ำมันมากเกินไป ทำให้เกิดสิวได้ เพราะน้ำมันที่ผลิตออกมาจากต่อมไขมันจะมีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Tryglycerides) เป็นหลัก ซึ่งไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์จะถูกย่อยให้กลายเป็นกรดไขมันอิสระ (Free fatty acids) และกรดไขมันอิสระเป็นที่อยู่อาศัยของ C.acne และทำให้ C.acne ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดสิว

 

C.acne (Cutibacterium acnes) หรือชื่อเก่าที่เรียกกันว่า P.acne (Propionibacterium acnes) คือเชื้อแบคทีเรียที่สามารถพบได้ตามผิวหนังในรูขุมขน และต่อมไขมันของมนุษย์ เมื่อ C.acne เข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง ร่างกายจะพยายามต่อต้าน C.acne โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำการหลั่งสารต่างๆออกมาและทำให้ผิวหนังอักเสบ

 

นอกจากนี้เซลล์ที่อยู่ในรูขุมขนที่เรียกว่า Keratinocyte โดยปกติแล้วเซลล์ผิวที่ตายแล้วจะมีการผลัดตัวออกมาจากรูขุมขน เมื่อหมดอายุขัย ซึ่งหาก Keratinocyte มีจำนวนมากเกินไปจะทำให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วไม่สามารถผลัดตัวออกมาจากรูขุมขนได้ และทำให้เกิดการอุดตันภายในรูขุมขน เมื่อเซลล์ผิวที่ตาย น้ำมัน และสิ่งสกปรกอุดตันในรูขุมขนจึงทำให้เกิดสิวในที่สุด

วิธีรักษาสิวแบ่งได้เป็นกี่ประเภท

เนื่องจากสิวมีหลายชนิด ได้แก่ สิวหัวปิด (Closed – Comedone), สิวหัวเปิด (OpenComdone), สิวตุ่มแดง (Papule), สิวหัวหนอง (Pustule), สิวหัวช้าง (Nodule) และ สิวอักเสบรุนแรง (Severe nodular acne) ทำให้ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีรักษาสิว หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะกับสิวแต่ละประเภท และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุของการเกิดสิว และเลือกใช้วิธีรักษาที่เหมาะสมกับสิวแต่ละประเภทมากที่สุด 

 

โดยสามารถแบ่งวิธีรักษาสิวออกเป็น 3 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ การใช้ยาทาเฉพาะที่รักษาสิว, การทานยารักษาสิว และการรักษาสิวโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

การ รักษาสิว โดยใช้ยาเฉพาะที่

วิธีรักษาสิวด้วยยาทาภายนอกเป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่นึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เนื่องจากง่าย สะดวก และประหยัด ซึ่งยาแต่ละชนิดออกฤทธิ์ต่างกัน และเหมาะกับการใช้รักษาสิวต่างกัน ดังนี้ 

รักษาสิวโดยRentinoids ยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ

เรตินอย ชนิดทา สามารถรักษาได้ครอบคลุมทั้ง สิวอักเสบ และ สิวอุดตัน เป็นยาที่นิยมใช้รักษาสิวเนื่องจากรักษาได้ครอบคลุมทั้งช่วยลดอาการอักเสบ และลดการอุดตัน แต่ยาชนิดนี้มีข้อเสียคือ ทำให้ผิวไวต่อแสงและเกิดการระคายเคืองได้ง่าย เนื่องจากมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่มีผิวบอบบาง แพ้ง่าย 

ยาปฏิชีวนะชนิดทา สำหรับการรักษาสิว

ยาปฏิชีวนะชนิดทา หรือ Topical Antibiotics ปัจจุบันมีอยู่ 4 ตัว ที่ใช้รักษาสิว ได้แก่ Clindamycin, Dapsone, Erythromycin และ Metronidazole ซึ่ง Clindamycin, Erythromycin และ Metronidazole มักใช้ในรูปแบบยาทาเป็นหลัก ไม่นิยมใช้ทาเดี่ยวๆ เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการดื้อยา แพทย์จึงนิยมให้ใช้เป็นยาสูตรผสมร่วมกับ Benzoyl peroxide หรือใช้ทาสองตัวควบคู่กัน เพื่อให้อาการดื้อยาน้อยลง 

 

ปัจจุบัน Dapsone ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้รักษาสิวในประเทศไทย แต่ยาชนิดนี้สามารถใช้ควบคุมอาการอักเสบได้ นิยมใช้รักษาสิวอักเสบแต่ Dapsone ไม่สามารถใช้ร่วมกับ Benzoyl peroxide เพราะอาจจะทำให้เกิดเป็นรอยแดงบนผิวหนังได้ 

 

ซึ่งยา Dapsone แบบทา มีความปลอดภัยมากกว่าชนิดทาน เนื่องจาก Dapsone ชนิดทานอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ที่ป่วยเป็นโรคแพ้ถั่วปากอ้า (โรคG6PD) ได้ 

Benzoyl peroxide

Benzoyl peroxide หรือ Benzac ที่หลายๆคนคุ้นเคยกัน สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ด้วยการปล่อย Free oxygen radicals ออกมาทำลายเชื้อแบคทีเรีย เพื่อที่จะ รักษาสิว นอกจากนี้ Benzoyl peroxide ไม่ค่อยพบผู้แพ้ยามากนัก และไม่ทำให้เกิดการดื้อยา เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียไม่สามารถพัฒนาตัวได้เหมือนยาปฏิชีวนะ และเป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป 

Azelaic acid

กรดอะซีลาอิกเป็นกรดธรรมชาติ สามารถออกฤทธิ์เป็นยาต้านจุลชีพ และช่วยลดการอุดตันได้ นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาสิวที่มีความรุนแรงน้อยไปถึงความรุนแรงปานกลาง นอกจากนี้กรดอะซีลาอิกสามารถลดรอยดำจากสิวหลังการรักษาสิวได้ และใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย (Rosacea) โดยช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง 

 

แต่กรดอะซีลาอิกมีข้อเสียคืออาจจะทำให้ผิวไหม้ แสบร้อน หรือเกิดเป็นแผลพุพองได้ หากมีการใช้ที่ผิดวิธี ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ทุกครั้ง 

Salicylic Acid

เป็นกรดธรรมชาติเช่นเดียวกับ Azlaic acid ช่วยในการผลัดเซลล์ผิว Keratinocyte ที่อุดตันในรูขุมขน ลดอัตราการเกิดสิว และสามารถออกฤทธิ์ลดอาการอักเสบลงได้แต่ Salicylic Aicd ให้ผลลัพธ์ที่น้อยกว่า Retinoid และ Benzoyl peroxide และอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังลอก และมีอาการแสบได้ หากใช้ รักษาสิว ในปริมาณที่มากเกินไป

Tea tree oil

คือสารสกัดจากธรรมชาติจากต้นไม้พื้นเมืองของประเทศออสเตรเลียที่นิยมนำมารักษาอาการอักเสบหรือการติดเชื้อของผิวหนัง และการ รักษาิว ส่วนใหญ่อยู่ในผลิตภัณฑ์รักษาโรคจากการติดเชื้อหรืออาการอักเสบต่างๆ เช่น สิว ผิวหนังอักเสบ รังแค และเชื้อราที่เล็บ

การรักษาสิวแบบรับประทานยา

ยารักษาสิวชนิดทาน

การทานยาเพื่อรักษาสิวค่อนข้างมีข้อจำกัดและอาจจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่ายาทาภายนอก ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานเพื่อความปลอดภัยของตนเอง การรักษาสิวด้วยวิธีทานยาสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆ ได้แก่ 

Antibiotic and antibacterial agents

การใช้ยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดทาน มีทั้งแบบรับประทานเดี่ยวๆ และใช้เป็นยาสูตรผสมสองตัวร่วมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของสิวและดุลพินิจของแพทย์ ยาปฏิชีวนะชนิดทานที่ใช้รักษาสิวได้แก่ Tetracycline, Doxycycline และ Macrolide แต่การใช้ยาปฏิชีวนะมีข้อเสียคือหากใช้ไปสักระยะอาจเกิดอาการดื้อยาได้

Isotretinoin

เป็นยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ ซึ่งนิยมใช้กับผู้ที่เป็นสิวที่มีความรุนแรงปานกลางไปจนถึงรุนแรงมาก เช่น สิวหัวช้าง หรือสิวอักเสบรุนแรง นอกจากนี้ยังนิยมใช้กับผู้ที่มีอาการดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งยา Isotretinoin ออกฤทธิ์ลดการอักเสบและช่วยยับยั้งการทำงานของต่อมไขมัน ช่วยให้ปริมาณของน้ำมันลดลง ส่งผลให้จำนวนเชื้อแบคทีเรีย C.acne ลดลงไปด้วย 

 

นอกจากนี้ Istretinoin ช่วยให้การผลัดเซลล์ผิวเป็นปกติ และยับยั้งการสร้างคอมีโดน (Comedone) แม้ว่า Istretinoin จะมีฤทธิ์ครอบคลุมในการรักษาแต่ก็มีผลข้างเคียงเช่นเดียวกัน ซึ่งความรุนแรงของผลข้างเคียงจากการใช้ยาจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล 

 

ทั้งนี้วิธีลดสิวโดยยาทานและยาทาภายนอกทุกชนิด ควรปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามฉลากบนกล่องอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากยาบางตัวสามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากใช้ รักษาสิว แบบผิดวิธี

การรักษาสิวด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy)

การรักษาสิวด้วยฮอร์โมนเพื่อลดการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน และต่อต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนจากทั้งรังไข่และต่อมหมวกไตที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิว ซึ่งยาชนิดทานที่ใช้ควบคุมฮอร์โมนมี 2 ชนิด ได้แก่ 

 

  • ยาคุมกำเนิดชนิดทาน (Oral Contraceptives) 

การรักษาสิวด้วยยาคุมกำเนิด นิยมใช้กับผู้หญิงซึ่งสามารถออกฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนเพศชาย และสามารถขัดขวางตัวรับของ Androgen receptor ที่อยู่บนเซลล์ Keratinocytes และ Sebocytes ทำให้ Androgen ไม่สามารถออกฤทธิ์กับเซลล์ได้ และยาคุมกำเนิดสามารถยับยั้งการทำงานของ 5-a reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยน Testosteron ให้กลายเป็น DHT 

 

นอกจากนี้ยาคุมกำเนิดสามารถช่วยลดปริมาณ Androgen ที่ผลิตจากอวัยวะสืบพันธุ์ โดยจะไปยับยั้งการสร้าง Luteinizing hormone ที่เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายของมนุษย์สร้าง Androgen hormone และช่วยลดปริมาณของ Free testosterone ที่สามารถลดการเพิ่มจำนวนของ Keratinocyte ซึ่ง Free testosterone จะถูกดึงไปสร้างเป็น Dihydrotestosterone ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน 

 

  • Gonadotropin – Releasing Hormone Agonists 

คือยาชนิดหนึ่งที่ทำลายวงจรการปล่อย Gonadotropin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมน Androgen ซึ่งจะช่วยให้ฮอร์โมน Androgen ในร่างกายลดลง 

การรักษาสิวโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การรักษาสิวโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่มักเป็นการรักษาที่ต้องใช้ความชำนาญในการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการรักษา ได้แก่ 

เลเซอร์รักษาสิว (Laser)

การรักษาสิวด้วยเลเซอร์เป็นการรักษาเพิ่มเติมจากการทายาเพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาดีมากยิ่งขึ้น โดยเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสงเป็นวิธีการรักษาสิวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน และมีการพัฒนาอยู่ตลอด สาเหตุที่ทำให้เลเซอร์รักษาสิวเป็นที่นิยม เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ยา และให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีมาก ช่วยให้สิวหายเร็วและเลเซอร์บางชนิดยังสามารถช่วยรักษารอยดำรอยแดงที่เกิดจากสิว รวมไปถึงแผลเป็นที่เกิดจากสิว  

 

เลเซอร์สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย C.acne ที่เป็นปัจจัยการเกิดสิว ในปัจจุบันเลเซอร์ที่ใช้รักษาสิวมีหลายชนิด ได้แก่ 

 

  • Pulse dye laser 595nm (vBeam)

เลเซอร์วีบีม สามารถใช้รักษาสิวและรอยแดงจากสิวได้ ทำให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวใหม่ทำให้ผิวกระจ่างใสขึ้น โดยการทำงานของแสงเลเซอร์จะส่งความร้อนลงไปยังผิวหนังแท้ เพื่อทำลายเส้นเลือกที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการจัดเรียงตัวของเส้นเลือดใหม่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจน

 

  • Copper-Bromide laser 579nm (Dual Yellow)

เลเซอร์ชนิดนี้สามารถรักษาได้ทั้งรอยดำและรอยแดงจากสิวให้จาง นอกจากนี้ Dual Yellow ยังช่วยรักษาสิวอักเสบ และกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ 

 

  • Diode laser 1450nm

เลเซอร์ชนิดนี้นิยมใช้รักษาสิวอุดตัน ซึ่งจะช่วยให้สิวอุดตันค่อยๆยุบตัวและหายไปเอง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเลี่ยงการกดสิวที่อาจจะทำให้สิวอักเสบและอาการรุนแรงมากกว่าเดิม 

 

  • Long-pulse Nd:YAG laser 1064nm

สำหรับเลเซอร์ชนิดนี้บางคนอาจจะรู้ว่าสามารถใช้จำกัดขนได้ถาวร แต่นอกจากจะกำจัดขนแล้วเลเซอร์ชนิดนี้สามารถใช้รักษารอยแดงจากสิวและช่วยลดรอยแผลเป็นจากสิว ช่วยให้หลุมสิวดูตื้นขึ้นได้ด้วย ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนัง 

 

  • Er:Glass laser 1550nm 

เลเซอร์ชนิดนี้สามารถรักษารอยหลุมสิว (Scars acne) รอยแผลเป็นจากสิว (Keloid) ช่วยให้จุดด่างดำดูจางลง ซึ่งหลังการรักษาผิวจะออกชมพูหรือแดงจัด และจะค่อยๆหายไปเอง หรือ บางคนอาจจะมีผิวคล้ำหมองหรือดำขึ้นชั่วคราวและจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 1 – 3 เดือน

การใช้สารเคมี รักษาสิว (Chemical peel)

เป็นการรักษาสิว โดยใช้สารเคมีลอกผิวหนังชั้นตื้นๆ หรือ ผิวหนังชั้นนอกสุด (Stratum corneum) ช่วยในกระบวนการผลัดเซลล์ผิว ทำให้ Keratinocyte ในรูขุมขนเกาะตัวน้อยลง โดยการลอกผิวหนังนิยมใช้รักษากับผู้ที่ไม่สามารถใช้การรักษาแบบอื่นได้ เช่น ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่สามารถใช้ยาบางตัวได้ แต่วิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในประเทศไทยมากนัก

รักษาสิว โดย การกดสิว (Comedone extraction)

วิธีนี้สามารถใช้ รักษาสิว ได้เฉพาะสิวอุดตันหัวเปิด ซึ่งเมื่อก่อนการกดสิวเคยเป็นที่นิยมแต่เนื่องจากการกดสิวไม่ใช่วิธีรักษาจากต้นเหตุ และไม่สามารถช่วยลดการอัตราการเกิดสิวได้ ดังนั้นการรักษาสิวด้วยการกดสิวจึงจำเป็นต้องรักษาควบคู่ไปกับวิธีอื่นๆ เช่น การใช้ทายาหรือยาทานควบคู่ 

การฉีด Corticosteroids เพื่อ รักษาสิว

เป็นการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปที่สิวโดยตรง ซึ่งข้อดีของการฉีดสเตียรอยด์สามารถช่วยให้สิวยุบได้อย่างรวดเร็ว นิยมใช้กับสิวอักเสบ และก้อนใต้ผิวหนัง (Nodular acne) แต่การฉีดสเตียรอยด์เข้าผิวโดยตรงสามารถทำให้เกิดรอยแผลเป็นหลังสิวยุบได้ ซึ่งผลข้างเคียงนี้อาจจะเกิดแค่กับบางคนเท่านั้น 

 

ทั้งนี้การรักษาสิวโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการรักษาสิว เพื่อดูอาการและความรุนแรงของสิว ตรวจหาสาเหตุ และเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับสภาพผิวมากที่สุด 

 

สรุป

เนื่องจากสิวมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ ซึ่งแต่ละชนิดมีประเภทแยกย่อย จึงทำให้การรักษาสิวในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี การใช้ยารักสิวแต่ละชนิดจึงแตกต่างกัน และให้ผลลัพธ์แตกต่างกัน ดังนั้นวิธีรักษาสิวที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุของการเกิดสิวและเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

 

ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันทำให้การไปพบแพทย์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะมีแอปพลิเคชั่นดีๆอย่าง SkinX ที่รวบรวมแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังกว่า 210 ท่าน จากสถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ ที่จะมาให้คำปรึกษาปัญหาสิวผ่านทางโทรศัพท์ได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอ 



แหล่งข้อมูลอ้างอิงบางส่วน

 

 

Goh, C., Cheng, C., Agak, G., Zaenglein, A.L., Graber, E.M., Thiboutot, D.M., & Kim, J. (n.d.). Acneiform Disorders. Fitzpatrick’s Dermatology 9 TH Edition (1391-1404). McGraw-Hill Education.

 

DermNet NZ Staff, (n.d.) Acne treatment. DermNet NZ. https://dermnetnz.org/topics/acne-treatment

 

Mayo Clinic Staff, (2020, Aug 06). Acne-Diagnosis and treatment. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/diagnosis-treatment/drc-20368048

 

Burke, D & Coelho, S. (2022, Feb 23). Everything You Want To Know About Acne. Healthline. https://www.healthline.com/health/skin/acne

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า