SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

29 สิงหาคม 2565

สิวเป็นไต ปัญหาสุดกลุ้มใจ ควรแก้ไขยังไงดี

สิวไต

สิว ปัญหากลุ้มใจ ที่ไม่ว่าคนรุ่นไหน ก็เคยเป็นมาก่อนสักครั้งหนึ่งในชีวิต การที่สิวเกิดอยู่บนใบหน้าเรา นอกจากจะส่งผลกระทบในแง่ของความสวยงามแล้ว ยังทำให้บุคคลนั้นมีความมั่นใจในตนเองลดลง รู้สึกเครียด เศร้าหมอง หรือวิตกกังวลในยามที่จำเป็นต้องเข้าสังคมอีกด้วย

 

สิวมีอยู่หลากหลายรูปแบบ โดยที่จะกล่าวถึงในครั้งนี้คือ สิวไต ซึ่งเป็นสิวไม่มีหัวนูนๆ หรือสิวอักเสบหัวแข็งที่เป็นตุ่มนูนแดง และบางรายอาจมีอาการเจ็บปวดบริเวณสิวประเภทนี้ร่วมด้วย อีกทั้ง เมื่อรักษาแล้ว กลับทิ้งรอยแผลเป็นจากสิวไว้บนใบหน้าของเราอีก 

 

ดังนั้น บทความนี้ เราจะมาเล่าถึงเรื่องราวทั้งหมดของสิวแข็งเป็นไต ไม่ว่าจะเป็นสิวไม่มีหัวเป็นไตเกิดจากสาเหตุอะไร บริเวณที่มักเกิดสิวเป็นไตบ่อยๆ วิธีการรักษาสิวไตที่ถูกต้องทำอย่างไร รวมไปจนถึงคำถามยอดนิยมที่ทุกคนอยากรู้ ใครที่กำลังเป็นสิวหัวไต หรือคนที่สนใจเรื่องนี้ สามารถติดตามและศึกษาไปพร้อมๆกันได้เล

ทำความรู้จัก สิวเป็นไต คืออะไร

สิวไต (Nodular Acne) คือ สิวใต้ผิวหนังที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของ สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) เนื่องจากมีลักษณะสิวไม่มีหัวเป็นไตแข็งๆ ก้อนนูนแดงคล้ายสิวหัวช้างแต่มีขนาดเล็กกว่า มีอาการอักเสบอยู่ส่วนล่างของชั้นผิวหนัง มักพบในบริเวณใบหน้า หน้าอก หลัง รวมไปจนถึงส่วนอื่นๆของร่างกาย ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาค่อนข้างนาน อีกทั้งเมื่อรักษาแล้ว อาจเกิดรอยแผลเป็นที่มาจากสิวไตอีกด้วย

จากการศึกษาพบว่า ถึงแม้การเกิดปัญหา สิว อาจไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิต แต่อาจส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่นๆที่มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล การเห็นคุณค่าในตนเอง(Self-Esteem) รวมไปจนถึงการเข้าสังคม และการสมัครเข้าทำงาน จึงทำให้ประเด็นเรื่องสิวควรให้ความสำคัญไม่ต่างจากเรื่องอื่น

ถึงแม้ว่า สิวไต กับ สิวหัวช้าง จะมีลักษณะที่เป็น สิวไม่มีหัว บวมนูน อักเสบเหมือนกัน แต่แท้ที่จริงแล้ว ทั้งสองรูปแบบนี้ มีความแตกต่างกันที่ระดับความรุนแรงของอาการ กล่าวคือ สิวไต มีการอักเสบที่รุนแรงน้อยกว่า และมีขนาดสิวเล็กกว่าสิวหัวช้าง เมื่อสัมผัสจะพบว่า สิวไต มีความแข็งอย่างมาก ไม่สามารถบีบออกได้ ในขณะที่สิวหัวช้าง จะให้ความรู้สึกเจ็บปวดมาก ภายในอาจพบหนอง หรือ ซีสต์เทียม(Pseudocysts) ได้  

สาเหตุของการเกิดสิวเป็นไต มาจากปัจจัยใดบ้าง

สิวเป็นไตไม่มีหัว อยู่ในกลุ่มของสิวอักเสบ(Inflammatory Acne) จึงทำให้จุดเริ่มต้นมีความคล้ายคลึงกับสิวอักเสบอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยสาเหตุหลักของสิวเป็นไต มีดังนี้

 

  • Follicular Epidermal Hyperproliferation

เกิดการหนาตัวของเซลล์ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าที่บริเวณรูขุมขน ซึ่งเป็นโซนที่เชื่อมต่อกับต่อมไขมัน จึงทำให้เกิดการรวมตัวกันของเคราติน(Keratin) ไขมัน และเชื้อแบคทีเรีย จนเกิดการอุดตันขึ้นที่รูขุมขน 

 

  • Excess Sebum Production

ฮอร์โมนแอนโดรเจน(Androgen) เป็นตัวกระตุ้นต่อมไขมัน ให้มีการผลิตน้ำมันหรือไขผิวหนัง(Sebum) ออกมา ซึ่งเมื่อมีการผลิตน้ำมัน หรือ ไขออกมามากจนเกินไป จะกลายเป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes ทำให้สิวเกิดขึ้นนั่นเอง

 

  • ปริมาณของเชื้อ Cutibacterium acnes

ปริมาณของเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes มีส่วนในการเกิดสิวอักเสบอย่างสิวไต เพราะ Cutibacterium acnes เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก(Gram Positive) ที่สามารถใช้เอนไซม์ Lipase ย่อยไขมัน จนได้เป็น Free Fatty Acid ที่แทรกซึมอยู่บริเวณส่วนล่างของผิวหนัง และก่อให้เกิดการอักเสบกลายเป็นสิวไต

 

  • Inflammation and Immune Response

การอักเสบและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน คือ เมื่อรูขุมขนอุดตันจนอักเสบขึ้น จะทำให้เกิดการขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ จนรูขุมขนแตกออก ส่งผลให้สารต่างๆที่อยู่ภายในรูขุมขนออกมาบริเวณผิวหนังชั้นนอก 

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่สามารถส่งผลให้เกิดสิวเป็นไต ได้แก่

1.ประวัติทางพันธุกรรม หรือเคยมีประวัติสมาชิกภายในครอบครัวเป็นสิวอักเสบ จากการศึกษาพบถึง 62.9% – 78% ในประเด็นนี้ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเพศชายที่มีแนวโน้มเป็นสิวระดับรุนแรง

 

2.ประวัติการใช้ยาบางชนิด

 

3.ระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือภาวะต่างๆ เช่น การเกิดสิวช่วงรอบประจำเดือน ภาวะ Hyperandrogenism การใช้อุปกรณ์คุมกำเนิด เป็นต้น

แนะนำวิธีการรักษา สิวเป็นไต

มาถึงช่วงสำคัญที่ทุกคนให้ความสนใจ กับวิธีการรักษาสิวเป็นไตใต้ผิวที่ถูกต้อง เพื่อทำให้การรักษาผิวหนังบริเวณนั้นตรงจุดมากขึ้น ลดโอกาสในการเกิดรอยแผลเป็นหลังการรักษา และช่วยทำให้ผู้อ่านทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลตนเองต่อไปได้ โดยสิวไตรักษาได้หลากหลายวิธี ดังนี้

การฉีดคอร์ติโซน(Cortisone Injections)

การฉีดสิว หรือ การฉีดคอร์ติโซน(Cortisone Injections) หรือที่เรียกกันว่า Corticosteroids เป็นการฉีดยาเข้าสู่สิวโดยตรง ซึ่งวิธีนี้ จะช่วยในการลดขนาดสิว และลดการอักเสบ จึงทำให้หลังการรักษาไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้ โดยปริมาณที่แนะนำ คือ การฉีด 0.05 – 0.25 มิลลิลิตร ต่อ 1 รอยโรค

การใช้ยารักษาสิวเป็นไต

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ครีมรักษาสิวที่จำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป ไม่สามารถนำมาใช้เป็นครีมรักษาสิวไตได้ จึงทำให้ในเรื่องของการรักษาสิวที่เป็นไตแข็งๆด้วยยา จะต้องเข้าพบแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับยาตามใบสั่งของแพทย์เท่านั้น ซึ่งยามีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นยารับประทาน ครีม เจล หรือโฟม ที่มีความเข้มข้นตามที่แพทย์ระบุ

 

โดยยาที่มักนิยมใช้ในการรักษาสิวไตใต้ผิวหนัง มีดังนี้

  • ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids)

ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids) เป็นตัวยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้น Retinoic Acid Receptor (RARs) ทำให้เกิดการตอบสนองทางชีววิทยาขึ้นได้ โดยยากลุ่มนี้ มีคุณสมบัติในการลดการอุดตัน ต้านการอักเสบ แต่อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มนี้ อาจทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวแดงหรือไวต่อแสงได้ จึงควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

  • เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide)

เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เป็นยาทาบริเวณภายนอกที่มีการใช้อย่างแพร่หลายที่สุด และพบผู้ที่แพ้ยาชนิดนี้น้อย ยาตัวนี้สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดี โดยการหลั่ง Free Oxygen Radicals ออกมา เพื่อลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียลง

 

ยาชนิดนี้ มีทั้งรูปแบบครีม โลชั่น เจล โฟม น้ำยาทำความสะอาดผิว ซึ่งมีหลายระดับความเข้มข้น ตั้งแต่ 2.5% ไปจนถึง 10% จึงแนะนำว่า ควรเลือกใช้ระดับความเข้มข้นให้เหมาะสมกับสภาพผิวของตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดอาการผิวแห้งและระคายเคืองขึ้น  


  • ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Erythromycin, Clindamycin, Dapsone เป็นต้น ซึ่งในบางกรณี อาจมีการใช้ Erythromycin และ Clindamycin ร่วมกับ Benzoyl Peroxide เพื่อลดโอกาสในการดื้อยา ส่วน Dapsone แบบทาเฉพาะที่ ให้ผลลัพธ์ที่ดีสำหรับควบคุมการอักเสบของสิว ร่างกายสามารถทนทานยาตัวนี้ได้ แต่ไม่ควรใช้ร่วมกับ Benzoyl Peroxide


  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid)

กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) มีระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5% – 2% ทำให้เกิดผิวหนังลอก (Exfoliation) ที่บริเวณหนังกำพร้าชั้นบนสุด ส่งผลให้ Keratinocyte บนผิวเกาะกันน้อยลง มีฤทธิ์ในการลดการอุดตันของรูขุมขน

การบรรเทาอาการด้วยตนเอง

ถึงแม้ว่า เราจะไม่สามารถรักษาสิวไตใต้ผิวหนังให้หายขาดด้วยตนเอง แต่เราก็ยังมีวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนังให้ดีขึ้นด้วยตนเองได้ง่ายๆ โดยใช้วิธีดังนี้

 

1.การใช้เทคนิคประคบเย็นที่ผิวหนัง เพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากสิวไตแข็ง

 

2.ทำความสะอาดใบหน้า โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ปราศจากแอลกอฮอล์ วันละ 2 ครั้ง ไม่ควรล้างหน้าบ่อย

 

3.หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแสงแดดมากหรือใช้ระยะเวลานานจนเกินไป

 

4.หากเส้นผมบนศีรษะเริ่มมีความมัน ให้สระผม เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกและความมัน

 

ไม่บีบ แกะ หรือเกาสิวไตไม่มีหัว เพราะจะยิ่งเพิ่มการอักเสบของสิว

ปรึกษาแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญ

การปรึกษาแพทย์ออนไลน์

ปัจจุบัน มีหลากหลายวิธีที่สามารถช่วยในการรักษาสิวหัวแข็งเป็นไตได้ โดยแต่ละวิธีอาจมีความเหมาะสมกับสภาพผิวและระดับความรุนแรงของรอยโรคที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล จึงทำให้การเลือกวิธีรักษาเองเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายดายนัก และเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงหรือปัญหาอื่นๆตามมาได้ หากไม่ได้รับข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

ไม่ต้องกังวลและไม่ต้องใช้วิธีการลองผิดลองถูกด้วยตนเองอีกต่อไป เพราะเพียงแค่ใช้แอปพลิเคชัน SkinX คุณก็สามารถเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังจากสถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญกว่า 210 ท่าน ให้คุณเลือกใช้บริการ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องรอคิวพบแพทย์นานๆ ปรึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา เข้ารับการรักษาและรับยาได้ง่ายๆแม้อยู่ที่บ้าน เพราะผิวดี ไม่ต้องรอ 


อ่านต่อบทความ: รวมวิธีรักษาสิว ดูแลผิวหน้าอย่างถูกวิธี

บริเวณที่มักเกิดสิวเป็นไต

สิวอักเสบเป็นไต หรือ สิวเป็นไตใต้ผิว ส่วนใหญ่มักพบเป็นสิวใต้ผิวหนังในบริเวณใบหน้า หน้าอก และหลัง ซึ่งแต่ละจุด อาจมีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้

สิวเป็นไตที่แก้ม

การที่เราเป็นสิวไม่มีหัวที่แก้ม อาจเกิดจากสิ่งสกปรกและเชื้อโรคที่มากับสิ่งของที่ใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์ แว่นตา แปรงแต่งหน้า รวมไปจนถึงพฤติกรรมที่มักทำเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว อย่างการนำมือมาสัมผัสบริเวณแก้มบ่อยๆ การทำทรงผมที่มีลักษณะปิดหรือแนบบริเวณแก้ม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ทำให้โอกาสในการเกิดสิวอักเสบหรือสิวอุดตันที่แก้มไม่มีหัวเพิ่มมากขึ้น 

สิวเป็นไตที่จมูก

จมูก เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการสะสมน้ำมันบนผิวมากที่สุด เนื่องจากอยู่ในบริเวณ T-zone ที่ต่อมไขมันมีการหลั่งน้ำมันออกมาเป็นจำนวนมาก เมื่อมีน้ำมัน หรือ ไขผิวหนัง(Sebum) สะสมอยู่ในบริเวณนี้มากจนเกินไป จะทำให้กลายเป็นอาหารชั้นดีของเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียนี้ มีการเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว โอกาสในการเกิดสิวอักเสบ โดยเฉพาะสิวแข็งๆเป็นไตจึงเพิ่มสูงขึ้น

Fact : บริเวณ T-zone ได้แก่ หน้าผาก จมูก และคาง ซึ่งผู้ที่มีผิวผสม จะเกิดการสะสมของน้ำมันขึ้นมากในบริเวณดังกล่าว โดยการที่มีน้ำมัน หรือ ไขผิวหนัง(Sebum) ในบริเวณนี้มากเกินไป จะแปรผันตรงกับโอกาสในการเกิดสิวที่มากขึ้นตามไปด้วย

สิวเป็นไตที่คาง

สิวที่คางไม่มีหัว หรือ สิวไตที่คาง เป็นสาเหตุเดียวกับสิวเป็นไตที่จมูก เนื่องจากคาง เป็นหนึ่งในบริเวณ T-zone ที่มีการหลั่งน้ำมันออกมาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสได้รับสิ่งสกปรกจากการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย อย่างเช่น การใส่หน้ากากอนามัยเป็นระยะเวลานาน การสัมผัสบริเวณคางบ่อยๆ เป็นต้น 

 

สิวใต้คางไม่มีหัว จึงมีโอกาสในการเกิดได้มากกว่าส่วนอื่น เพราะมีหลากหลายปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของสิวอักเสบ หรือ สิวไม่มีหัวนูนๆที่คาง แข็งเป็นไต 

สิวเป็นไตที่คอ

สิวเป็นไตที่คอ อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม โดยจากการศึกษาพบว่า ประมาณ 62.9% – 78% หากครอบครัวมีประวัติทางพันธุกรรม หรือเคยมีสมาชิกในครอบครัวเป็นสิวอักเสบมาก่อน ก็จะมีโอกาสที่บุคคลนั้นจะเป็นสิวอักเสบด้วยเช่นกัน  

 

นอกจากนั้น เพศชายมีแนวโน้มที่จะเป็นสิวในระดับรุนแรง อย่างสิวแข็งๆใต้ผิวหนังเป็นไต สิวหัวช้าง เป็นต้น ซึ่งในประเด็นนี้มักพบในกลุ่มเพศชายที่มีผิวสีขาวมากกว่าผิวสีเข้ม และผู้ที่มียีนจีโนไทป์(Genotype) แบบ XYY จะยิ่งมีโอกาสเกิดสิวระดับรุนแรงมากยิ่งขึ้น  

สิวเป็นไตที่หน้าอก

สิวเป็นไตที่หน้าอก อาจมาจากการสะสมน้ำมันและเหงื่อบริเวณนั้น รวมไปจนถึงความสะอาดและความระคายเคืองที่มาจากเสื้อผ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขน การสะสมของเชื้อแบคทีเรียมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการพัฒนากลายเป็นสิวเป็นไตอักเสบที่บริเวณหน้าอก

สิวเป็นไตที่หลัง

สิวเป็นไตที่หลัง มีโอกาสอย่างมากที่จะเกิดจากการสะสมของสิ่งสกปรกและเหงื่อไคล รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและบำรุงเส้นผมที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวบริเวณหลัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการอุดตันรูขุมขนและพัฒนากลายเป็นสิวไต สิวก้อนแข็งที่หลัง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวเป็นไต

สิวไต สามารถเจาะ ได้ไหม

ไม่ควรเจาะสิวไต บีบ หรือกระทำการใดๆ ด้วยตนเอง เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการอักเสบมากขึ้น เพราะอาการที่อักเสบมากขึ้น ส่งผลต่อโอกาสในการเกิดรอยแผลเป็นหลังจากที่สิวไตรักษาเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอแนะนำว่าควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลือกรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพผิวของตนเองจึงจะดีที่สุด 

สิวเป็นไตเจ็บ แบบนี้ถือว่าปกติไหม

คำถามที่ว่า รู้สึกสิวเป็นไตเจ็บ ปกติไหม สามารถให้คำตอบเลยว่า เป็นเรื่องปกติที่จะเจ็บจากสิวเป็นไต เนื่องจากสิวเป็นไตถูกจัดอยู่ในกลุ่มสิวอักเสบ จึงทำให้เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นที่บริเวณผิวหนัง เราจึงรู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดนี้นั่นเอง โดยแต่ละคนอาจได้รับความเจ็บปวดจากสิวไตที่แตกต่างกัน เพราะความเจ็บปวดสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของสิว

ปล่อยสิวเป็นไต ไว้ได้ไหม

สิวเป็นไตไม่มีหัว สามารถคงอยู่ได้หลายสัปดาห์ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่บริเวณนั้นได้ ซึ่งการรักษารอยแผลเป็นเหล่านี้ ใช้ระยะเวลายาวนานเป็นเดือนหรือปี หรือบางรายอาจเกิดเป็นรอยแผลเป็นถาวรก็ย่อมได้

สิวไต ใช้เวลารักษานานไหมกว่าจะหายไป

สิวไตแข็ง อาจใช้ระยะเวลาในการรักษาหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ซึ่งแต่ละคนอาจใช้ระยะเวลาในการรักษาสิวอักเสบไม่มีหัวเป็นไตไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระดับความรุนแรงของรอยโรค การตอบสนองต่อวิธีการรักษาที่เลือกใช้ ฯลฯ 

 

แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจไม่สิ้นสุดที่เพียงแค่รักษาสิวเป็นก้อนแข็งๆให้หาย เพราะส่วนใหญ่แล้ว สิวอักเสบ โดยเฉพาะสิวเป็นไต สิวหัวช้าง มักจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้หลังจากการรักษา ทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษารอยแผลเป็นในส่วนนี้อีกด้วย โดยรวมแล้วจึงใช้ระยะเวลาในการรักษาเป็นเดือน หรือบางรายอาจเป็นปีเลยก็ว่าได้

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางแล้ว

เอกสารอ้างอิง



Burgess, L. (2018, May 15). Nodular acne: Definition and treatment options. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/321815

 

Brennan, D. (2021, February 02). How Do You Get Rid of a Pimple Under the Skin Without Damaging Your Skin. MedicineNet. https://www.medicinenet.com/how_do_you_get_rid_of_a_pimple_under_the_skin/article.htm

 

Cherney, K. (2022, March 06). What Is Nodular Acne and How Is It Treated?. Healthline. https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/nodular-acne

 

Dreno, B., Jean-Decoster, C., Georgescu, V. Profile of patients with mild-to-moderate acne in Europe: a survey. Eur J Dermatol. 2016;26:177-184.

 

Mooney, T. Preventing psychological distress in patients with acne. Nurs Stand. 2014;28:42-48.

 

Tan, JK. & Bhate, K. A global perspective on the epidemiology of acne. Br J Dematol. 2015;172(suppl 1): 3-12

 

Voorhees, JJ., Wilkins, J Jr., Hayes, E., Harrell, ER. The XYY syndrome in prisoners and outpatients with cystic acne. Birth Defects Orig Artic Ser. 1971;7:186-192.

 

Wei, B., Pang, Y., Zhu, H., et al. The epidemiology of adolescent acne in North East China. J Eur Acad Dermatol Venereol. 2010;24:953-957.

 

Wilkins, JW.Jr., Voorhees, JJ. Prevalence of nodulocystic acne in white and Negro males. Arch Dermatol. 1970;102:631-634.

 

Zaraa, I., Belghith, I. Ben, A.N., et al. Severity of acne and its impact on quality of life. Shinmed. 2013;11:148-153.



ปรึกษาแพทย์ออนไลน์
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า