SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

15 มีนาคม 2567

สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) ปัญหาผิวเรื้อรังที่เกิดจากแบคทีเรีย!

สิวอักเสบ

สิวอักเสบ ตัวทำลายความมั่นใจของใครหลายคน เพราะนอกจากจะมีอาการบวมแดงบนใบหน้าอย่างชัดเจนแล้ว แต่งหน้าก็กลบสิวได้ยาก และยังรู้สึกเจ็บปวดเมื่อเผลอไปสัมผัส นอกจากนี้ สิวอักเสบยังหายช้า หากเผลอไปบีบหรือรักษาไม่ถูกวิธีก็อาจทิ้งรอยดำรอยแดงจากสิวได้ง่ายมาก ๆ อีกด้วย

 

แล้วสิวอักเสบเกิดจากอะไร? มีวิธีลดสิวอักเสบอย่างไรบ้าง? รักษาสิวอักเสบอย่างไรไม่ให้มีรอยสิวทิ้งไว้? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน 

สารบัญบทความ

สรุป สิวอักเสบเกิดจากอะไร? รักษาอย่างไรได้บ้าง?

 

  • สิวอักเสบเป็นสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงขนาดไม่เกิน 0.5 มิลลิเมตร หรือสิวที่มีตุ่มหนองอยู่บริเวณหัว เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย
  • สิวอักเสบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P.acnes กระตุ้นการทำงานใต้ผิวหนัง สิ่งสกปรกที่อุดตันในรูขุมขน ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการทำให้ผิวอักเสบ 
  • ระดับฮอร์โมนในร่างกายที่อยู่ในภาวะไม่สมดุลเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวอักเสบได้โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น
  • วิธีรักษาสิวอักเสบมีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยารักษาสิวแต้ม การใช้แผ่นดูดสิว หรือการกดสิวโดยให้แพทย์ผู้ชำนาญการด้านผิวหนังเป็นผู้รักษา
  • ไม่ควรกดสิวอักเสบด้วยตัวเอง เพราะจะทำให้สิวอักเสบมากกว่าเดิมและอาจลุกลามไปบริเวณอื่น ๆ ได้ง่าย

สิวอักเสบเกิดจากอะไร?

สิวอักเสบบวมแดง

สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า P.acnes ที่ใช้ย่อยเอนไซม์ Lipase จนเกิดเป็นกรดไขมันออกมาบนผิวหนัง ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้จะกระตุ้นให้หลั่งสาร Protease Cytokines ที่ทำให้เกิดการอักเสบนั่นเอง สิวอักเสบจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง มีขนาดเล็กไม่เกิน 0.5 มม. หรือเกิดตุ่มหนองบริเวณหัวสิว ซึ่งมีอาการบวมแดงและเจ็บปวดมากกว่าสิวตุ่มนูนแดงกับสิวหัวหนอง ทั้งนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดสิวอักเสบบวมแดงบนใบหน้าสามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ 

 

  • ฮอร์โมนช่วงวัยรุ่น การมีปริมาณฮอร์โมนที่ไม่สมดุลในร่างกายโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นอย่างการผลิตฮอร์โมนในเพศชาย (Androgens) มากกว่าปกติ ซึ่งจะกระตุ้นต่อมไขมันทำให้ผลิตน้ำมันมากกว่าปกติจนเกิดสิวอักเสบ
  • พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติการเป็นสิว อาจมีโอกาสเป็นสิวอักเสบได้
  • การบีบสิว ผู้ที่บีบ แกะ หรือจับสิวเป็นประจำมีโอกาสทำให้สิ่งสกปรกตกค้างบนรูขุมขน จนนำมาสู่การเกิดสิวอุดตัน สิวแดง และสิวอักเสบขึ้นบริเวณผิวหน้าได้ 
  • ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานของทอด นอนพักผ่อนไม่เพียง หรือความเครียดสะสม ส่งผลต่อฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นให้เกิดสิวได้
  • การใช้ยาบางชนิด ที่มีส่วนผสมของ Anabolic Steroids, Corticosteroids, Corticotropin เป็นต้น 

ประเภทของสิวอักเสบ

สิวอักเสบสามารถแบ่งตามความรุนแรงและขนาดของตุ่มสิวอักเสบได้ 3 ประเภท ดังนี้

ประเภทของสิวอักเสบ

สิวตุ่มแดง

สิวตุ่มแดง (Papules) เป็นสิวอักเสบที่อาจจะเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียผสมกับการอุดตันของรูขุมขน หรือเกิดจากสิวอุดตันที่ถูกรบกวนจากการสัมผัส, กด, บีบ, แคะ หรือแกะ ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในรูขุมขนจนเกิดการอุดตันและอักเสบกลายเป็นสิวไม่มีหัวหนองนั่นเอง มีลักษณะเป็นสิวหัวแดงขนาดเล็กไม่เกิน 0.5 ซม. เมื่อสัมผัสจะเป็นเนื้อนูน ๆ ใต้ผิวหนังส่งผลให้ผิวไม่เรียบเนียน หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้สิวอักเสบมากกว่าเดิมได้

สิวหัวหนอง

สิวหัวหนอง (Pustules) เกิดจากการอักเสบของรูขุมขนที่อุดตันจากสิ่งสกปรก และการติดเชื้อจากแบคทีเรีย รวมถึงการสัมผัสใบหน้าเป็นประจำ ซึ่งกระตุ้นให้สิวอักเสบและเกิดหัวหนองใต้ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มสิวแดงตรงกลาง บริเวณหัวสิวเกิดเป็นตุ่มหนอง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อย การรักษาสิวหัวหนองจึงไม่ควรบีบด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้สิวอักเสบมากขึ้นและลุกลามไปบริเวณอื่น ๆ

 

สิวหนองเกิดขึ้นได้ยังไง? หนอง (Pus) เป็นของเหลวสีขาวเหลืองที่เกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อหรือเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ตายแล้ว และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ พบบ่อยในสิวอักเสบและแผลติดเชื้อ

สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ / สิวหัวช้าง / สิวไต

สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ (Nodule) อย่างสิวหัวช้างหรือสิวไต เป็นสิวอักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลุกลามเข้าไปถึงชั้นผิวหนังชั้นลึก โดยมีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดใหญ่ ไม่มีหัว และบวมแดงอย่างชัดเจน เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บปวดค่อนข้างมาก สิวชนิดนี้ไม่ควรกดสิวหรือบีบด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้สิวอักเสบและทิ้งรอยสิวบนใบหน้าได้ง่าย หากมีสิวหัวช้างขนาดใหญ่จะใช้วิธีการรักษาด้วยการฉีดสิวโดยแพทย์ผิวหนังเพื่อลดการอักเสบทำให้สิวยุบตัวเร็ว

“สิวชีสต์ หรือ Cysts จริง ๆ แล้วเป็นเพียง สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ที่มีการอักเสบรุนแรง”

สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ที่มีการอักเสบรุนแรงเคยถูกเรียกว่า “สิวซีสต์ (Cysts) หรือ Nodulecystic ” แต่แท้จริงแล้วซีสต์ไม่ได้พบในสิวอักเสบ สิวชนิดดังกล่าวเป็นเพียงสิวก้อนกลมรุนแรง (Severe Nodule Ance) เท่านั้น ซึ่งควรรักษากับแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางมากกว่าการรักษาด้วยตนเอง 

 

นอกจากนี้ สิวติดสารสเตียรอยด์ หรือสิวสเตียรอยด์ ไม่ใช่สิวอักเสบอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจกัน เป็นเพียงอาการผิดปกติของผิวจากการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดสิวเห่อขึ้นตามบริเวณที่ทายานั่นเอง

วิธีรักษาสิวอักเสบมีอะไรบ้าง?

สิว อักเสบ รักษา

สิวอักเสบรักษาอย่างไรได้บ้าง? สิวอักเสบสามารถรักษาได้หลากหลายวิธี โดยพิจารณาตามลักษณะสิว, ขนาดสิว, การอักเสบ และสภาพผิวของผู้เข้ารับการรักษาแต่ละราย ซึ่งวิธีการรักษาสิวอักเสบมีด้วยกันดังนี้

ใช้ยารักษาสิวอักเสบ

ยาแก้สิวอักเสบ เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยฆ่าเชื้อสิวหรือควบคุมการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ ปัจจุบันยาแก้สิวอักเสบมีทั้งแบบยาทาและยาทาน สามารถพิจารณายารักษาสิวได้ดังนี้ 

 

ยาแก้สิวแบบทา 

 

  • เตรติโนอิน (Tretinoin) ช่วยลดการอุดตันและลดการอักเสบของสิวได้ดี ป้องกันการเกิดสิวหัวขาวกับสิวหัวดำ โดยส่วนใหญ่มักพบในยาแก้สิวอักเสบแบบครีมและแบบเจล 
  • กรดมินตามินเอ มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบใช้รักษาได้ทั้งสิวอักเสบและสิวทั่วไป แต่ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรงเพราะอาจทำให้มีอาการผิวหน้าแดง, แสบ หรือลอกเป็นขุยได้ 
  • อะดาพาลีน (Adapalene) เป็นยาในกลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) ที่ช่วยลดอาการบวมและอาการอักเสบที่ผิวหนัง 
  • ทาซาโรทีน (Tazarotene) มีฤทธิ์ช่วยลดการอุดตันของสิว ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
  • เบนโซลอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) ช่วยฆ่าเชื้อและควบคุมจำนวนเชื้อแบคทีเรีย P.acne ที่ทำให้เกิดสิวอักเสบได้ดี 
  • แดพโซน (Dapsone) เป็นยาปฏิชีวนะในการรักษาสิวที่ลดการอักเสบของสิวได้ดี ไม่ควรใช้คู่กับยา Benzoyl Peroxide เพราะอาจจะทำให้เกิดรอยบนผิวหนัง 
  • กรดอะซีลาอิก (Azelaic acid) ช่วยลดการอักเสบของ P.acne และลดการสร้างเม็ดสีทำให้เกิดรอยดำหลังรักษาสิวอักเสบน้อย 
  • โซเดียม ซัลฟาเวตาไมล์ (Sodium Sulfacetamide) มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย P.acne ได้ดี และการก่อตัวของกรดไขมันอิสระ 

 

ยาแก้สิวอักเสบชนิดทาน

 

  • เตตร้าซัยคลิน (Tetracyclines) เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาสิวอักเสบ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ครอบคลุมทั้งเชื้อแกรมบวก (Gram Positive Bacteria) และเชื้อแกรมลบ (Gram Negative Bacteria) ตลอดจนทำให้ผิวอ่อนนุ่ม เรียบเนียนขึ้น 
  • เซฟาเลกซิน (Cephalexin) ยาปฏิชีวนะกลุ่มเซฟาโลสปอรินที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และลดการอักเสบของผิวหนังได้ 
  • ไอโสเตรตินอย (Isotretinoin) ยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอที่ช่วยลดแบคทีเรีย แต่ยาตัวนี้จะออกฤทธิ์รุนแรงและอาจเกิดผลข้างเคียงได้ จึงควรใช้กรณีที่เป็นสิวจำนวนมากหรือเป็นสิวอักเสบรุนแรง ซึ่งต้องจ่ายยาโดยแพทย์เท่านั้น
  • ยาคุมกำเนิด ควรเลือกทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม ที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เพื่อปรับฮอร์โมนในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล

 

ทั้งนี้ ยาชนิดทานหรือยาที่อยู่ในกลุ่มอนุพันธุ์วิตามินเอทุกชนิดนับเป็นยาอันตราย จึงควรปรึกษากับแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางและให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

การกดสิวเพื่อรักษาสิวอักเสบ

สิวอักเสบกดออกได้ไหม? การกดสิวเหมาะสำหรับสิวบางประเภทอย่างสิวตุ่มแดงขนาดเล็กและสิวหัวหนอง ซึ่งไม่ควรกดสิวอักเสบด้วยตัวเอง เพราะหากกดผิดวิธีอาจทำให้สิวและผิวบริเวณรอบ ๆ อักเสบมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้แบคทีเรียจากหนองกระจายออกไปตามผิวหนัง เสี่ยงต่อการเกิดสิวบริเวณอื่นและการติดเชื้อมากกว่าเดิม แนะนำให้รักษาสิวอักเสบด้วยการใช้ยาก่อน หากมีตุ่มหนองหลงเหลืออยู่ค่อยกดออก

การติดแผ่นดูดสิวอักเสบ

การแปะแผ่นดูดสิวเป็นวิธีรักษาสิวอักเสบที่ได้รับความนิยมสูง ด้วยการเอาแผ่นดูดสิวติดลงบนสิวแล้วรอเวลาให้แผ่นดูดเอาหนองจากหัวสิวอักเสบออก นอกจากจะทำให้สิวแห้งไวแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้คุณเอามือไปสัมผัสกับผิวโดยตรง ซึ่งลดโอกาสการอักเสบและการติดเชื้อจากสิ่งสกปรกที่มือได้อีกด้วย ทั้งนี้ แผ่นดูดสิวสามารถรักษาได้แต่สิวอักเสบที่เกิดบริเวณผิวหนังชั้นบนเท่านั้น

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดสิวอักเสบ

พฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันอาจส่งผลต่อความมันบนผิวหนังและระดับฮอร์โมน ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดสิวอักเสบได้ จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดสิวอักเสบด้วยการปฏิบัติตามวิธีการดูแลตนเองดังต่อไปนี้

 

  • ทำความสะอาดผิวหน้าเป็นประจำ 2 ครั้งต่อวัน ไม่ควรล้างหน้าหรือสครับผิวหน้าบ่อยเกินไปเพราะจะทำให้ผิวหน้าแห้งและเกิดการระคายเคืองได้
  • ใช้สบู่และแชมพูที่อ่อนโยน เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายหรือผู้มีปัญหาสิว เ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส แกะ แคะหรือบีบสิวบนใบหน้า เพราะอาจทำให้สิ่งสกปรกจากมืออาจตกค้างในรูขุมขนทำให้อุดตันและเกิดสิวอักเสบได้
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน น้ำหอม และพาราเบนผสมอยู่ 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ 
  • หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนให้อยู่ในภาวะสมดุล 
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และอาหารที่มีน้ำตาลมาก

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นสิวอักเสบควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผิวหนังและรีบรักษาสิวด้วยวิธีที่เหมาะสม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานสิวมีโอกาสที่จะลุกลามและแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ทำให้รักษายากกว่าเดิมได้ สำหรับใครที่สนใจปรึกษาสิวแต่ไม่สะดวกไปพบแพทย์โดยตรง สามารถเลือกปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังผ่านแอปพลิเคชัน SkinX ได้ง่าย ๆ เพียงโหลดแอปฯ แล้วรอรับยาที่แพทย์จ่ายให้โดยตรงที่บ้าน เพียงเท่านี้ก็สามารถมีผิวที่ดีขึ้นได้แล้ว เพราะผิวดี ไม่ต้องรอ!

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวอักเสบ

ลด สิว อักเสบ

ทำไมสิวอักเสบขึ้นไม่หยุด ทำยังไงดี ?

สิวอักเสบขึ้นไม่หยุดอาจเกิดจากการทำงานของต่อมไขมันผิดปกติ ทำให้ผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็น, ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง, หรือมีสิ่งสกปรกอย่างเชื้อแบคทีเรียตกค้างบนใบหน้าทำให้เกิดสิวอักเสบ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อหาต้นเหตุของการเกิดสิวและหาวิธีรักษาให้ถูกวิธี

สิวอักเสบกี่วันหาย ?

ระยะเวลารักษาสิวอักเสบขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาและอาการอักเสบ สิวอักเสบที่มีอาการอักเสบน้อยอย่าง สิวตุ่มแดงหรือสิวหัวหนอง จะใช้เวลารักษาเพียงไม่กี่สัปดาห์ แต่หากเป็นสิวอักเสบที่มีอาการรุนแรงอย่างสิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ จะใช้ระยะเวลารักษาค่อนข้างนานประมาณ 4-6 สัปดาห์

บีบสิวแล้วบวม สาเหตุเกิดจากอะไร ?

บีบสิวหรือกดสิวแล้วบวมแดงเกิดจากอะไร ? การบีบสิวหรือกดสิวส่งผลให้ผิวถูกรบกวนจนเกิดการระคายเคืองและเกิดการอักเสบของผิวหนัง โดยบริเวณที่อักเสบร่างกายจะลำเลียงเม็ดเลือดขาวมาป้องกันเชื้อโรค ทำให้มีอาการบวมแดงหลังจากบีบสิวนั่นเอง

แหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก 

 

Goh, C., Cheng, C., Agak, G., Zaenglein, A.L., Graber, E.M., Thiboutot, D.M., & Kim, J. (n.d.). Acneiform Disorders. Fitzpatrick’s Dermatology 9 TH Edition (1391-1404). McGraw-Hill Education. 

 

มนตรี อุดมเพทายกุล. (n.d.). Acne Vulgaris. http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20180403103621.pdf

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า