SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

5 สิงหาคม 2567

สะดุ้งตื่น ใจสั่น เกิดจากอะไร? อันตรายต่อสุขภาพรึเปล่า?

สะดุ้งตื่น

อาการสะดุ้งตื่น ที่เกิดขึ้นในกลางดึก อาจทำให้คุณตื่นขึ้นมา และหลับต่อได้ยาก พอเช้ามาก็รู้สึกไม่สดชื่นเท่าไร เหมือนพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ ในบทความนี้ SkinX จะพาคุณไปทำความรู้จักกับอาการสะดุ้งตื่นให้มากขึ้น ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีแก้ไขไหม และอันตรายต่อสุขภาพรึเปล่า มาอ่านบทความนี้เพื่อไขข้อสงสัยกัน   


SkinX แอปพลิเคชันที่ครบเครื่องเรื่องผิวหนัง ที่รวบรวมแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญจากสถานพยาบาลชั้นนำ มาให้คำปรึกษา และวินิจฉัยปัญหาผิวหนังของคุณได้ในทุกเวลา ไม่ต้องรอคิว ไม่ต้องรอผลนาน ปรึกษาแพทย์ครั้งแรกไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งยังได้โปรโมชันอีกมากมาย ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX ได้เลยที่ App Store & Google Play

สารบัญบทความ

อาการสะดุ้งตื่นคืออะไร?

อาการสะดุ้งตื่น คือ อาการที่ร่างกายเกิดการสะดุ้งตื่นขึ้นในขณะที่กำลังหลับอยู่ โดยอาจทำให้ไม่สามารถหลับต่อได้ ซึ่งผู้ที่มีอาการสะดุ้งตื้น มักจะมีฝันร้ายหรือภาพหลอนร่วมด้วย เช่น ฝันว่าตกจากที่สูง นอกจากนี้อาการสะดุ้งตื่นสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด อาการหยุดหายใจขณะหลับ และอาการกระตุกในขณะหลับ ซึ่งจะทำให้เกิดการสะดุ้งตื่นในเวลาต่อมา ทั้งนี้ อาการกระตุกมักเกิดกับร่างกายซีกใดซีกหนึ่งเท่านั้น และอาจมีอาการเหน็บชาร่วมด้วย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่มักพบบ่อยในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

อาการสะดุ้งตื่นเกิดจากอะไร?

สะดุ้งตื่น เกิดจาก

อาการสะดุ้งตื่น ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดมาจากการที่ระบบประสาท ได้ทำการปล่อยสารสื่อประสาทผิดพลาด เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการคลายตัวเต็มที่ในขณะหลับ แต่เมื่อมีอาการฝันร้ายและตกใจ ทำให้สมองเข้าใจผิดไปว่าร่างกายกำลังล้ม หรือตกลงมาจากที่สูงจริง ๆ สมองจึงสั่งการให้กล้ามเนื้อหดตัว และเกิดการกระตุกขึ้น เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายตามธรรมชาติ ต่อความฝันที่เกิดขึ้น

ปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการสะดุ้งตื่น

อาการสะดุ้งตื่น หรือฝันร้าย สามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการสะดุ้งตื่น แล้วนอนไม่หลับได้ มีดังเช่น

 

  • การดื่มคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ หากดื่มคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็อาจทำให้มีอาการสะดุ้งตื่นตามมาได้ เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท และส่งผลต่อการขยายหรือหดตัวของหลอดเลือดโดยตรง จึงทำให้รบกวนการหลับ เกิดอาการนอนกรน นอนหลับไม่สนิท และสะดุ้งตื่นได้
  • การออกกำลังกายอย่างหนัก หรือออกกำลังกายก่อนนอน จะส่งผลให้ร่างกายตื่นตัว และเกิดอาการสะดุ้งตื่นขณะหลับได้ง่าย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย จึงไม่ควรหักโหมออกกำลังกายก่อนนอนเป็นอย่างยิ่ง
  • ภาวะเครียด เมื่อมีอาการเครียดหรือวิตกกังวล ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายที่สูงเกินไป จะส่งผลให้การนอนหลับแย่ลง นอนหลับได้ไม่สนิท และเกิดอาการสะดุ้งตื่นได้ง่าย อีกทั้งเมื่อเกิดการสะดุ้งตื่นบ่อยในกลางดึก ก็ยิ่งทำให้มีอาการวิตกกังวลมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอย่างมาก
  • พฤติกรรมการนอน เมื่ออดนอน หรือนอนหลับไม่เพียงพอ สามารถก่อให้เกิดอาการสะดุ้งตื่นได้ง่าย และอาจนำไปสู่โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังทำให้มีอารมณ์แปรปรวน ความจำแย่ลง และนอนน้อยแล้วปวดหัวได้อีกด้วย

วิธีแก้ไขอาการสะดุ้งตื่น

วิธีแก้ไขอาการสะดุ้งตื่นมีหลากหลายวิธีการ สามารถทำด้วยตนเองได้ง่าย ๆ แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์

ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ ตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงก่อนนอน เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ส่งผลให้ร่างกายตื่นตัว และไหลเวียนอยู่ในร่างกายได้หลายชั่วโมง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หรือสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกได้

หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน

ควรหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ ก่อนนอน เนื่องจากแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์เหล่านี้ สามารถไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ช่วยควบคุมเรื่องการนอนหลับ จนอาจทำให้เกิดการสะดุ้งตื่นขึ้นมาระหว่างนอนหลับพักผ่อนได้

ปรับสภาพแวดล้อมของห้องนอน

สภาพแวดล้อมในการนอนก็มีผลต่ออาการสะดุ้งตื่น ใจสั่นได้เช่นกัน หากมีอากาศที่ร้อนหรือเย็นเกินไป, มีเสียงรบกวนการพักผ่อน, แสงสว่างต่าง ๆ ที่ส่องเข้ามารบกวนสายตา หรืออุปกรณ์เครื่องนอนที่ไม่สบายตัว ทั้งหมดนี้ สามารถส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ และอาจทำให้เกิดอาการสะดุ้งตื่นจนนอนต่อไม่ได้ทั้งสิ้น จึงควรปรับสภาพแวดล้อมของห้องนอน ให้สบายตัว และเหมาะกับการนอนหลับพักผ่อนให้ได้มากที่สุด

นอนให้เป็นเวลามากขึ้น

ควรปรับพฤติกรรมการนอน ด้วยการนอนให้เป็นเวลามากขึ้น พยายามเข้านอน และตื่นในเวลาเดิมซ้ำ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสับสนว่าถึงเวลานอนแล้วหรือยัง เพราะหากนอนไม่เป็นเวลา อาจทำให้เกิดอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ และสะดุ้งตื่นกลางดึกได้ง่ายกว่าปกติ

ใช้สมุนไพรบางชนิดที่ช่วยเรื่องการนอน

สมุนไพรบางชนิด สามารถช่วยเรื่องการนอนหลับได้ อย่างเช่นรากจากต้นวาเลเรียน (Valerian Root) ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสมุนไพรสำหรับช่วยการนอนหลับในหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา โดยสมุนไพรชนิดนี้มีสรรพคุณที่ช่วยคลายความวิตกกังวล และออกฤทธิ์คล้ายยานอนหลับ จึงช่วยให้คนไข้สามารถนอนหลับได้สนิท ไม่สะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกอีก

สะดุ้งตื่นบ่อย ๆ อันตรายไหม?

สะดุ้งตื่น ใจเต้นแรง

สำหรับอาการสะดุ้งตื่น โดยปกติแล้วไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับเพียงเท่านั้น แต่ในบางกรณี อาการสะดุ้งตื่นอาจสัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีความอันตรายต่อสุขภาพ และอาจร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ 

 

ทั้งนี้ ควรสังเกตอาการสะดุ้งตื่นให้ดีว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยหรือไม่ หากมีอาการหายใจติดขัด หรือหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ในขณะหลับ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำ Sleep Test วิเคราะห์คุณภาพการนอนหลับ และเข้ารับการรักษาแก้อาการนอนกรน รวมไปถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับโดยด่วน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการสะดุ้งตื่น

ตอบคำถาม และข้อสงสัยที่พบบ่อยเกี่ยวกับการสะดุ้งตื่น

สะดุ้งตื่นกลางดึกทุกคืนควรพบแพทย์หรือไม่?

หากมีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึกทุกคืน ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และหาสาเหตุของการสะดุ้งตื่น เนื่องจากโดยปกติแล้ว อาการสะดุ้งตื่นจะเกิดเป็นครั้งคราวเท่านั้น หากเกิดอาการบ่อย อาจมีสาเหตุจากปัญหาสุขภาพบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการนั้นได้ เช่น โรคลมชัก หรือมีความผิดปกติของระบบประสาทบางส่วน เป็นต้น

สะดุ้งตื่น หัวใจเต้นเร็ว เกิดจากอะไร?

อาการสะดุ้งตื่น แล้วหัวใจเต้นเร็ว อาจเกิดจากการตกใจจากฝันร้าย หรือภาพหลอนขณะหลับ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติของร่างกายเมื่อตื่นตกใจ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือผลข้างเคียงจากยาได้ อาการหัวใจเต้นเร็วจากการสะดุ้งตื่น สามารถหายเองได้ในเวลาต่อมา แต่ถ้าหากรู้สึกว่าใจสั่นจนเจ็บหน้าอก พร้อมมีอาการหอบเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาต่อไป

สรุปเกี่ยวกับการสะดุ้งตื่น

อาการสะดุ้งตื่น คือ อาการนอนกระตุกในขณะหลับ ซึ่งจะทำให้เกิดการสะดุ้งตื่นในเวลาต่อมา และมักมีอาการเหน็บชาร่วมด้วย สามารถเกิดได้จากการฝันร้ายหรือเห็นภาพหลอน ที่ทำให้สมองเข้าใจผิด และปล่อยสารสื่อประสาทผิดพลาด จนเกิดการกระตุกของร่างกายขึ้น ซึ่งวิธีแก้ไขอาการสะดุ้งตื่นมีหลากหลายวิธีการ สามารถทำด้วยตนเองได้ง่าย ๆ แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

SkinX แอปพลิเคชันพบแพทย์ออนไลน์ ที่ได้รวบรวมแพทย์ผิวหนังจากสถานพยาบาลชั้นนำ มาให้คำปรึกษาคุณได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องรอคิว ให้คุณได้รับคำปรึกษาพร้อมกับทราบผลเลยทันที โหลดแอปพลิเคชัน SkinX เลยวันนี้ พร้อมรับดีลสุดคุ้มมากมาย

Reference

Johnson, J. (2023, January 11). What is a hypnic jerk?. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/324666

 

Kubala, J. (2023, August 28). How Valerian Root Helps You Relax and Sleep Better. Healthline. https://www.healthline.com/nutrition/valerian-root

 

Summer, J. & DeBanto, J. (2023, December 8). Hypnic Jerks: Why You Twitch When You Sleep. Sleepfoundation. https://www.sleepfoundation.org/parasomnias/hypnic-jerks

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า