คลายข้อสงสัย จริงไหม? ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด
ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด เป็นความเสี่ยงที่ได้รับหลังฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ถูกต้องจากผู้ที่ขาดความเชี่ยวชาญ หรือได้รับฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตฐาน ทำให้ฟิลเลอร์เกิดการอุดตันหลอดเลือดใหญ่ของจอประสาทตา
สำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวทั้งร่องลึก ริ้วรอย แก้มหรือหน้าตอบ บางจุดบนใบหน้าขาดความมั่นใจ หันมาพึ่งฟิลเลอร์เพื่อเติมเต็มและแก้ไขปัญหาผิวที่เกิดขึ้น ทำให้ฟิลเลอร์ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับในการแก้ปัญหาผิวที่กังวลใจ
แม้จะได้รับความนิยมแต่ก็เกิดข้อสงสัยในการฉีดฟิลเลอร์ว่า ปลอดภัยไหม? ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด จริงหรือ? ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์จมูก ฉีดตำแหน่งไหนเสี่ยงตาบอด ฟิลเลอร์ปลอมทำให้เสี่ยงตาบอดได้อย่างไร SkinX ได้รวบรวมคำตอบเกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอดไว้ที่นี่ พร้อมข้อมูลวิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์
SkinX แอปพลิเคชันที่รวบรวมแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำในไทย ที่ให้คำปรึกษาและสามารถพบหมอผิวหนังผ่านทางออนไลน์ได้ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX เพื่อปรึกษาปัญหาผิวกับแพทย์ทางออนไลน์ได้โดยตรง
พิเศษ สำหรับผู้ใช้ใหม่ ฟรี! เข้ารับคำปรึกษาผิวครั้งแรกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ฟิลเลอร์ คืออะไร?
ฟิลเลอร์ (Filler) คือ สารเติมเต็มชนิดหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาผิวบริเวณต่าง ๆ เช่น ปัญหาริ้วรอย ร่องลึก และช่วยปรับรูปหน้าในบริเวณหน้าผาก ขมับ ใต้ตา ร่องแก้ม จมูก ปาก ให้ผิวบริเวณดังกล่าวได้รับการเติมเต็ม ดูอวบอิ่ม และอ่อนเยาว์ ฟิลเลอร์ที่ใช้ในไทยเป็นฟิลเลอร์ที่มีส่วนประกอบของ Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งจัดเป็นฟิลเลอร์ประเภท Temporary Filler คือสามารถสลายจากร่างกายได้เองตามธรรมชาติ
โดยฟิลเลอร์ที่ผ่านการรับรองจาก อ.ย. ต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้ใช้ในไทย มีหลากหลายยี่ห้อ และหลายรุ่นเพื่อความเหมาะสมในบริเวณต่าง ๆ ที่ต้องการฉีด ให้ผลลัพธ์ดูเป็นธรรมชาติ และน่าพึงพอใจ ซึ่งการฉีดฟิลเลอร์ควรได้รับคำปรึกษา ประเมิน ฉีดฟิลเลอร์ และติดตามผลการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : รู้จักการ ฉีดฟิลเลอร์ (Filler) คืออะไร? เห็นผลจริงไหม ฉีดแล้วช่วยอะไร?
ฟิลเลอร์ทำให้ตาบอดได้จริงหรือ?
ฉีดฟิลเลอร์ตาบอดจริงไหม? การฉีดฟิลเลอร์แล้วทำให้ตาบอดเป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ และโอกาสที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ยากแต่ยังถือว่าเป็นความเสี่ยงที่รุนแรง
แม้หลังฉีดจะมีรอยฟกช้ำ บวม ในบริเวณที่ผิวที่ฉีด แต่อาการดังกล่าวสามารถหายได้เอง และไม่รุนแรง แต่หากฉีดฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน ฉีดกับบุคคลที่ขาดประสบการณ์ ไม่รู้วิธีฉีดที่ถูกต้องหรือแอบอ้างเป็นแพทย์ สามารถทำให้เกิดการตาบอดได้
โดยการฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอดสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีหลังจากฉีด ทางการแพทย์เรียกว่า Central retinal artery occlusion (CRAO) เป็นการอุดตันอย่างกะทันหันของหลอดเลือดแดงจอประสาทตาส่วนกลาง ทำให้จอประสาทตาขาดเลือด เซลล์ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว และสูญเสียการมองเห็น
ตำแหน่งที่อาจเสี่ยงตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์
ทุกตำแหน่งของการฉีดฟิลเลอร์มีความเสี่ยงได้หมดหากฉีดไม่ถูกวิธี และไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากบริเวณใบหน้าเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดแดงที่เชื่อมโยงกับจุดสำคัญ นั่นคือ “ดวงตา” หากการฉีดปลายเข็มเฉี่ยวเข้าไปโดนหลอดเลือด สามารถทำให้เกิดภาวะเนื้อตาย และฟิลเลอร์เข้าไปอุดตันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจนตาบอดได้
จุดส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงมากในการฉีดจะเป็นบริเวณ หว่างคิ้ว ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะฉีดโดนหลอดเลือดแดงสำคัญที่เลี้ยงดวงตา เพราะหลอดเลือดแดงในบริเวณนั้นเป็นหลอดเลือดแขนงเดียวกันกับที่ไปเลี้ยงดวงตา และบริเวณที่ฉีดก็อยู่ใกล้เคียงกับดวงตามากจึงทำให้เพิ่มความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น
สำหรับฟิลเลอร์ใต้ตาหลายคนอาจมีความเข้าใจว่าเป็นจุดเสี่ยงที่สุดสำหรับการฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด แต่จริง ๆ แล้วแม้จะไม่เสี่ยงที่สุดก็มีความเสี่ยงได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากหากแพทย์ขาดความชำนาญในการฉีด ฉีดเข้าผิดจุดพลาดโดนเส้นเลือดก็สามารถเกิดการอุดตันก็สามารถทำให้เกิดการตาบอดได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามนอกจากตำแหน่งที่ฉีดยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ควบคู่กับตำแหน่งในการฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอดได้อีก เช่น แรงกดเข็ม แรงดันขณะฉีดสารเติมเต็ม ขนาดของเข็ม และไซริงค์ที่ฉีด ก็มีผลต่อความเสี่ยงเช่นกัน
สถิติคนตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์
จากรายงานที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ปี 2020 พบว่าทั่วโลกมีการฉีดฟิลเลอร์มากถึง 3.7 ล้านครั้ง รองเป็นอันดับ 2 จากการฉีดโบท็อก แม้สถิติในการฉีดฟิลเลอร์จะแสดงให้เห็นถึงความนิยมมาก แต่ก็พบสถิติของฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอดที่ปรากฏให้เห็นจากรายงานต่าง ๆ
โดยรายงานพบในผู้หญิงอายุ 20-40 ปี ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ และจีน ในปี 2018 พบรายงานเกี่ยวกับตาบอดหลังจากได้รับฟิลเลอร์จากประเทศจีน คนไข้มีอาการปวดตา ตามัว ไม่สามารถเห็นแสงได้ และตาบอดสนิทในที่สุด
จากสถิติอื่น ๆ ยังพบว่าในกลุ่มผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด มีอัตราตาบอดถาวร 49 % เสียการมองเห็นบางส่วน 29 % และสามารถรักษากลับมามองเห็นได้ 20 % หากคิดเป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นมีรายงานว่า แต่ละปีทั่วโลกพบคนฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอดเพียงประมาณ 40 ราย และที่ไทยพบตาบอดหลังฉีดมากกว่า 10 ราย
ในปี 2019 สถิติของคนที่ฉีดแล้วเกิดความเสี่ยงตาบอดรุนแรงหลังจากได้รับสารเติมเต็มฟิลเลอร์ พบว่าจากผู้ป่วย 190 คน พบ 53 คน (28 %) มีอาการตาบอด นอกจากนั้นยังมีเคสในไทยที่พบอาการตาซ้ายไม่สามารถมองเห็นหลังจากฉีดฟิลเลอร์อีกเช่นกัน
โดยเป็นเคสที่ได้รับการฉีดในบริเวณหว่างคิ้ว หลังการฉีดมีการปวดตาซ้าย ซึมลง มีอาการขาอ่อนแรงทันที หลังจากพบอาการดังกล่าวแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยพร้อมทำการรักษาเบื้องต้น พบว่าอาการขาอ่อนแรงดีขึ้น แต่ผู้ป่วยตาซ้ายยังไม่สามารถมองเห็นได้เหมือนเดิม
อย่างไรก็ตามจากสถิติ และตัวเลขแสดงให้เห็นว่าฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอดมีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง แต่ถือว่าเป็นอัตราที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก จึงไม่ใช่ทุกคนเมื่อได้รับฟิลเลอร์แล้วจะตาบอด
วิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการฉีดฟิลเลอร์
แม้ฟิลเลอร์จะเป็นวิธีการฉีดสารเติมเต็มเพื่อแก้ปัญหาผิวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ที่สามารถแก้ปัญหาที่สร้างความไม่สบายใจทั้งร่องลึก และเติมเต็มผิวได้อย่างตรงจุด เพราะฉะนั้นก่อนจะเริ่มฉีด ฟิลเลอร์ เราสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอดได้
โดยสามารถทำได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
หลีกเลี่ยงฟิลเลอร์ปลอม
ฟิลเลอร์ปลอมเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ทำให้ถึงขั้นตาบอดเช่นกัน ฟิลเลอร์ปลอม คือ สารที่มีส่วนผสมประเภท Calcium hydroxylapatite, polymethylmethacrylate, ซิลิโคนเหลว และพาราฟิน เมื่อฉีดเข้าร่างกายแล้ว ไม่สามารถสลายออกจากร่างกายตามธรรมชาติได้หมดเหมือนกับฟิลเลอร์แท้ที่มีส่วนประกอบของ Hyaluronic Acid (HA)
ลักษณะฟิลเลอร์ปลอมจะมีราคาถูก ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก อ.ย. นำเข้ามาโดยการหิ้วหรือทำลอกเลียนแบบฟิลเลอร์แท้ขึ้นมา
การหลีกเลี่ยงฟิลเลอร์ปลอมนอกจากจะช่วยให้ลดความเสี่ยงในเรื่องของตาบอดแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงอื่น ๆ ที่จะตามมาในการฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น คัน เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ เกิดผังผืด เนื้อเยื่อตาย และยังทำให้เกิดลักษณะเป็นก้อนย้อย ทำให้รูปหน้าเกิดการเสียทรง การแก้ไขเมื่อฉีดฟิลเลอร์ปลอมจำเป็นต้องขูดฟิลเลอร์ออกเท่านั้น ไม่สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้
สถานประกอบการไม่ได้มาตราฐาน
การเลือกสถานประกอบการเป็นสิ่งสำคัญ ควรหลีกเลี่ยงสถานประกอบการที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะสถานประกอบการที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งสถานที่ อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำเนินหัตถการแล้วยังอาจมีแพทย์ปลอม หรือหมอกระเป๋าแอบแฝงดำเนินหัตถการต่าง ๆ ภายในคลินิก
สถานประกอบการที่น่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานควรตรวจสอบใบประกอบอนุญาตเปิดคลินิกได้ และที่สำคัญยังต้องสามารถตรวจสอบประวัติใบรับรองวิชาชีพของแพทย์ประจำคลินิกได้ด้วย นอกจากนี้ต้องมั่นใจว่าหัตถการต่าง ๆ แพทย์ต้องเป็นผู้ดำเนินการทำเองเท่านั้น
ปรึกษาเฉพาะแพทย์ผู้มีประสบการณ์โดยตรงเท่านั้น
การปรึกษาเรื่องการฉีดกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในด้านนี้โดยตรงสามารถช่วยลดความเสี่ยงตาบอดได้ เนื่องจากประสบการณ์ในการฉีดเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดความเข้าใจในบริเวณโครงสร้างใบหน้าได้เป็นอย่างดี เมื่อเกิดความเสี่ยงที่รุนแรงหลังจากฉีดสามารถตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมรับมือ และจัดการกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ทันที
และยังสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมในการฉีดฟิลเลอร์ทั้งก่อน-หลังทำหัตถการ ว่าจุดไหนเหมาะ จุดไหนสมควรฉีด การดูแลปฏิบัติตัวเองเมื่อได้รับฟิลเลอร์ ข้อควรระวังต่าง ๆ เป็นต้น
หาฟีดแบค รีวิวประกอบก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์
ฟีดแบค และรีวิวประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกฉีดฟิลเลอร์จะช่วยให้เราสามารถเลือกรับบริการกับสถานประกอบการที่น่าเชื่อถือได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามควรระวังสถานประกอบการที่โฆษณาเกินจริง หรือมีการจ้างบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือได้ ดังนั้นควรเลือกจากฟีคแบค รีวิวจากผู้รับบริการจริงเพื่อความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของการฉีดฟิลเลอร์
สรุป
การฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอดเป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง และเป็นความเสี่ยงที่รุนแรง แต่โอกาสเกิดขึ้นสามารถเกิดขึ้นได้ยาก หากได้รับการฉีดฟิลเลอร์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีความรู้ในโครงสร้างบริเวณใบหน้าได้เป็นอย่างดี
ความเสี่ยงตาบอดหลังจากได้รับฟิลเลอร์สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการเลือกฉีดฟิลเลอร์แท้ เลือกสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน และฉีดโดยแพทย์ที่ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพราะเมื่อหากเกิดความเสี่ยงดังกล่าวสามารถรับมือ และรักษาเบื้องต้นได้ทัน
หากยังเกิดข้อสงสัย หรือกังวลใจเกี่ยวกับฟิลเลอร์ และปัญหาผิวหรือหัตถการอื่น ๆ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SkinX เพื่อรับคำปรึกษา และคำแนะนำดี ๆ จากแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางที่พร้อมให้คำปรึกษาออนไลน์ ง่าย ๆ ดาวน์โหลด SkinX วันนี้เพื่อรับคำปรึกษาดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรงได้เลย
แหล่งอ้างอิง
Ann Q. T., Wendy W. L. (2021). Vision Loss and Blindness Following Fillers. https://www.dermatoljournal.com/articles/vision-loss-and-blindness-following-fillers.html
Chatrath V., Banerjee P. S, Goodman G., Rahman E. (2019). Soft-tissue Filler–associated Blindness: A Systematic Review of Case Reports and Case Series. https://journals.lww.com/prsgo/fulltext/2019/04000/soft_tissue_filler_associated_blindness__a.1.aspx
Kapoor K. M., Kapoor P., Heydenrych I., Bertossi D. (2020). Vision Loss Associated with Hyaluronic Acid Fillers: A Systematic Review of Literature. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31822960/
Kuldeep Singh & Shahin Nooreyezdan. (2020). Nonvascular Complications of Injectable Fillers—Prevention and Management. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7822713/
Lin Y. C., Chen W. C., Liao W. C., Hsia T. C. (2014). Central retinal artery occlusion and brain infarctions after nasal filler injection. https://academic.oup.com/qjmed/article/108/9/731/1642614
Ramadermatology. (2022). Grand round (สำหรับแพทย์) ผลข้างเคียงจากการฉีด HA filler. https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0xyPdFLcisTjQzyJDaG8bLbxusGauyVfik9BJKxV6PWyvCQ8vnp8XGN3VoE9hpKqbl&id=104986427555701