SkinX

GET-On the App Store

SkinX Team

17 สิงหาคม 2565

สิวฮอร์โมนในผู้ชายและผู้หญิง สิวประจำเดือน สัญญาณเตือนโรคระบบฮอร์โมน!

“สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne)” คือ สิว ที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ทำให้สิวฮอร์โมนมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิมซ้ำๆ เช่น ช่วงรอบประจำเดือน ช่วงหมดประจำเดือน การตั้งครรภ์ ภาวะความเครียด ฯลฯ ส่งผลให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสิวฮอร์โมน ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยผู้ใหญ่นั่นเอง

แล้วแบบนี้ สิวฮอร์โมนเป็นยังไง? เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง? ตำแหน่งสิวฮอร์โมนที่มักพบบ่อย รวมไปจนถึง สิวฮอร์โมนรักษายังไง? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมๆกันได้ในบทความนี้

สารบัญบทความ

  1. สิวฮอร์โมนเป็นยังไง
  2. สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร
  3. บริเวณที่มักเกิดสิวฮอร์โมน
  4. สิวฮอร์โมนรักษายังไง
  5. วิธีป้องกันสิวฮอร์โมน
  6. คำถามที่พบบ่อย
  7. สรุป

สิวฮอร์โมนเป็นยังไง

สิวฮอร์โมนเป็นแบบไหน? ลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง? หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า “สิวฮอร์โมน” ที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน สามารถเป็นได้ทั้งสิวอุดตันและ สิวอักเสบ จึงทำให้อาการแสดงของสิวฮอร์โมนที่ปรากฏในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน โดยลักษณะสิวฮอร์โมนแต่ละประเภท มีดังนี้

  1. สิวอุดตัน (Comedones)
  • สิวอุดตันหัวเปิด (Open Comedone) หรือ สิวหัวดำ (Blackheads)

มีลักษณะเป็นสิวอุดตันขนาดเล็ก บริเวณตรงกลางมีการฝังตัวของเคราติน(Keratin)และลิพิด(Lipid) ที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น(Oxidation)กับอากาศ ทำให้จากสีขาวเหลือง กลายเป็นสีเข้มหรือสีดำนั่นเอง

  • สิวอุดตันหัวปิด (Closed Comedone) หรือ สิวหัวขาว (Whiteheads)

ลักษณะเป็นสิวอุดตันขนาดเล็กที่มีความนูนออกมาเล็กน้อย บริเวณหัวสิวมีสีขาว และสังเกตเห็นจากภายนอกได้ยาก

  1. สิวอักเสบ (Inflammatory acne)
  • สิวตุ่มนูนแดง (Papule)

สิวตุ่มนูนแดง (Papule) เป็นลักษณะสิวกลมๆ สีแดง ขนาดเล็กไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร ภายในไม่มีการเกิดหนอง เมื่อสัมผัสอาจให้ความรู้สึกเจ็บเล็กน้อย

มีลักษณะเป็นสิวสีแดง ตรงกลางปรากฏหนองสีขาวเหลือง ให้ความรู้สึกเจ็บปวดแก่ผู้ที่สัมผัสโดนเล็กน้อย

  • สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ (Nodule)

การอักเสบระดับรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก โดยมีลักษณะเป็นสิวขนาดใหญ่ แข็งเป็นก้อน ไม่มีหัวสิว ไม่มีหนองอยู่ภายใน ไม่สามารถบีบออกได้ เนื่องจากเป็นสิวที่เกิดอยู่ในระดับชั้นผิวหนังที่ค่อนข้างลึก

สิวฮอร์โมนเกิดจากอะไร

สิวฮอร์โมนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน หรือ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกาย เมื่อปริมาณฮอร์โมนแอนโดรเจน(Androgen) เพิ่มสูงขึ้น ฮอร์โมนนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน ให้ผลิตซีบัม(Sebum) ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น

หากเคราติน(Keratin) ซีบัม(Sebum) และเชื้อแบคทีเรียรวมตัวกัน จะก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน จนกลายมาเป็นสิวอุดตัน (Comedones) หรือในบางกรณี เมื่อมีการอุดตันรูขุมขนขึ้นมากๆ ขยายตัวจนทำให้ท่อรูขุมขนเกิดการอักเสบ ก็จะทำให้มีโอกาสที่จะกลายเป็นสิวอักเสบ (Inflammatory acne) ได้เช่นกัน

กรณีที่ทำให้ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น…

  • ช่วงประจำเดือน ได้แก่ การมีประจำเดือน, ผู้ที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome : PCOS)
  • ภาวะHyperandrogenism
  • ภาวะความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ช่วงการตั้งครรภ์

บริเวณที่มักเกิดสิวฮอร์โมน

บริเวณที่เกิดสิวฮอร์โมน

ตำแหน่งสิวฮอร์โมนที่มักพบบ่อย ได้แก่ สิวฮอร์โมนแก้ม กรามซึ่งเป็นบริเวณส่วนล่างของใบหน้า และสิวฮอร์โมนที่หลั

สิวฮอร์โมนรักษายังไง

การรักษาสิวฮอร์โมน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุร่วมอื่นๆด้วย เช่นภาวะถุงน้ำรังไข่ ซีสที่รังไข่ ส่วนการดูแลรักษาเบื้องต้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยแต่ละวิธี อาจมีรายละเอียดการรักษาที่แตกต่างกันออกไป จึงควรพิจารณาวิธีรักษาสิวฮอร์โมนที่เหมาะสมกับชนิดของสิว และสภาพผิวของตนเอง เพื่อผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งวิธีรักษาสิวฮอร์โมน มีดังนี้

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนแบบธรรมชาติ

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนแบบธรรมชาติ ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง ได้แก่…

  • Tea Tree Oil น้ำมันสำหรับทาเฉพาะที่ ที่ช่วยในเรื่องลดการอักเสบของสิว โดยควรทำการทดสอบกับผิวหนังก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ขัดผิวด้วยสครับอย่างอ่อนโยน เพื่อช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ไม่ให้เกิดการอุดตันรูขุมขน แต่ไม่ควรทำบ่อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน
  • รับประทานน้ำมันปลา เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยลดการอักเสบ และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวได้
  • กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids : AHAs) เป็นสารสกัดธรรมชาติที่ได้มาจากผลไม้ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นส่วนผสมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีฤทธิ์ในการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และช่วยลดรอยแผลเป็นให้จางลง

รักษาสิวฮอร์โมนด้วยยาทา

วิธีแก้สิวฮอร์โมนด้วยยาทา เป็นยาที่ใช้ภายนอก เพื่อรักษาเฉพาะบริเวณที่เกิดสิวฮอร์โมนโดยตรง ซึ่งสิวฮอร์โมนรักษาได้ด้วยกลุ่มยาดังต่อไปนี้

  1. ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids)

ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids) เป็นกลุ่มที่สามารถรักษาได้ทั้งสิวอุดตัน และสิวอักเสบ โดยตัวยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Tretinoin, Adapalene, Tazarotene มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ และลดการอุดตันของสิว แต่อย่างไรก็ตาม อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ผิวแห้ง และไวต่อแสงได้มากขึ้น

  1. เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide)

เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เป็นตัวยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียได้โดยการปล่อย Free Oxygen Radicals เพื่อจับกับส่วนต่างๆของเซลล์แบคทีเรียและทำลายแบคทีเรียลง

อีกทั้งตัวยาชนิดนี้ ยังลดการอุดตันของสิว และเชื้อแบคทีเรียไม่สามารถพัฒนาตนเองให้ทนทานต่อฤทธิ์ยาได้ จึงทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องของการดื้อยา ซึ่งเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) มีทั้งรูปแบบโลชั่น เจล ครีม โฟม ที่มีระดับความเข้มข้นแตกต่างกันออกไป แต่ถึงอย่างนั้น ผู้ใช้ยาชนิดนี้ อาจต้องระมัดระวังเรื่องของผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดอาการผิวแห้ง และการระคายเคืองต่างๆ ได้

  1. ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ (Antibiotics)

ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ (Antibiotics) โดยทั่วไปมักนิยมใช้อยู่ 4 ตัว ได้แก่ Erythromycin, Clindamycin, Metronidazole และ Dapsone

ยา Erythromycin, Clindamycin และ Metronidazole เป็นยาทาภายนอกที่ควรใช้ร่วมกับ เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการดื้อยา จึงไม่นิยมใช้ตัวยาเพียงแค่ตัวเดียวในการรักษาเท่าไหร่นัก

ส่วน Dapsone เป็นตัวยาที่ยังไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย และไม่ควรใช้ยา Dapsone ร่วมกับ Benzoyl Peroxide เนื่องจากอาจเกิดรอยสีส้มขึ้นบนผิวหนัง

  1. กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid)

กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) เป็นกรดที่ได้จากสารสกัดตามธรรมชาติ สามารถเป็นยาต้านจุลชีพ(Antimicrobial) ช่วยลดการอุดตันรูขุมขน ต้านการสร้างเม็ดสี (Tyrosinase inhibitor) และลดรอยดำหลังจากการรักษาสิวได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) ควรใช้ปริมาณตามที่แพทย์ให้คำแนะนำอย่างเคร่งครัด เนื่องจากหากใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป อาจก่อให้เกิดอาการแสบร้อนได้

ยารักษาสิวฮอร์โมนแบบรับประทาน

การใช้ยาลดสิวฮอร์โมนแบบรับประทาน เป็นการรักษาสิวฮอร์โมนจากภายใน ซึ่งสามารถช่วยแก้สิวฮอร์โมนที่มีระดับความรุนแรงมาก หรือสิวเรื้อรัง ให้มีอาการที่ดีขึ้นได้ โดยยารักษาสิวฮอร์โมนแบบรับประทาน มีดังนี้

  1. ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน (Antibiotics)

ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน (Antibiotics) มีตัวยาที่อยู่ในกลุ่มนี้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Tetracycline, Doxycycline, Minocycline, Macrolides ฯลฯ ซึ่งแต่ละตัว อาจมีข้อดีและผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป แต่ถึงอย่างนั้น ยาปฏิชีวนะยังคงเป็นกลุ่มยาที่มีการจำกัดการใช้ยาอยู่ค่อนข้างมาก เนื่องจากป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดการดื้อยาขึ้นนั่นเอง

  1. การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy)

การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy) เป็นการใช้ยา เพื่อลดการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน(Androgen) และควบคุมฮอร์โมนให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น โดยยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่…

  • ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน(Oral Contraceptives)

ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน(Oral Contraceptives) เป็นยาที่ลดปริมาณแอนโดรเจน (Androgen) โดยการเข้าไปยับยั้งการสร้าง Luteinizing Hormone (LH), ลดปริมาณ Free Testosterone และขัดขวางการทำงานของ Androgen Receptor

  • ยากลุ่ม Gonadotropin-Releasing Hormone Agonists

ยากลุ่ม Gonadotropin-Releasing Hormone Agonists (GnRH Agonists) มีฤทธิ์ในการทำลายวงจรการหลั่งฮอร์โมน Gonadotropin ที่มาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน(Androgen) ส่งผลให้ปริมาณแอนโดรเจน (Androgen)ลดลง

  1. การใช้ยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin)

ยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) นิยมใช้ในกลุ่มสิวอักเสบที่มีความรุนแรงระดับปานกลางไปจนถึงความรุนแรงมาก และกลุ่มที่มีอาการดื้อยา รักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ ไม่ได้ผล ซึ่งตัวยาจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของต่อมไขมันที่ผลิตซีบัม(Sebum)ออกมามากจนเกินไป ลดการอักเสบ และช่วยให้การผลัดเซลล์ผิวเข้าสู่ภาวะปกติมากยิ่งขึ้น

การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยหัตถการอื่นๆ

การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยการทำหัตถการอื่นๆ ก็สามารถช่วยให้สิวจากฮอร์โมนลดลงได้เช่นเดียวกัน โดยวิธีการรักษาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่…

  • การใช้สารเคมีลอกผิว (Chemical Peel)

การใช้สารเคมีลอกผิว (Chemical Peel) เป็นวิธีการลดสิวฮอร์โมนด้วยการใช้สารเคมีลอกผิวหนังชั้นนอกสุดออกมา เพื่อป้องกันการอุดตันรูขุมขนและช่วยในเรื่องของการผลัดเซลล์ผิว ซึ่งมักจะนิยมใช้ในกลุ่มที่ไม่สามารถรักษาสิวด้วยรูปแบบอื่นๆได้ เช่น ผู้ที่อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ ผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาบางชนิดได้

  • การทำเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสง (Phototherapy and Laser)

การทำเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสง (Phototherapy and Laser) เป็นวิธีการรักษาสิวฮอร์โมนและสิวชนิดอื่นๆ แบบใหม่ ที่ในปัจจุบันยังคงมีการพัฒนาอยู่ตลอด

โดยการรักษาประเภทนี้ จะช่วยในเรื่องของการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย C.acne ลดการอักเสบ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดรอยดำ หลุมสิว หรือรอยแผลเป็นจากสิวได้ อีกทั้งการทำเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสงนี้ จะเป็นวิธีที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ยาชนิดอื่นๆ อีกด้วย

  • การฉีดสิว (Cortisone Injections)

การฉีดสิวเป็นการฉีดยาเพื่อลดการอักเสบของสิวชนิดเป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง ให้ผลการรักษาที่ดี แต่ควรใช้ยาทาอื่นๆควบคู่ไปด้วย

แนะนำปรึกษาแพทย์ผิวหนัง

ปรึกษาแพทย์รักษาสิว

“สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne)” เป็นสิวที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากฮอร์โมนภายในร่างกายเป็นหลัก ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดสิวได้หลากหลายชนิด ซึ่งจะส่งผลให้วิธีการดูแลรักษาสิวแต่ละชนิด มีความแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้น การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินระดับความรุนแรงและชนิดของสิวที่เกิดขึ้น อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาสิวฮอร์โมนอย่างถูกวิธี

ปัจจุบัน การเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เพราะแอปพลิเคชั่น SkinX ได้ทำการรวบรวมแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง จากสถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศมากกว่า 210 ท่าน มาให้คำปรึกษา และดูแลคุณโดยเฉพาะ ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องกังวลเรื่องเวลานัดหมาย อยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายๆ เพราะผิวดี ไม่ต้องรอ

อ่านต่อบทความ: รักษาสิวดูแลผิวหน้าอย่างถูกวิธี ให้ผิวกลับมาเนียนใส!

วิธีป้องกันสิวฮอร์โมน

ถึงแม้ว่า “สิวฮอร์โมน(Hormonal Acne)” อาจหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดสิวฮอร์โมนได้ ดังนี้

  • พยายามหากิจกรรมที่ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดสะสม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ไม่อุดตันรูขุมขน หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของลาโนลิน(Lanolin) ซิลิโคน(Silicone) และน้ำมันแร่(Mineral Oil)
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ทำความสะอาดใบหน้า และส่วนอื่นๆของร่างกาย วันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะบุคคลที่แต่งหน้า ควรทำความสะอาดเครื่องสำอางบนใบหน้าให้สะอาดหมดจด
  • งดการบีบ แคะ หรือสัมผัสสิวบริเวณนั้นๆ

คำถามที่พบบ่อย

สิวประจำเดือนเป็นแบบไหน?

สิวประจำเดือนเป็นยังไง? “สิวฮอร์โมนประจำเดือน” เป็นการเกิดสิวที่มีความสัมพันธ์กับช่วงรอบประจำเดือนของแต่ละบุคคล เนื่องจากช่วงใกล้เข้าสู่รอบประจำเดือน จะเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่มีความแตกต่างไปจากสภาวะปกติ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการมีประจำเดือน

โดยสิวประจำเดือนจะเกิดขึ้นซ้ำๆ ในทุกรอบประจำเดือน ส่วนใหญ่มักจะเกิดเป็นสิวก่อนประจำเดือนจะมาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่บางรายสิวอาจขึ้นตอนเป็นประจำเดือนแล้ว ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน และนอกจากเรื่องของสิว ในช่วงนี้อาจทำให้เกิดอาการหงุดหงิด ความเครียด หรือเจ็บบริเวณหน้าอกร่วมด้วย

สิวฮอร์โมนหายตอนไหน

หลายๆ คน อาจมีข้อสงสัยว่า สิวฮอร์โมนหายตอนไหน? ต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่? ในความเป็นจริงระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาของแต่ละคน มีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของสิวฮอร์โมน และการเลือกวิธีการรักษาสิวฮอร์โมน จึงทำให้บางรายสิวฮอร์โมนอาจอยู่ได้เพียง 2-3 วัน แต่ในบางกรณีก็คงอยู่ได้ถึง 2-3 สัปดาห์ แล้วค่อยๆจางหายไป

สรุป

“สิวฮอร์โมน(Hormonal Acne)” เป็นสิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งสิวอุดตันและสิวอักเสบ โดยช่วงที่ฮอร์โมนมักมีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ช่วงรอบประจำเดือน ความเครียด ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ฯลฯ จึงทำให้การแก้ไขปัญหานี้ด้วยตนเอง อาจไม่ง่ายดายนัก

ฉะนั้น การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ทางด้านผิวหนังโดยตรง อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม การดูแลตนเองควบคู่ไปกับการเข้ารับการรักษา ก็เป็นสิ่งสำคัญที่อาจทำให้ระดับความรุนแรงของสิวทุเลาลง และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสิวใหม่ๆขึ้นเช่นเดียวกัน

บทความนี้ได้รับการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังแล้ว

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Cherney, K. (2019, March 7). Hormonal Acne: Traditional Treatments, Natural Remedies, and More. Healthline. https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/hormonal-acne#diet

Hess, S. (2020, November 20). What is Hormonal Acne? Hormonal Acne Treatment. Apotheco Pharmacy. https://www.apothecopharmacy.com/blog/what-is-hormonal-acne-hormonal-acne-treatment/

Hormonal Acne. (2021, October 09). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21792-hormonal-acne#outlook–prognosis

Macgill, M. (2018, July 23). Hormonal acne: What you need to know. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/313084

Perkins, S. (2020, June 12). The Ultimate Guide to Period-Related Breakouts. Healthline. https://www.healthline.com/health/period-acne

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใช้งานครั้งแรกปรึกษาฟรี
Tips & Tricks
สาระน่ารู้และข่าวประชาสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า