สิวที่คอ เกิดจากอะไร สาเหตุ พร้อมวิธีการดูแลรักษาให้ผิวที่คอกลับมาเรียบเนียน
หลายคนคงเคยได้ยินมาว่า ตำแหน่งสิวตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น หน้าผาก จมูก แก้ม คาง และคอ กำลังส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็นโรคร้ายแรง เชื่อได้แค่ไหน ในความเป็นจริงแล้วตำแหน่งสิวบนร่างกายของคนเรา ไม่ว่าจะเป็น สิวที่ปาก สิวที่หน้าผาก สิวที่คอ หรือตำแหน่งอื่นๆ ยังไม่มีหลักฐานหรือผลวิจัยรองรับว่า ตำแหน่งของสิวบนร่างกายสามารถบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคร้ายแรงได้
ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องกังวลหากคุณมี สิวที่คอ หรือบริเวณอื่นตามร่างกาย ไม่ใช่เรื่องแปลกและคุณไม่ได้กำลังเป็นโรคร้ายแรง สิวสามารถขึ้นได้ทุกที่ทั่วร่างกายของคนเรา
Fact : สิวที่คอ บอกโรคจริงหรือ คำตอบคือ ไม่จริง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชี้ชัด เรื่องสิวตามตำแหน่งต่างๆบนร่างกายสามารถบอกโรคได้ โดยปกติแล้วสิวสามารถขึ้นได้ทุกที่บนร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น บริเวณใบหน้า คอ อก แผ่นหลัง และแขน
ถ้าอย่างนั้น สิวที่คอ สาเหตุเกิดจากอะไร มาหาคำตอบสาเหตุของสิวที่คอเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรักษาสิวที่คอให้หายขาด ไม่ทิ้งรอยดำไว้กับ SkinX
สิวที่คอเกิดจากอะไร
หลายคนกำลังเจอปัญหาสิวขึ้นที่คอ หรือ เคยเป็นสิวที่คอ โดยธรรมชาติของ สิว สามารถเกิดได้ทุกที่บนร่างกาย ส่วนใหญ่มักจะเกิดบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก แผ่นหลัง และแขน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากคุณมีสิวขึ้นที่คอ หรือ สิวขึ้นท้ายทอย เพราะเป็นจุดที่มีต่อมไขมัน
กลไกของการเกิดสิว สิวที่คอเกิดจากการที่ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็นและให้รูขุมขนอุดตัน การอุดตันรูขุมขนมีสาเหตุมาจาก เซลล์ผิวที่ตายแล้ว ไขมัน (Sebum) และแบคทีเรีย เมื่อเกิดการอุดตันทำให้เกิดสิวในที่สุด นอกจากสาเหตุที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุของการเกิด สิวที่คอ มีดังนี้
1.ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขน ไม่ว่าจะเป็น ครีมอาบน้ำ แชมพู ครีมนวด หรือโลชั่น
2.ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายและเส้นผม ที่มีส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคืองแก่ผิวหนัง
3.ฮอร์โมนแปรปรวน โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น ช่วงมีประจำเดือน และผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
4.การขัดและทำความสะอาดผิวที่ใช้ความรุนแรงมากเกินไป
5.สิ่งสกปรกจากการสัมผัสบริเวณคอโดยไม่ตั้งใจ เพราะมือเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคและสิ่งสกปรก เมื่อสัมผัสบริเวณคออาจจะกระตุ้นให้เกิดสิวได้
6.เมื่อออกกำลังกายเสร็จแล้ว ไม่ทำความสะอาดทำให้เกิดการหมักหมมของสิ่งสกปรกและเหงื่อไคล
7.เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอุปกรณ์กีฬา ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองจากการสีเสียดกับผิวหนังโดยตรง
8.การกินยาบางชนิด
ดังนั้น สิวขึ้นที่คอ จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติและยังมีวิธีการรักษาหลายวิธีที่ใช้ได้ผลกับสิวที่คอ โดยปกติแล้วการรักษาสิวที่คอไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าคุณเป็นสิวที่คอจำนวนมากหรือพยายามรักษาด้วยวิธียาทาแล้ว ไม่หายสักที แนะนำให้ลองไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและใช้วิธีรักษาที่ปลอดภัยและได้ผลดีที่สุด
ประเภทของสิวที่คอ
เนื่องจากบริเวณคอ หลังคอ และท้ายทอย มีต่อมไขมันอยู่ทำให้สามารถเกิดการอุดตันที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิด และสามารถเกิดสิวได้ทุกประเภท ไม่ว่าเป็น สิวหัวดำ (Blackheads) สิวหัวขาว (Whiteheads) สิวตุ่มแดง (Papules) สิวหัวหนอง (Pustules) สิวช้าง (Nodule) สิวผด (Acne Aestivalis) และ สิวอักเสบรุนแรง (Nodulocystic)
ซึ่งสิวแต่ละประเภทจะมีลักษณะและอาการความรุนแรงในการเจ็บปวดที่แตกต่างกัน ดังนี้
สิวอุดตัน (Comedones) เกิดจาก Microcomedone เมื่อเคราติน ไขมัน เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และแบคทีเรีย ก่อตัวกันทำให้กลายเป็น สิวอุดตัน ในที่สุด สิวอุดตันมี 2 ประเภท ได้แก่
1.สิวหัวดำ (Blackheads) หรือ สิวหัวเปิด (Open Comedone)
มีลักษณะเป็นสิวเม็ดเล็กๆหัวแบน หัวสิวมีสีดำ เมื่อสัมผัสบริเวณที่เกิดสิวจะรู้สึกขรุขระเล็กน้อย หัวสิวสีดำมีสาเหตุจากก้อนเคราติน ไขมัน และแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในสิวทำปฏิกิริยา Oxidation กับอากาศจนทำให้หัวสิวกลายเป็นสีดำ
2.สิวหัวขาว (Whiteheads) หรือ สิวหัวปิด (Closed Comedone)
สิวชนิดนี้มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก มีสีขาว สีครีม หรือสีเดียวกับผิวหนัง มองเห็นได้ยาก เป็นสิวที่พัฒนาอยู่ใต้ผิวหนัง รักษาได้ยากกว่าสิวหัวดำ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาให้ดี สิวหัวขาวมีโอกาสใหญ่ขึ้นจนผนังรูขุมขนแตกออก เมื่อผนังรูขุมขนแตกออกอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและกลายเป็นสิวอักเสบได้
สิวอักเสบ (Inflamed Acne) เป็นสิวที่มีอาการอักเสบบริเวณชั้นผิวหนังหรือต่อมไขมัน จากการติดเชื้อแบคทีเรีย สิวอักเสบสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ตามอาการความรุนแรง ดังนี้
สิวตุ่มแดง (Papule) หรือที่หลายคนสงสัยว่า สิวขึ้นที่คอไม่มีหัว คือสิวอะไร คำตอบคือ สิวอักเสบหรือสิวตุ่มแดงนั้นเอง สิวชนิดนี้มีการอักเสบบริเวณชั้นผิวหนังตื้นๆ มีลักษณะเป็นตุ่มสิวอักเสบเม็ดเล็กๆ สีแดง ไม่มีหัวหรือหนอง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อย
สิวหัวหนอง (Pustule) สิวหัวหนองพัฒนามาจากสิวอุดตัน แต่มีระดับการอักเสบที่รุนแรงกว่าสิวตุ่มแดง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเป็นตุ่มนูนเล็กๆและรู้สึกเจ็บ ลักษณะของสิวหัวหนอง จะมีจุดสีขาวเหลืองอยู่ตรงกลาง หรือที่เรียกกันว่า หนอง (Pus) บริเวณฐานมีสีแดง สีชมพู หรือสีเดียวกับผิวหนัง
สิวชนิดนี้มีการอักเสบที่รุนแรงกว่า Papule และ Pustule การอักเสบของสิวหัวช้างจะอยู่ในชั้นผิวหนังที่ลึกลงไปด้านใน ทำให้สิวหัวช้างมีลักษณะเป็นก้อนตุ่มนูนขนาดใหญ่ สีชมพูแดง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บปวดมาก บางครั้งสิวประเภทนี้ถูกเรียกว่าสิวตุ่มนูนขนาดใหญ่
สิวผด (Acne Aestivalis หรือ Acne Mallorca) จริงๆแล้วสิวผดเป็นผดผื่นชนิดหนึ่ง และไม่ได้เกิดจากการอุดตันรูขุมขนหรือการอักเสบเหมือนสิวประเภทอื่นๆ ปกติมักเกิดจากแสงแดด และ UVA กระตุ้นให้เกิดเป็นผดเม็ดเล็กๆ มีลักษณะคล้ายกับสิวหัวปิด และบางครั้งมีสีแดงคล้ายกับสิวอักเสบ โดยปกติแล้วสิวผดมักพบในช่วงฤดูร้อน และประเทศที่มีอากาศร้อน
สิวอักเสบรุนแรง หรือ Nodulocystic เป็นสิวที่มีการอักเสบที่รุนแรงที่ชั้นผิวหนังแท้ ซึ่งเป็นชั้นผิวหนังที่อยู่ลึกลงไป เมื่อเผลอไปสัมผัสจะรู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก มีลักษณะเป็นตุ่มสิวขนาดใหญ่ มีของเหลวข้างในชั้นผิวหนัง มีทั้งสีแดงชมพูและสีเดียวกับผิวหนัง ไม่มีหัวหรือหนอง สิวอักเสบรุนแรงจึงกลายเป็นสิวที่รักษายากที่สุด
สำหรับสิวทิ้งอักเสบทุกประเภท ไม่ควรบีบ กด แกะด้วยตัวเองเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้อาการอักเสบแย่ลงกว่าเดิม หากหนองข้างในแตกออก อาจเกิดการลุกลามไปบริเวณใกล้เคียงทำให้เกิดสิวอักเสบมากกว่าเดิม และที่สำคัญการบีบ กด แกะ สิวอักเสบสามารถทิ้งรอยดำ รอยแผลเป็นได้ทำให้เสียเวลาในการรักษามากกว่าเดิม
วิธีรักษาสิวที่คอ
1.การใช้ยาทาและยารับประทาน
วิธีการใช้ยาทาและยาทานรักษาสิวที่คอ เป็นวิธีที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดกับสิวที่คอ เพราะสิวที่คอรักษาง่าย ในกรณีที่มีจำนวนสิวที่คอไม่เยอะ และไม่ได้มีการอักเสบที่รุนแรง ใช้เวลารักษาสิวที่คอเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็สามารถหายได้ โดยไม่ทิ้ง รอยสิว เอาไว้ยาที่ใช้รักษาสิว มีดังนี้
- Benzoyl Perxide
หรืออีกชื่อที่คุ้นเคย Benzac เป็นยาที่นิยมใช้รักษาสิว สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไปทั่ว Benzoyl Perxide สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว และช่วยยับยั้งจำนวนแบคทีเรียด้วยการปล่อย Free Oxygen Radicals ออกมาทำลายเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ข้อดีของยา Benzoyl Perxide ไม่พบผู้แพ้ยาชนิดนี้มากนัก และไม่ก่อให้เกิดการดื้อยาเหมือนยาปฏิชีวนะ
- Salicylic Acid
เป็นกรดธรรมชาติที่สามารถช่วยลดการอุดตัน และสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
นอกจากนี้ Salicylic Acid สามารถช่วยผลัดเซลล์ผิวทำให้ Keratinocyte เกาะตัวกันน้อยลง
ลดการเกิดของสิวอุดตันลงได้
- Retinoids
ยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ สามารถออกฤทธิ์ลดการอุดตันและการอักเสบได้ ใช้รักษาได้ทั้งในสิวอุดตันและสิวอักเสบ แต่ข้อเสียขอยากลุ่มนี้คือทำให้ผิวบางลง ไวต่อแสง และอาจทำให้ผิวแห้งเกิดการระคายเคือง ผู้ใช้ยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอรักษาสิวที่คอควรทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านทุกวัน
- ยาปรับฮอร์โมน
ยาปรับฮอร์โมนเป็นยาที่ใช้รักษาสิวกับผู้หญิงเพียงเท่านั้น ไม่นิยมใช้กับเพศชาย เพราะจะส่งผลให้ Androgen น้อยเกินไป และลดลักษณะแสดงออกทางเพศบนร่างกายของเพศชายได้ โดยปกติแล้วยาปรับฮอร์โมนใช้เพื่อควบคุมฮอร์โมนในกลุ่ม Androgen ที่เป็นฮอร์โมนต้นเหตุของการเกิดสิว ยาที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ คือ ยาคุมกำเนิด ที่สามารถต่อต้านการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน Androgen ได้
ทั้งนี้ ยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอเป็นยาอันตราย จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์และให้แพทย์เป็นคนสั่งจ่ายยาเท่านั้น หากเกิดอาการแพ้ยาควรหยุดใช้ยาและไปพบแพทย์โดยทันที
การแปะแผ่นดูดสิว
การรักษาสิวที่คอด้วยแผ่นดูดสิว สามารถใช้ได้เฉพาะกับสิวอักเสบหัวหนองเท่านั้น หากเป็นสิวอุดตัน (Comedone) หรือ สิวอักเสบ (Inflamed Acne) ที่มีอาการอักเสบในชั้นผิวหนังที่ลึกลงไป เช่น สิวอักเสบรุนแรง หรือ สิวหัวช้าง จะไม่สามารถใช้แผ่นดูดสิวรักษาได้
แผ่นดูดสิวจะทำงานโดยการดูดเอาของเหลว หนอง และไขมันส่วนเกินออกมาจากชั้นของผิวหนัง ช่วยทำให้สิวแห้งเร็วขึ้น นอกจากนี้แผ่นดูดสิวยังช่วยลดการสัมผัสบริเวณที่เป็นสิวโดยไม่ตั้งใจ ลดการอักเสบจากสิ่งสกปรกและเชื้อโรคลงได้
3.ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง ที่แอป SkinX
สำหรับผู้ที่เป็นสิวที่คอจำนวนมาก และมีอาการอักเสบที่รุนแรง รู้สึกเจ็บปวด แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาวิธีรักษาที่ประหยัดเวลาและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
บางคนคิดว่าการไปปรึกษาแพทย์เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องเสียเวลา และจำเป็นต้องลาหยุดเพื่อไปพบแพทย์ แต่ในความเป็นจริงแล้วปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่น SkinX ที่ช่วยให้คุณสามารถปรึกษาปัญหาสิวที่คอยกวนใจคุณกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง ไม่ว่าคุณจะอยู่ไหนก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันทีไม่จำเป็นต้องลาหยุด หรือเสียเวลาเดินทางอีกต่อไป
นอกจากนี้ยังสามารถมั่นใจในการรักษาได้ เพราะแอป SkinX ได้รวบรวมแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังกว่า 210 ท่าน จากสถานพยาบาลทั่วประเทศมาให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาสิวให้กับคุณ เพียงดาวน์โหลดแอป ทำการนัดหมายเวลา เพียงแค่นี้ ก็สามารถปรึกษาปัญหาสิวกับแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังได้แล้ว ทีนี้ก็ไม่ต้องไปเบียดกับคนอื่นบนรถไฟฟ้าเพื่อไปพบแพทย์แล้ว อยู่ที่ไหนก็ปรึกษาได้ ง่ายๆเพียงคลิกเดียว
การป้องกันไม่ให้สิวขึ้นที่คอ
สิวที่คอส่วนใหญ่มักเกิดจากการอุดตันรูขุมขนและสิ่งสกปรก ถ้าหากคุณต้องการหลีกเลี่ยงสิวที่คอหรือสิวที่ท้ายทอย ควรรักษาความสะอาดและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่าง เพื่อลดความเสี่ยงของอัตราการเกิดสิว การป้องกันไม่ให้สิวขึ้นที่คอ มีดังนี้
1.ทำความสะอาดร่างกายหลังออกกำลังกายเสร็จทุกครั้ง หรือ ที่เหงื่อออกก็ควรทำความสะอาดทุกครั้ง
2.ทำความสะอาดแปรง พัฟ และฟองน้ำที่ใช้แต่งหน้าเป็นประจำ
3.ทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าห่มเป็นประจำ
4.สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัด หรือ เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีและก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
5.หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์กีฬาที่เสียดสีกับผิวหนังโดยตรง เพื่อลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
6.หลีกเลี่ยงการสวมเครื่องประดับบริเวณคอ เพื่อลดการเสียดสีผิวหนัง
7.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ปราศจากสารที่ก่อให้เกิดการอุดตัน (Comedogenic)
8.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารกันเสีย พาราเบน และน้ำหอม
9.ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที หากมีสิวจำนวนมากที่คอ และไม่ทราบสาเหตุของการเกิดสิว
สรุปทำอย่างไรให้ห่างไกลจาก "สิวที่คอ"
สาเหตุการสิวที่คอ หรือ สิวบริเวณท้ายทอย ส่วนใหญ่มักมาจากการอุดตันของไขมัน เซลล์ผิวที่ตาย และสิ่งสกปรกในรูขุมขน นอกจากการอุดตันรูขุมขนแล้ว สิ่งสกปรก การเสียดสีผิวหนังจากเสื้อผ้า และเหงื่อ เป็นอีกปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้เกิดสิวที่คอ หากต้องการเลี่ยงหลีกสิวที่คอควรรักษาความสะอาดบริเวณช่วงคอ ท้ายทอย และหลังคอ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดสิวที่คอ
วิธีรักษาสิวที่คอที่ดีที่สุดคือ การไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุของการเกิดสิวที่คอและรักษาได้ถูกวิธีมากที่สุด สำหรับคนที่ไม่สะดวกเดินทางไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถดาวน์โหลดแอป SkinX เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบบออนไลน์ได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ก็ปรึกษาได้ เพียงคลิกเดียว
แหล่งอ้างอิงข้อมูลบางส่วน
Silver, N. (2019, Mar 8). How to Treat a Pimple on Your Neck. Healthline. https://www.healthline.com/health/treat-pimple-on-neck
Huizen, J. (2018, Jun 29). Why is there a pimple on my neck?. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/322318